สันติ พร้อมพัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สันติ พร้อมพัฒน์
สันติ ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 200 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการชลน่าน ศรีแก้ว
ก่อนหน้าสาธิต ปิตุเตชะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 53 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการอุตตม สาวนายน
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
ก่อนหน้าวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
ถัดไปจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
กฤษฎา จีนะวิจารณะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(1 ปี 325 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าอิสระ สมชัย
ถัดไปปวีณา หงสกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 216 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าธีระ ห้าวเจริญ
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 69 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไปโสภณ ซารัมย์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(0 ปี 311 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าศันสนีย์ นาคพงศ์
เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2565 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 117 วัน)
ก่อนหน้าธรรมนัส พรหมเผ่า
ถัดไปธรรมนัส พรหมเผ่า
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)[1]
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ความหวังใหม่ (2535–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561)
คู่สมรสวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ลายมือชื่อ

สันติ พร้อมพัฒน์ (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2495) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ[2] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ[3] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทยแบบบัญชีรายชื่อ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[4]

ประวัติ[แก้]

นายสันติ พร้อมพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายโซกเฮี้ยง แซ่เล้า กับนางซิวแฮ้ แซ่ลิ้ม สมรสกับนางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ (สกุลเดิม ทองแถม) มีบุตรด้วยกัน 2 คน

การศึกษา[แก้]

สันติ พร้อมพัฒน์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง (2545) ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2547) และผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่นที่ 11 (2549-2550) และปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอุตสาหกรรม วิทยาลัยบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นายสันติ ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ในปี 2552

ประสบการณ์และการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ[แก้]

  • หลักสูตรการฝึกอบรมการค้นหาและทำลายกับระเบิด กองทัพบก ปี พ.ศ. 2540
  • หลักสูตรการฝึกอบรมเหิรเวหากิตติมศักดิ์ กองทัพอากาศ ปี พ.ศ. 2541
  • หลักสูตรการฝึกอบรมจู่โจมไต้บาดาลกิตติมศักดิ์ กองทัพเรือ ปี พ.ศ. 2541
  • หลักสูตรการฝึกอบรมของกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ปี พ.ศ. 2541

การทำงาน[แก้]

สันติ พร้อมพัฒน์ ประกอบธุรกิจ เป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัท นวพัฒนาธานี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจประเภท พัฒนาที่ดิน อสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร และชิ้นส่วนรถยนต์ ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมืองโดยการเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ในปี พ.ศ. 2537 และเป็นกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่ จากนั้นได้สมัครเข้ารับเลือกตั้งและเป็น ส.ส.จังหวัดเพชรบูรณ์ 2 สมัย คือ ในปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539

ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการมูลนิธิ สันติ พร้อมพัฒน์[5]

จากนั้นจึงได้ย้ายเข้ามาร่วมกิจกรรมกับพรรคไทยรักไทย และลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ในปี พ.ศ. 2548 และระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในปี พ.ศ. 2550 จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[4]

นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นหนึ่งในแนวร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)[6] และเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[7] ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[8] เพื่อเปิดทางให้มีการเลื่อนบุคคลอื่นขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน กระทั่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาได้รับแต่งตั้งให้ปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[9]

นอกเหนือจากการทำงานการเมืองแล้ว นายสันติ พร้อมพัฒน์ ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2540-2543

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 15[10] ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนั้นถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เป็นโมฆะ เนื่องจากไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งทั้งราชอาณาจักรในวันเดียวกันได้ ซึ่งขัดรัฐธรรมนูญ[11]

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นายสันติ พร้อมพัฒน์ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[12]

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 สันติได้ย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับสมาชิกกลุ่มสามมิตรกว่า 60 คน และเขาได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคในปี พ.ศ. 2565 ก่อนที่ในปีต่อมาจะย้ายไปรับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค

สันติ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในปี พ.ศ. 2562 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2566[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
  2. 'บิ๊กป้อม'ร่วมครั้งแรก พปชร.ถกใหญ่ เพิ่ม 17 กก.บห. 'สุริยะ'นอนมาจากร.พ.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๐, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  4. 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๕๖ ง หน้า ๓, ๒๑ กันยายน ๒๕๕๑
  5. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดเพชรบูรณ์
  6. นายสันติ พร้อมพัฒน์ ร่วมหารือประธานนปช.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๘๘ ง หน้า ๒, ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง, เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง หน้า ๒๕, ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๗๙ ง หน้า ๓, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๖๖, ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗
  11. "มติศาล รธน. 6 ต่อ 3 ชี้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ". Manager. 2014-03-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-22. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
  12. เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ เก็บถาวร 2014-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
  13. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สันติ พร้อมพัฒน์ ถัดไป
พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 57 - 58)
(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
โสภณ ซารัมย์
นายอิสสระ สมชัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ครม. 60)
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556)
ปวีณา หงสกุล
วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 62)
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
กฤษฎา จีนะวิจารณะ
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
สาธิต ปิตุเตชะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม. 63)
(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ