วิสาร เตชะธีราวัฒน์
วิสาร เตชะธีราวัฒน์ | |
---|---|
ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (0 ปี 346 วัน) | |
รอง | ภูมิธรรม เวชยชัย |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก |
ถัดไป | สุธี มากบุญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2499[1] อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เอกภาพ (2529–2535) สามัคคีธรรม (2535) ชาติพัฒนา (2535–2538) นำไทย (2538–2539) ประชาธิปัตย์ (2539–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สมสะอาด เตชะธีราวัฒน์ |
วิสาร เตชะธีราวัฒน์ (เกิด 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2499) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ภูมิธรรม เวชยชัย) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 9 สมัย
ประวัติ
[แก้]วิสาร เตชะธีราวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายวันชัย กับนางสมรวย เตชะธีราวัฒน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาด้านบริหารรัฐกิจ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] นายวิสาร สมรสกับ นางสมสะอาด เตชะธีราวัฒน์ มีบุตรสาวคนเดียวคือ วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 2 สมัย [3]
การทำงาน
[แก้]วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรครวมไทย ต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคเอกภาพ พรรคสามัคคีธรรม และพรรคชาติพัฒนา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคนำไทย และได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรค[4] จากนั้นในปี พ.ศ. 2539 ย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองพร้อมกับกรรมการบริหารพรรค 111 คน จากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] และในฐานะผู้บังคับบัญชา กองอาสารักษาดินแดน จึงได้รับแต่งตั้งยศ นายกองเอก[6]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 9 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เขาได้กรีดแขนตนเองในสภาผู้แทนราษฎรเพื่อประท้วงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี[7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรครวมไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเอกภาพ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคนำไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สภาผู้แทนราษฎร
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน นางสาว วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ กรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ครบ 1 ปี 08/12/2557[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคนำไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 56ง วันที่ 13 กรกฎาคม 2538
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นกรณีพิเศษ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130, ตอนที่ 20 ข, 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556, หน้า 21
- ↑ 'วิสาร' กรีดแขน ประท้วง 'บิ๊กตู่' กลางรัฐสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเวียงป่าเป้า
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงราย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคนำไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สกุลเตชะธีราวัฒน์