ณรงค์ชัย อัครเศรณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ณรงค์ชัย อัครเศรณี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม 2557 – 19 สิงหาคม 2558
นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ถัดไปพลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม – 28 สิงหาคม 2557
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน 2539 – 24 ตุลาคม 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าชูชีพ หาญสวัสดิ์
ถัดไปสม จาตุศรีพิทักษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี)
คู่สมรสอ้อพร อัครเศรณี

ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) อดีตที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และยังเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ[1] ตลอดจนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

ณรงค์ชัย อัครเศรณี หรือที่รู้จักกันในนาม ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 สมรสกับนางอ้อพร อัครเศรณี (สกุลเดิม บุนนาค) บุตรีของพันตำรวจเอกตรึก บุนนาค และศาสตราจารย์ (พิเศษ) ฉวี บุนนาค

การศึกษา[แก้]

ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ ก่อนสอบเข้าศึกษาต่อในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปี 2505 และในปีนั้นได้รับทุนโคลัมโบไปศีกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ จบปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ปี 2510 จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออสเตรเลีย จบระดับปริญญาโท (2511-2514) และปริญญาเอก (2514-2516) ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์

การทำงาน[แก้]

ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจด้านการเงิน ในทางการเมืองเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[2] และเป็นสมาชิกวุฒิสภา[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] เป็นครั้งที่สอง

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] กระทั่งพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558[6] เขายังเป็นที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2558

สมาชิกคณะมนตรีไตรภาคี[แก้]

ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นสมาชิกคณะมนตรีไตรภาคีภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2554-2557 ตัวแทนประเทศไทย[7] [8] [9]

ความเห็นทางการเมือง[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  4. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  7. "รายชื่อคณะมนตรีไตรภาคีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2554" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-05. สืบค้นเมื่อ 2011-11-05.
  8. "รายชื่อคณะมนตรีไตรภาคีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2555" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-13. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
  9. "รายชื่อคณะมนตรีไตรภาคีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2557" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ณรงค์ชัย อัครเศรณี ถัดไป
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(25 พฤศจิกายน 2539 – 24 ตุลาคม 2540)
สม จาตุศรีพิทักษ์
พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม.61)
(30 สิงหาคม 2557 - 20 สิงหาคม 2558)
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์