เจริญจิตต์ ณ สงขลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจริญจิตต์ ณ สงขลา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 (93 ปี)
คู่สมรสปราณี (ระนองธานี) ณ สงขลา

นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49) เป็นอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา อดีตปลัดจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปี 2534-2535 และอดีตสมาชิกวุฒิสภาในปี 2535-2539

ประวัติ[แก้]

เจริญจิตต์ ณ สงขลา เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จบปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 27

เจริญจิตต์ ณ สงขลา ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การทำงาน[แก้]

เจริญจิตต์ ณ สงขลา เริ่มรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี อำเภอเมืองสงขลา เป็นนายอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ จังหวัดสงขลา เป็นผู้อำนวยการ ศอ.บต. (คนแรก) เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2534

เจริญจิตต์ ณ สงขลา ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ ซึ่งแต่งตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ[1] และเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย[2] ต่อมาได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปีพุทธศักราช 2534-2535 ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปีพุทธศักราช 2535-2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ดำเนินการวิจัยผู้อพยพ กระทรวงมหาดไทย ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแห่งราชอาณาจักร ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนภาคใต้ ในปีพุทธศักราช 2531 นอกจากนั้นยังเป็นอาจารย์บรรยายหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรและบรรยายวิชาปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49)[3][4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
  2. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๑ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (แต่งตั้งให้ นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (สมัย นายอานันท์ ปันยารชุน))
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 26 ราย)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (๕ ธันวาคม ๒๕๓๐) เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ หน้า ๑
  6. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย) เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๐๐ ตอน ๒๐๗ ฉบับพิเศษ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖