พระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ)
ศรีเสนา สมบัติศิริ | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม 2501 - 6 กรกฎาคม 2525 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กุมภาพันธ์ - 24 มีนาคม 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | พันตรี ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | ทวี บุณยเกตุ |
ถัดไป | พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม 2487 - 31 สิงหาคม 2488 | |
นายกรัฐมนตรี | พันตรี ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | ดิเรก ชัยนาม |
ถัดไป | ทวี บุณยเกตุ |
ปลัดกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม 2475 - 31 สิงหาคม 2478 | |
ก่อนหน้า | พระยาราชนกูลวิบูลภักดี (รื่น ศยามานนท์) |
ถัดไป | พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต๋า บุนนาค) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กันยายน พ.ศ. 2434 |
เสียชีวิต | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 |
คู่สมรส | ถวิลหวัง ประทีปะเสน |
บุตร | พินิจ สมบัติศิริ |
ศรีเสนา สมบัติศิริ หรือ มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีเสนา (2 กันยายน พ.ศ. 2434 — 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2525) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น และองคมนตรีไทย[1]
ศรีเสนา สมบัติศิริ มีนามเดิมว่า ฮะ สมบัติศิริ ได้ศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ก่อนที่จะเป็นคนไทยกลุ่มแรกๆ ที่ไปศึกษาด้านการปกครอง ที่ London School of Economics ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2457 [2] แล้วกลับมารับราชการในกระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยคนแรก ระหว่าง พ.ศ. 2475 - 2478 (ก่อน พ.ศ. 2475 เรียกว่าตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง)[3] เคยเป็นอัครราชทูตในหลายประเทศ และเป็นเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2484 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 [4]
ศรีเสนา สมบัติศิริ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2487[5][6] รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2489 [7]
ศรีเสนา สมบัติศิริ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2501 ดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 [8]
ศรีเสนา สมบัติศิริ สมรสกับคุณหญิงถวิลหวัง (สกุลเดิม ประทีปะเสน) มีบุตรชายคือพินิจ สมบัติศิริ ซึ่งพินิจสมรสกับเลอศักดิ์ เศรษฐบุตร (ท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ) บุตรสาวบุญธรรมของพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) และคุณหญิงสิน [9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[13]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[14]
- พ.ศ. 2476 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[15]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[16]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[17]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ London School of Economics
- ↑ ปลัดทูลฉลองและปลัดกระทรวงมหาดไทยในอดีต[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอัครราชทูตสยาม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ ๑๑ ๑ สิงหาคม ๒๔๘๗ - ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๘". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-02.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๔๘๙ - ๒๔ มีนาคม ๒๔๘๙". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2007-11-02.
- ↑ จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1
- ↑ หม่อมราชวงศ์มาลินี จักรพันธุ์. ต้นกำเนิดที่เกิดเหตุ... เจ้าชายดาราทอง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546. 376 หน้า. ISBN 974-322-980-9
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๓๖, ๑๘ สิงหาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๑, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๑๘, ๒ ธันวาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร. เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๕ ง หน้า ๒๖๗๑, ๖ ตุลาคม ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๑๖๒๔, ๑๒ เมษายน ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๗, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2434
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2525
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- นักการทูตชาวไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- ปลัดกระทรวงมหาดไทยไทย
- บุคคลจากโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- องคมนตรี
- ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
- บุคคลจากเขตคลองสาน
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์