วิบูลย์ ธรรมบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิบูลย์ ธรรมบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มิถุนายน พ.ศ. 2441
อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
เสียชีวิต2 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 (68 ปี)
คู่สมรสกุ่มศรี ธรรมบุตร
บุตร9 คน

วิบูลย์ ธรรมบุตร หรือ หลวงวิบูลวันกิจ[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประวัติ[แก้]

วิบูลย์ ธรรมบุตร เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของนายทันและนางคง ธรรมบุตร

ในปี พ.ศ. 2450 นายวิบูลย์ได้เข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ โดยอาศัยอยู่กับญาติซึ่งมีบ้านพักติดกับวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ศึกษาภาษาอังกฤษครั้งแรกกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย) ต่อมาได้เรียนจนสำเร็จชั้นมัธยมปี่ที่ 6 จากโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ และเรียนในแผนกวนศาสตร์ (ป่าไม้) คณะยนตรศึกษา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จากนั้นในปี พ.ศ. 2461-2462 ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาวิชาการป่าไม้ ณ ประเทศพม่า ได้รับประกาศนียบัตรวิชาการป่าไม้ชั้นสูง และประกาศนียบัตรปฐมพยาบาล

นายวิบูลย์ ธรรมบุตร ได้สมรสกับนางกุ่มศรี มีบุตรธิดา 9 คน และได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2509

การทำงาน[แก้]

วิบูลย์ เข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2463 ในตำแหน่งรองผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ ชั้นสอง กรมป่าไม้ กระทั่งในปี พ.ศ. 2495 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ตลอดมา และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 2 วาระ คือ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 27 ซึ่งมีนายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี[2] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 28 ซึ่งมีพลโทถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี

ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เขาได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกตำแหน่งหนึ่ง[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้. วิบูลย์อนุสรณ์. โรงพิมพ์กระดาษไทย : กรุงเทพ. 2509
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  3. รายนามนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๔๖, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๐