มนูญ บริสุทธิ์
มนูญ บริสุทธิ์ | |
---|---|
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 | |
ก่อนหน้า | ศริ เพ็ชรบุล |
ถัดไป | พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี |
เสียชีวิต | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2521 (70 ปี) |
ลายมือชื่อ | |
มนูญ บริสุทธิ์ เป็นนักการเมืองชาวจังหวัดสุพรรณบุรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1 เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี (คนแรก) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ประวัติ
[แก้]มนูญ บริสุทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายทองอยู่ กับนางทองคำ บริสุทธิ์ มีพี่น้องรวม 6 คน เป็นน้องชาย นาย สนิท บริสุทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4 จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สอบได้เป็นเนติบัณฑิตลำดับที่หนึ่ง ในขณะที่มีอายุน้อยที่สุดเพียง 19 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2470 และจบการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4
การทำงาน
[แก้]มนูญ บริสุทธิ์ เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีคนแรกภายใต้โครงสร้างที่มีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำแต่เพียงฝ่ายเดียว[1] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 จนถึงปี พ.ศ. 2512 เป็นเวลากว่า 10 ปีในการดำรงตำแหน่งนี้
มนูญ บริสุทธิ์ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 จึงลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และต่อในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 ได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี เขาจึงไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม แทนพลโท อัมพร ศรีไชยยันต์ ซึ่งถึงแก่อนิจกรรม[3] จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลของตนเอง
ในปี พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2517[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[9]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2506 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 2[13]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นทวีตริตาภรณ์[14]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งการทูต ชั้นที่ 3[14]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทอง (พร้อมสายสะพาย)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติความเป็นมา[ลิงก์เสีย]จากเว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ อาร์วายทีไนน์,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งครั้งแรก
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก กฤษณ์ สีวะรา พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์ นายมนูญ บริสุทธิ์ นายอภัย จันทวิมล นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์)
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-09-20.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๕๑, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๖๙ ง หน้า ๑๖๙๓, ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑๑, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๒, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 41 หน้า 1318, 30 เมษายน 2506
- ↑ 14.0 14.1 14.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 66 ฉบับพิเศษ หน้า 14, 14 กรกฏาคม 2510
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2451
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2521
- บุคคลจากอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- เลขาธิการคณะรัฐมนตรีไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3