วีระกานต์ มุสิกพงศ์
![]() | เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
วีระกานต์ มุสิกพงศ์ หรือชื่อเดิม วีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย มีฉายาว่า ไข่มุกดำ เป็นผู้นำเคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการทหาร เมื่อปี พ.ศ. 2550 และอดีตผู้ดำเนินรายการ ความจริงวันนี้ ทางเอ็นบีที
ประวัติ[แก้]
วีระเกิดเมื่อ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของเคล้า (บิดา) และส่อง (มารดา) มุสิกพงศ์ จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2515 มีบุตรชาย 3 คน คนที่สองคือ ประชาธิป มุสิกพงศ์ (6 เมษายน พ.ศ. 2527 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558) มือกีตาร์ของวงดนตรี สควีซ แอนิมอล
การเมือง[แก้]
นายวีระ เคยเป็นนักเขียนและนักข่าวของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เริ่มเส้นทางการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 2518 เป็น ส.ส. เขตพญาไท ได้เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อ พ.ศ. 2519 แต่กลับร่วมมือกับฝ่ายค้าน ลุกขึ้นอภิปรายนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคของตัวเอง เนื่องจากไม่พอใจที่รัฐบาลยินยอมให้จอมพลถนอม กิตติขจร เดินทางเข้าประเทศ จนเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา [1]
ช่วง พ.ศ. 2519-2522 เกิดความขัดแย้งกับนายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อนร่วมพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งต่อมาลาออกไปตั้งพรรคประชากรไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายสมัครเขียนหนังสือชื่อ "สันดานนักหนังสือพิมพ์" ส่วนนายวีระได้เขียนหนังสือโต้ตอบนายสมัคร ชื่อว่า "สันดานรัฐมนตรี" พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2521 พร้อมกับได้ลงทุนสร้างภาพยนตร์ไทย ชื่อเรื่อง "ไอ้ซ่าส์...จอมเนรคุณ" กำกับโดย ชุมพร เทพพิทักษ์ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกเซ็นเซอร์ไม่ให้ออกฉาย เพราะมีเนื้อหาเสียดสีนายสมัคร ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในขณะนั้น [2]
ร่วมกลุ่มกบฏ 2520[แก้]
ในเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 โดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่ไม่สำเร็จ [3] นายวีระเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และถูกจำคุกด้วยข้อหากบฏ
ภายหลังจากได้รับอิสรภาพ ในปี พ.ศ. 2522 นายวีระได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดุสิต ซึ่งเป็นเขตที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็น ส.ส.เก่าอยู่ และพ่ายแพ้อย่างยับเยิน
ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายวีระได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี 3 สมัย คือ
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 11 มีนาคม 2524[4]
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 19 ธันวาคม 2524[5]
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 7 ธันวาคม 2526[6]
การต้องคดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพ[แก้]
ปี พ.ศ. 2529 นายวีระได้ตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ จนปี พ.ศ. 2531 และต้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในการปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดบุรีรัมย์ ต้องโทษจำคุก 4 ปี ที่เรือนจำจังหวัดบุรีรัมย์ [7] ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เมื่อจำคุกได้ประมาณหนึ่งเดือน ก็ได้รับการปล่อยตัวเนื่องจากได้รับพระราชทานอภัยโทษ โดยคำขอพระราชทานอภัยโทษ ลงนามเสนอโดยพลเอกประจวบ สุนทรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
กลุ่ม 10 มกรา[แก้]
ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์เกิดการแตกแยก มีขั้วของนายชวน หลีกภัย กับขั้วของนายวีระ ซึ่งเรียกว่า "กลุ่ม 10 มกรา" โดยนายวีระต้องการนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ขณะที่กลุ่มนายชวน ต้องการนายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค โดยมีพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นเลขาธิการพรรค ครั้งนั้น กลุ่มนายวีระ พ่ายแพ้ ต้องนำทีมออกจากประชาธิปัตย์ไปตั้งพรรคประชาชน และเขารับตำแหน่งเลขาธิการพรรค[8] แต่ยุบในเวลาต่อมา และกลายไปเป็นคนสนิทของ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในพรรคความหวังใหม่เมื่อพรรคความหวังใหม่ ควบรวมกับพรรคไทยรักไทย นายวีระ กลับมาเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ[แก้]
ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นายวีระ ได้เข้าร่วมปราศรัยต่อต้านรัฐบาล ต่อมานายวีระถูกรัฐบาลออกหมายจับ โดยเข้ามอบตัวและไม่ขอประกันตัว และถูกฝากขังที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน เช่นเดียวกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และน.ส.จิตราวดี วรฉัตร ลูกสาวของ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร ต่อมาถูกปล่อยตัวหลังจากเหตุการณ์สงบ และพล.อ.สุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[9]
ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 นายวีระเคยจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาชื่อ "พรรคดำรงไทย" โดยมีตนเองเป็นหัวหน้าพรรค แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง
แกนนำแนวร่วม นปช.[แก้]
ในปี พ.ศ. 2550 นายวีระ ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[10] จึงได้เข้าร่วมเป็นแกนนำคนหนึ่งของ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) จัดเวทีปราศรัยที่สนามหลวงโจมตีรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งบางครั้งยังพาดพิงไปถึงประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารด้วย
ในปี พ.ศ. 2551 นายวีระได้เป็นหนึ่งในพิธีกรรายการ ความจริงวันนี้ ทาง NBT โดยร่วมกับนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ เพื่อตอบโต้และวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาลในขณะนั้น
ในวันที่ 15 ธันวาคม 2551 พ.ต.ท.สุเมธ จิตต์พานิชย์ รอง ผกก.สส.สน.ชนะสงคราม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีต่อนายวีระ กรณีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และองค์รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่า ภายในสัปดาห์นี้พนักงานสอบสวนจะส่งสรุปสำนวนการสอบสวนทั้งหมดให้คณะกรรมการกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พิจารณาส่งต่อไปยังคณะกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ระดับ ตร. พิจารณาเห็นชอบให้อัยการสั่งฟ้องหรือไม่ต่อไป
นายวีระ รวมกับพวกอีก 7 คน ถูกแจ้งข้อหาหมิ่นประมาทโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จากกรณีร่วมกันจัดรายการความจริงวันนี้ เมื่อวันที่ 20 - 21 สิงหาคม กล่าวอ้างถึงนายสนธิ ว่าเป็นบุคคลล้มละลาย เป็นหนี้แล้วไม่ยอมใช้แต่อยากมากู้ชาติ โดยศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาและนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 15 ธันวาคม เวลา 09.00 น. ซึ่งต่อมาได้รับการตัดสินว่ามีความผิด และถูกจับกุมในเวลาต่อมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[11] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 34[12]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 25 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[13]
รางวัลและเกียรติยศ[แก้]
- ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก วีระกานต์ มุสิกพงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2527[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2526 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2525 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[16]
อ้างอิง[แก้]
![]() |
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |
- ↑ (id=2182) แกะเปลือก“ไข่มุกดำ” สู้ปชป.แบบไม่ได้มามือเปล่า
- ↑ http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=3971.msg36573
- ↑ เบื้องหลังพีทีวี โดยช่อง 5
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ http://www.oknation.net/blog/kittinunn/2007/03/29/entry-1
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ http://web.archive.org/20040829032434/www.geocities.com/thaifreeman/17may/may2.html
- ↑ เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!
- ↑ บ้านเลขที่ 111 ซบอก'เพื่อไทย'แล้ว
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/D/097/1.PDF
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย) เล่ม ๑๐๐ ตอน ๒๐๗ ฉบับพิเศษ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- บทความวิกิพีเดียที่ต้องการปรับ
- บทความวิกิพีเดียทั้งหมดที่ต้องการปรับ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสงขลา
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- คอลัมนิสต์
- นามปากกา
- นักการเมืองไทย
- โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)
- พรรคเอกภาพ
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคดำรงไทย (พ.ศ. 2538)
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคไทยรักษาชาติ
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- นักโทษของประเทศไทย
- นักโทษในคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน