กระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)
ราชอาณาจักรไทย กระทรวงวัฒนธรรม | |
---|---|
![]() | |
เครื่องหมายราชการของกระทรวงวัฒนธรรม | |
ที่ทำการ | |
![]() 10 ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร | |
ภาพรวม | |
วันก่อตั้ง | 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 (ครั้งแรก) 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (ครั้งที่ 2) |
วันยุบเลิก | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2501[1](ครั้งแรก) |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
งบประมาณ | 7,742.3046 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[2] |
รัฐมนตรีว่าการ | วีระ โรจน์พจนรัตน์ |
ผู้บริหาร | กฤษศญพงษ์ ศิริ [3], ปลัดกระทรวง กฤษฎา คงคะจันทร์, รองปลัดกระทรวง[4] ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร, รองปลัดกระทรวง[5] |
ลูกสังกัด | ดูในบทความ |
เว็บไซต์ | |
www.m-culture.go.th |
กระทรวงวัฒนธรรม (อังกฤษ: Ministry of Culture) เป็นกระทรวงที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีอื่น ๆ
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติ มีการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย รูปแบบของหน่วยงานเริ่มจากกองวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติและจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วย ใน พ.ศ. 2501 เนื่องจากสภาวะผันแปรทางการเมือง กระทรวงวัฒนธรรมจึงถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยโอนย้ายไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและอื่นๆ
ต่อมากระทรวงวัฒนธรรมได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถือเป็น 1 ใน 20 กระทรวงหลักของประเทศตามนโยบายปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ 3) มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมต้องเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย[6] โดยมีกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมคนแรกที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
ตราสัญลักษณ์[แก้]
ตราแรกของกระทรวงวัฒนธรรมนั้น[7]เป็นรูปพระพรหม 4 หน้า 4 หัตถ์ ประทับอยู่บนดอกบัวบานโผล่จากน้ำ หัตถ์ซ้ายบนถือสมุดดำ (หมายถึงศิลปวิทยา) หัตถ์ซ้ายล่างถือประคำ (เกี่ยวกับคะแนนนับ) หัตถ์ขวาบนถือช้อนตักเนย (แสดงว่าไม่มีอาวุธอย่างไร) หัตถ์ขวาล่างถือหม้อน้ำ (เกี่ยวกับน้ำอมฤต) ภายในกรอบวงกลมเบื้องล่างมีอักษร "กระทรวงวัฒนธรรม"
ตราสัญลักษณ์เป็นรูปดวงประทีปภายในบุษบก เหนือหมู่ลายเมฆหมอก หมายถึง ปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรม กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบโดยศึกษาจากรูปแบบตราสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2485 และนำมาดัดแปลงปรับรูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
รายนามปลัดกระทรวง[แก้]
รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547 |
2. คุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549 |
3. วีระ โรจน์พจนรัตน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553 |
4. สมชาย เสียงหลาย | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 |
5. ปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 |
6. ดร.ปรีชา กันธิยะ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557 |
7. ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557[8] - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 |
8. กฤษศญพงษ์ ศิริ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน |
หน่วยงาน[แก้]
ส่วนราชการในสังกัด[แก้]
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมการศาสนา
- กรมศิลปากร
- กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
- สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล[แก้]
- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
- หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
- กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.mrthaijob.com/column/viewbrows.php?aid=7884&catid=2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (กระทรวงวัฒนธรรม : นาย กฤษศญพงษ์ ศิริ) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๑๕ ง พิเศษ หน้า ๕ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๙
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/255/16.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/298/T_0019.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/104/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/A/039/824.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/125/14.PDF
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
|