ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:วิเลิศ ภูริวัชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิเลิศ ภูริวัชร)
  • ความคิดเห็น: อ้างอิงบางส่วนยังไม่ถูกต้องโดยเฉพาะในย่อหน้าแรกที่มีการนำเว็บของจุฬามาอ้างอิงและนำเว็บบริษัทมาอ้างอิงซึ่งไม่ถูกต้อง แหล่งอ้างอิงควรเป็นแหล่งข่าวทั่วไปที่ไม่มีความสัมพันธ์กับศาสตราจารย์ท่านนี้ เบื้องต้นบทความผ่านความโดดเด่นครับแต่ควรปรับแก้การอ้างอิง Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 22:07, 26 สิงหาคม 2567 (+07)

วิเลิศ ภูริวัชร
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน 2567
ก่อนหน้าศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2567
ก่อนหน้ารองศาสตราจารย์ ดร.พสุ เดชะรินทร์
ถัดไปรองศาสตราจารย์ ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 (56 ปี)
การศึกษา● บริหารธุรกิจบัณฑิต(เกียรตินิยม)
(สาขาการเงินและการธนาคาร),
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● Master of Public and Private Management,
Yale University, USA
● Master of Business Administration,
Yale University, USA
● Certificate in Human Resource Management,
Harvard University, USA
● Doctor of Philosophy, D.phil.(Oxon), (Management Studies),
University of Oxford, UK
https://www.wilertvision.com/wilert

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในจุฬาฯ เช่น คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2567)[1][2] และกรรมการสภามหาวิทยาลัย รวมถึงเคยเป็นคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระในบริษัทมหาชนจำกัด เช่น บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน)

ประวัติ

[แก้]

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร เกิดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (เกียรตินิยม) (สาขาการเงินและการธนาคาร) จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทในสาขา Public and Private Management (MPPM) และ Business Administration (MBA) มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (Doctor of Philosophy, D.phil.(Oxon)) ในสาขา Management Studies จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร[1]

ประวัติการทำงาน

[แก้]

ในประเทศ

[แก้]

ต่างประเทศ / นานาชาติ

[แก้]
  • กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ สหรัฐอเมริกา
  • กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก EQUIS (EFMD Quality Improvement System) สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ สหภาพยุโรป
  • กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AMBA (Association of MBAs) สถาบันรับรองมาตรฐานหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา สหราชอาณาจักร
  • ประธานกรรมการวิจัยร่วมกับสภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum: WEF) - ในส่วนของการทำวิจัยในประเทศไทย
  • กรรมการตัดสินในงานระดับโลก Youth4South Entrepreneurship Competition at United Nations

การทำงานในตำแหน่งอธิการบดีในช่วงแรก

[แก้]

เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 สภาจุฬางกรณ์มหาวิทยาลัยมีมติแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป แทนศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ[4] และมีได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5]

คณบดีคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี

[แก้]

ในการทำงานในตำแหน่งคณบดีคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี ศ.ดร.วิเลิศ เคยให้สัมภาษณ์กับนิตยสารฟอบส์ ประเทศไทย[6] เกี่ยวกับการบริหารคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีไว้ว่า ต้องการแสดงให้เห็นว่าสถาบันในประเทศไทยมีคุณภาพเท่าเทียมกับนานาชาติ โดยได้รับการประเมินจาก Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), Association of MBAs (AMBA) และ The EFMD Quality Improvement System (EQUIS)[6] จนคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี ได้รับการประกาศเป็น "The Top Business School with Triple Crown Accreditation"[6] [7] โดยมีพันธกิจในการบริหารคณะคือ 4I ประกอบด้วย Internal, International, Innovation และ Integrate [8] นอกจากนี้ยังได้แสดงวิสัยทัศน์ส่วนหนึ่งไว้ว่า

"เราเชื่อว่าการศึกษาจะสร้างประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนได้ ทำให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นเราต้องสร้างสรรค์ภูมิปัญญาหรือความฉลาดเชิงนวัตกรรม เพราะสุดท้ายแล้วความรู้อาจมีวันล้าสมัย แต่ความฉลาดไม่มีวันล้าสมัย ที่สำคัญเมื่อเราพัฒนาผู้เรียนให้มีความเก่งแล้ว การปลูกฝังจิตวิญญาณในการรับใช้สังคมให้กับผู้เรียนก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ การสอนให้คนเราต้องไม่โกงต้องลงลึกทำให้คนๆ นั้น รู้สึกผิดเมื่อคิดจะโกง เพราะนั่นเป็นการสอนลงไปถึงระดับจิตวิญญาณ"

— วิเลิศ ภูริวัชร, เปิดวิสัยทัศน์พลิกโลกการศึกษาของ ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร พิชิตพันธกิจด้วยกลยุทธ์การพัฒนารอบทิศ, Forbes Thailand https://forbesthailand.com/news/marketing/cbs

ผลงาน

[แก้]

หนังสือ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "เปิดประวัติ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการแทนอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". bangkokbiznews. 2024-05-15.
  2. "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "วิเลิศ ภูริวัชร" ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". ไทยรัฐ. 2024-09-25.
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (soc.go.th)
  4. "แต่งตั้งแล้ว!! ทีมบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชุดใหม่ มีผลตั้งแต่ 18 พ.ค. 2567". mgronline.com. 2024-05-15.
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [นายวิเลิศ ภูริวัชร]
  6. 6.0 6.1 6.2 "เปิดวิสัยทัศน์พลิกโลกการศึกษาของ ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร พิชิตพันธกิจด้วยกลยุทธ์การพัฒนารอบทิศ - Forbes Thailand". forbesthailand.com.
  7. "Chulalongkorn Business School: Triple Crown Excellence". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "ถอดรหัส "คิดและทำอย่างผู้นำที่แท้จริง ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร" พิสูจน์ได้ด้วยการพามหาวิทยาลัยไทยทะยานสู่ระดับโลก สร้างคนด้วยการศึกษา ควบคู่จิตวิญญาณเพื่อสังคม - Forbes Thailand". forbesthailand.com.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, [https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/488420229643240264.pdf พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖ หน้า ๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๔ [กระทรวงศึกษาธิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๑ [กระทรวงศึกษาธิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก่อนหน้า วิเลิศ ภูริวัชร ถัดไป
ศาสตราจารย์ ดร.
บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
((รักษาการ) 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567

30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 -)

อยู่ในตำแหน่ง