เสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา
รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
ดำรงตำแหน่ง
13 มิถุนายน – 28 กันยายน พ.ศ. 2493
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน พ.ศ. 2493 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าฟื้น สุพรรณสาร
ถัดไปละม้าย อุทยานานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศสยาม
เสียชีวิต26 มกราคม พ.ศ. 2537 (87 ปี)
จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย

เสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นอดีตรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ในรัฐบาลของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ 2 สมัย และเป็นบิดาของพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรองนายกรัฐมนตรี

ประวัติ[แก้]

นายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา สมรสกับนางสุขใจ (ไสว) อิศรางกูร ณ อยุธยา มีบุตร 8 คน คือ นางคมขำ สุคนธวยัคฆ์ นางพูนศรี ฟอเรสเตอร์ นายวันรบ อิศรางกูร ณ อยุธยา นายอาคม อิศรางกูร ณ อยุธยา พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสภาศรี ฟอเรสเตอร์ นายชูกริส อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายบรม อิศรางกูร ณ อยุธยา จากนั้นได้สมรสกับนางอุไร บุนนาค อิศรางกูร ณอยุธยา โดยมียสวันต์รังษิกร บุนนาค ศักยดิ์สิงหนาท (อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นผู้สืบทอดภารกิจงานทางสังคมสงเคราะห์เเละเป็นคณะทำงานกระทรวงยุติธรรม เเละเป็นเหลนในหม่อมมณี บุนนาค สะใภ้หลวงในรัชกาลที่ 7 สืบสายลงมาทางหม่อมมณี บุนนาค ทางราชสกุลภาณุพันธุ์ [1]

เสรี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2493[2] ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และในเดือนกันยายนได้รับแต่งตั้งเป็รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ[3] กระทั่งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เนื่องจากคณะบริหารประเทศชั่วคราวนำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยึดอำนาจการปกครอง

นายเสรี นับว่าเป็นรัฐมนตรีคนแรกของจังหวัดบุรีรัมย์[4]

และเขาได้รับเลือกตั้งครั้งที่สอง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495

นายเสรี เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2537[5]

อ้างอิง[แก้]