สุวรรณ วลัยเสถียร
สุวรรณ วลัยเสถียร ป.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ 2544 – 11 มีนาคม 2548 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป | สุริยา ลาภวิสุทธิสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 |
เสียชีวิต | 29 มีนาคม พ.ศ. 2563 (74 ปี) |
คู่สมรส | ดวงใจ วลัยเสถียร |
สุวรรณ วลัยเสถียร (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2563) เป็นนักกฎหมาย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตกรรมการบริหารชุดแรกของพรรคไทยรักไทย เป็นผู้ก่อตั้งและอดีตประธานชมรมคนออมเงิน[1]
ประวัติ
สุวรรณ วลัยเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 สมรสกับ ดวงใจ วลัยเสถียร มีบุตรชาย 2 คน นับถือศาสนาคริสต์คาทอลิก
- พ.ศ. 2504 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยได้เกียรตินิยม จากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- พ.ศ. 2507 สอบได้ที่ 1 ของ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
- พ.ศ. 2512 สำเร็จการศึกษาเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม จาก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสอบได้ที่ 1
- พ.ศ. 2513 สอบได้เนติบัณฑิตไทย
- พ.ศ. 2514 สำเร็จการศึกษาเป็นนิติศาสตร์มหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยสอบชิงทุนได้ที่ 1
- พ.ศ. 2521 สำเร็จการศึกษาเป็นนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน อีกทั้งยังได้รับทุนอุดหนุนจากธนาคารโลกที่ WASHINGTON, D.C.
การเมือง
สุวรรณ วลัยเสถียร เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และเป็นกรรมการบริหารพรรคชุดแรก[2] เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2544 ในอดีต เป็นที่ปรึกษากฎหมายของธนาคารโลกประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. จึงมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายเกี่ยวกับการเงินและภาษี ระดับแนวหน้าของประเทศ เคยเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้หลายบริษัทในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น บริษัทเอกธนกิจ (ฟินวัน - FIN1) หลังจากสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยฯ
งานเขียน
สุวรรณ มีผลงานเป็นนักเขียนประเภทฮาวทู มีผลงานเขียนเช่น พ่อสอนลูกให้รวย สอนเมียให้รวย สอนเพื่อนให้รวย และ เสียภาษีก็รวยได้ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มล่าสุด ทั้งยังมีรายการโทรทัศน์ ทางมันนี่ แชนแนล และมีรายการทางวิทยุที่มีคนติดตามฟังมากที่สุดรายการหนึ่ง
ประวัติการทำงาน
- พ.ศ. 2507 พนักงานฝ่ายเอกสาร องค์การจัสแม็ก
- พ.ศ. 2508 เลขานุการขององค์การสหประชาชาติ UN-ESCAP
- พ.ศ. 2512 ทนายความ สำนักทนายความเคิร์ควู๊ด
- พ.ศ. 2514 ทนายความ สำนักงาน HALE AND DORR เมือง BOSTON, USA
- พ.ศ. 2515 ทนายความ-ผู้จัดการของบริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด
- พ.ศ. 2517 หัวหน้าฝ่ายภาษีอากรของสำนักงาน เอส-จี-วี ณ ถลาง
- พ.ศ. 2519 ที่ปรึกษากฎหมายของธนาคารโลก ประจำกรุง WASHINGTON, D.C.
- พ.ศ. 2522 รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2543 ที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากรบริษัทต่างๆประมาณ 80 บริษัท
- พ.ศ. 2544 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พ.ศ. 2545 ที่ปรึกษากฎหมายอิสระและที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และโฆษกของตระกูลชินวัตร และตระกูลดามาพงศ์ ที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะของบริษัทในกลุ่มชินคอร์ปฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
อ้างอิง
- ↑ เว็บไซต์ชมรมคนออมเงิน
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2563
- นักกฎหมายชาวไทย
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- พรรคไทยรักไทย
- นักเขียนชาวไทย
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
- คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์