อุดร ตันติสุนทร
อุดร ตันติสุนทร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กันยายน พ.ศ. 2476 อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ประเทศสยาม |
คู่สมรส | วิมลวรรณ ตันติสุนทร |
อุดร ตันติสุนทร (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2476) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก 5 สมัย
ประวัติ
[แก้]อุดร เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2476 เป็นบุตรนายซ้งกี่ นางแจง ตันติสุนทร และเป็นพี่ชายของนายรักษ์ ตันติสุนทร
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต และระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานการเมือง
[แก้]อุดรลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ในพ.ศ. 2512 ได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2535 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. 2543 และวางมือทางการเมืองในที่สุด[1]
เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ในปี พ.ศ. 2531[2] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล ชวน หลีกภัย พ.ศ. 2537[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]อุดร ตันติสุนทร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดตาก สังกัดพรรคสหประชาไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดตาก สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดตาก สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดตาก สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดตาก สังกัดพรรคพลังธรรม
สมาชิกวุฒิสภา
[แก้]อุดร ตันติสุนทร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ
งานวิชาการ
[แก้]อุดร ตันติสุนทร เป็นนักวิชาการที่มีบทบาทในฐานะประธานมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และเป็นอาจารย์พิเศษ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น[5] เขายังมีบทบาทเป็นประธานกรรมการโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยตากสิน ให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาประจำจังหวัดตาก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดตาก (นายอุดร ตันติสุนทร นายพนัส ทัศนียานนท์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-20. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
- ↑ "อาจารย์อุดร ตันติสุนทร - วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 2013-05-29.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองจากจังหวัดตาก
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก
- พรรคสหประชาไทย
- พรรคเกษตรสังคม
- พรรคชาติไทย
- พรรคกิจสังคม
- พรรคพลังธรรม
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.