ฉัตรชัย สาริกัลยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉัตรชัย สาริกัลยะ
สมาชิกวุฒิสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
ถัดไปประวิตร วงษ์สุวรรณ
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
วิษณุ เครืองาม
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้านิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
ถัดไปอภิรดี ตันตราภรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
ถัดไปกฤษฎา บุญราช
รองผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558
ก่อนหน้าอุดมเดช สีตบุตร
ถัดไปวลิต โรจนภักดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสพลตรีหญิง อัญรัช สาริกัลยะ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ นักการเมืองและทหารบกชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตรองนายกรัฐมนตรี[1] ประธานกรรมการในคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[2]ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ[3]ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ[4] ประธานกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ[5] ประธานกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ[6] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง [7][8]ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม[9]ประธานคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า[10] ประธานกรรมการคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ[11] อดีตประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตประธานคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน[12] อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก อดีตเจ้ากรมการทหารสื่อสาร และอดีตผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

ประวัติ[แก้]

ฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็นบุตรของพันตรี นุกูล และนางประกอบ สาริกัลยะ[13] จบการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 12 (ตท.12) และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 23 (จปร.23) รุ่นเดียวกับพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ผู้บัญชาการทหารบก

การทำงาน[แก้]

ฉัตรชัย เป็นนายทหารช่าง[14] เคยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมการเงินทหารบก, รองปลัดบัญชีทหารบก, ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก(ฝ่ายส่งกำลังบำรุง), รองเสนาธิการทหารบก, ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก(อัตราพลเอก), ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, รองผู้บัญชาการทหารบกเป็นตำแหน่งสุดท้ายในราชการทหาร

หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[15] ต่อมาได้ปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558[16]

ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เขาลงนามใน ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558[17]ใจความสำคัญคือลดจำนวนคณะกรรมจาก 12 รายเหลือ 5 ราย

ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เขาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ จำนวน 10 ราย โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558[18]

  1. นายสะมะแอ เจะมูดอ
  2. นายกิตติ โกสินสกุล
  3. นายวิริยะ ศิริชัยเอกวัฒน์
  4. นายปัญญา คำลาภ
  5. นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย
  6. นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์
  7. นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข
  8. นายนิธิวัฒน์ ธีรนันทกุล
  9. รองศาสตราจารย์ ดร.กังวาลย์ จันทรโชติ
  10. ดร.สุชาติ อิงธรรมจิตร์

ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เขาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ จำนวน 5 ราย โดย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558[19]เป็นที่สังเกตว่าเป็นกรรมการที่ไม่เคยเป็นกรรมการดังกล่าวมาก่อนเลยทั้งหมด ได้แก่

  1. นายสุธน พลายพูล
  2. นายอนันต์ ศิริมงคลเกษม
  3. นายสว่าง ข้อมงคลอุดม
  4. นางบุญญิตา รุจทิฆัมพร
  5. นายมงคล แม้นมาลัย

ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559 เขาแต่งตั้งนายวิทยา ผิวผ่อง เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี

ครอบครัว[แก้]

ฉัตรชัย สมรสกับ พล.ต.หญิง อัญรัช สาริกัลยะ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย และอุปนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก ทั้งคู่มีบุตรสาว 1 คน และ บุตรชาย 1 คน คือ ฤตธวัช สาริกัลยะ ขวัญวัตน์ สาริกัลยะ ( วัชรี โส ) ฉัตรชัย มีชื่อที่เพื่อน ๆ และสื่อมวลชนเรียกว่า "บิ๊กนมชง" เนื่องจากเมื่อสมัยเป็นนักเรียนนายร้อยชอบรับประทานนม และต้องเป็นนมชงเท่านั้น หรือ "บิ๊กฉัตร"[20] [21]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก[ลิงก์เสีย], เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
  2. ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์[ลิงก์เสีย]
  3. กรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
  4. ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ
  5. ประธานกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
  6. ประธานกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-07.
  8. ประธานคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง
  9. ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม
  10. ประธานคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า
  11. ประธานกรรมการคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ
  12. ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  13. "ชีวประวัติ ฉัตรชัย สาริกัลยะ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-11. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  14. "'โฟกัส'กองทัพ ตรวจแถว แคนดิเดต'ผบ.ทบ.'". ไทยรัฐ. 2013-05-16. สืบค้นเมื่อ 2014-09-01.
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
  16. พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  17. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  18. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ
  19. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
  20. "ทำความรู้จัก "บิ๊กนมชง" มือเศรษฐกิจ คสช". เนชั่นแชนแนล. 2014-06-07. สืบค้นเมื่อ 2014-09-01.
  21. ""บิ๊กฉัตร" ปัดถูกทาบนั่ง ครม.ตู่". เนชั่นแชนแนล. 2014-08-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-31. สืบค้นเมื่อ 2014-09-01.
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2556 เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 130 ตอนที่ 30 ข, 6 ธันวาคม 2556.
  23. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-24. สืบค้นเมื่อ 2021-05-03.


ก่อนหน้า ฉัตรชัย สาริกัลยะ ถัดไป
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย

รองนายกรัฐมนตรี (ครม.61)
(23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
วิษณุ เครืองาม
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม. 61)
(19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
นายกองเอก กฤษฎา บุญราช
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 61)
(31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558)
อภิรดี ตันตราภรณ์