อดิศัย โพธารามิก
![]() | บทความเชิงชีวประวัตินี้ มีแหล่งอ้างอิงอยู่แล้ว แต่ไม่น่าเชื่อถือ หรือต้องการเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ความถูกต้อง โปรดช่วยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่ขาดไปและที่เชื่อถือได้ เนื้อหาอันเป็นประเด็นถกเถียง โดยเฉพาะที่เป็นเชิงหมิ่นประมาท ใส่ความ หรือว่าร้าย ซึ่งไม่มีแหล่งอ้างอิงโดยสิ้นเชิง หรือมี แต่เชื่อถือมิได้นั้น ให้นำออกทันที |
อดิศัย โพธารามิก ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
อดิศัย โพธารามิก ขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ปองพล อดิเรกสาร |
ถัดไป | จาตุรนต์ ฉายแสง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ศุภชัย พานิชภักดิ์ |
ถัดไป | วัฒนา เมืองสุข |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 เมษายน พ.ศ. 2483 ประเทศไทย |
พรรค | พรรคชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย |
คู่สมรส | รศ.ดร.พิชนี โพธารามิก |
ศาสนา | พุทธ |
ดร.อดิศัย โพธารามิก (เกิด 23 เมษายน พ.ศ. 2483) นักการเมืองและวิศวกรชาวไทย มีพี่ชายคนเดียว ชื่อ นายแพทย์ยุทธ โพธารามิก สมรสกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พิชนี โพธารามิก กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี[1] อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตร 1 คน ชื่อ พิชญ์ โพธารามิก เป็นเจ้าของบริษัทเครือ โมโน กรุ๊ป
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดปทุมธานี เรื่องศาลมีคำสั่งว่า นายอดิศัย โพธารามิก เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของ นางพิชนี โพธารามิก[2]
การศึกษา[แก้]
ดร.อดิศัย โพธารามิก จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จาก โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. 2500
- ปริญญาตรี : สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2505 จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท : สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2510 จาก มหาวิทยาลัยฮาวาย, สหรัฐอเมริกา
- ปริญญาเอก : สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2513 จาก มหาวิทยาลัยแมริแลนด์, คอลเลจพาร์ก, สหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน[แก้]
- 2505 เข้ารับราชการที่กระทรวงคมนาคม แล้วโอนมาสังกัดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
- 2521 ประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยก่อตั้งบริษัทประกอบธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมหลายบริษัท
- 2539-2543 สมาชิกวุฒิสภา
ด้านการเมือง[แก้]
- 08 พ.ย.2546 - 02 ส.ค.2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร)
- 17 ก.พ.2544 - 08 พ.ย.2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร)
- 14 มิ.ย. 2543 - 21พ.ย 2543 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ( นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย)
- พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2520 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม(คุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ)
ธุรกิจ[แก้]
ก่อตั้ง บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล และได้งานโครงการโทรศัพท์ต่างจังหวัด 1.5 ล้านเลขหมาย โครงการสื่อสารภายในประเทศด้วยดาวเทียม (TDMA) ระบบสื่อสารเพื่อบริการธุรกิจผ่านดาวเทียม (ISBN) และเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ โดยมีตำแหน่งเป็นซีอีโอของ ทีทีแอนด์ทีและจัสมิน
- 3 ธ.ค.2525 ก่อตั้งบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ 7 ก.ค.2537 แปรสภาพเป็นบริษัท มหาชน JAS เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- 29 มิ.ย.2535 ร่วมก่อตั้งบริษัท ไทยเทเลโฟนแอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด และ17 ม.ค.2537 แปรสภาพ เป็นบริษัทมหาชน TT&T เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เกียติคุณทางสังคม[แก้]
- 2538: รางวัลศิษย์เก่านานาชาติดีเด่นคนแรกของ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ (International Alummnus of the Year Award of Maryland University) ประเทศสหรัฐอเมริกา
- 2539: วิศวจุฬาดีเด่น ประจำปี 2538 โดย สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานภาพยนตร์[แก้]
- เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง สุดสาคร (2549)
หนังสือ[แก้]
- พิชิตความสำเร็จสไตล์ ดร.อดิศัย โพธารามิก ISBN:974-94792-6-2
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2545 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[5]
- พ.ศ. 2546 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
- ↑ ประกาศ ศาลมีคำสั่ง "อดิศัย โพธารามิก" อดีต รมต. เป็นคนไร้ความสามารถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓๐, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
ก่อนหน้า | อดิศัย โพธารามิก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศุภชัย พานิชภักดิ์ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (17 กุมภาพันธ์ 2544 – 8 พฤศจิกายน 2546) |
![]() |
วัฒนา เมืองสุข |
ปองพล อดิเรกสาร | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (8 พฤศจิกายน 2546 - 11 มีนาคม 2548) |
![]() |
จาตุรนต์ ฉายแสง |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์