ทวิช กลิ่นประทุม
ทวิช กลิ่นประทุม | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม 2518 – 11 กุมภาพันธ์ 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | สวัสดิ์ คำประกอบ |
ถัดไป | ประมาณ อดิเรกสาร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน – 6 ตุลาคม 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ศิริ สิริโยธิน |
ถัดไป | เลอศักดิ์ สมบัติศิริ |
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม 2531 – 26 สิงหาคม 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | สุบิน ปิ่นขยัน |
ถัดไป | อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน 2535 – 10 มิถุนายน 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | เกษม สุวรรณกุล |
ถัดไป | เกษม สุวรรณกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 |
เสียชีวิต | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (76 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | อารมณ์ กลิ่นประทุม |
ทวิช กลิ่นประทุม (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี อดีตหัวหน้าพรรคธรรมสังคม[1] อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทวิช เป็นผู้จัดซื้อที่ดินบริเวณตำบลหนองโพ ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อเตรียมดำเนินการจัดตั้งโรงงานผลิตนมผง ปัจจุบันคือ สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี[2]
งานการเมือง
[แก้]ทวิช กลิ่นประทุม เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม ก่อนจะย้ายมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดราชบุรี และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรีหลายสมัยต่อเนื่องกัน และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
ทวิช กลิ่นประทุม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อปี พ.ศ. 2518[4] และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งในปีถัดมา และได้ลาออกจากตำแหน่งหลังจากนั้นเพียง 1 เดือนเศษ กระทั่งในรัฐบาลต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[5] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[6] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ บทบาทในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายทวิช ก็ยุติลงเป็นการชั่วคราว
นายทวิช กลับมามีบทบาทอีกครั้งในการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[7] และรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร[8] โดยในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี[9] ขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล นับเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนอกระบบครั้งแรกในประเทศไทย
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ทวิช กลิ่นประทุม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549[10] สิริอายุ 76 ปี 167 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[13]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2012-07-27.
- ↑ "สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๓๓
- ↑ ""ทวิช กลิ่นประทุม" เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2012-07-27.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
ก่อนหน้า | ทวิช กลิ่นประทุม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตรี ศิริ สิริโยธิน | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (20 เมษายน - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519) |
เลอศักดิ์ สมบัติศิริ | ||
สุบิน ปิ่นขยัน | รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (ครม.45) (9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533) |
อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ | ||
เกษม สุวรรณกุล(สมัยแรก) | รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (ครม.48) (17 เมษายน - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535) |
เกษม สุวรรณกุล(สมัยที่สอง) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2473
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2549
- สกุลกลิ่นประทุม
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคสหประชาไทย
- พรรคธรรมสังคม
- พรรคชาติประชาธิปไตย
- พรรคชาติไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์