สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
ไฟล์:S 4137363.jpg
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุจินดา คราประยูร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 (80 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2511–2531)
ประชาชน (2531–2532)
ชาติไทย (2532–2535)
สามัคคีธรรม (2535)
ชาติพัฒนา (2535–2547)
ไทยรักไทย (2547–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2551–2554)
เพื่อไทย (2554–2560)
พลเมืองไทย (2561–2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสเพชรรัตน์ เลิศนุวัฒน์[1]

สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)[ต้องการอ้างอิง] และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย

ประวัติ[แก้]

สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายอร่าม กับ นางจี เลิศนุวัฒน์[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเวสเทรินแปซิฟิค สหรัฐอเมริกา เขาสมรสกับนางเพชรรัตน์ เลิศนุวัฒน์

การทำงาน[แก้]

สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2531 เขาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน[2]

ต่อมาในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ในสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และในการเลือกตั้งเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย

กระทั่งได้รับเลือกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และจากนั้นเขาได้ลาออกเพื่อย้ายไปร่วมงานกับพรรคชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ (เลื่อนแทน) จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ในการเลือกตั้งครั้งถัดมา พ.ศ. 2548 เขาได้รับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย (เลื่อนแทนจากบัญชีรายชื่อ)และ พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อกับพรรคไทยรักไทยอีกครั้ง ซึ่งต่อมาการเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เขาได้รับเลือกตั้งจากระบบสัดส่วน เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการชายแดนไทยคนแรกของสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พร้อมกับกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน จำนวน 109 คน หลังจากนั้นเขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[3]

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคนในการสนับสนุนการจัดตั้งพรรคการเมืองใช้ชื่อพรรคพลังพลเมืองไทย[4] โดยเขารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี[แก้]

สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อปี พ.ศ. 2535[5] และในปี พ.ศ. 2540 ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 7 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคความหวังใหม่
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนาพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[ลิงก์เสีย]
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  3. ระดมพลนับหมื่น ภูมิใจไทย เปิดสาขาเชียงราย
  4. "อดีตสส. 30 คน ตั้งพรรคพลังพลเมืองสู้เลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐