ข้ามไปเนื้อหา

อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าอมเรศ ศิลาอ่อน
ถัดไปอุทัย พิมพ์ใจชน
หัวหน้าพรรคเทิดไท
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฏาคม พ.ศ. 2535 – 24 ธันวาคม พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าณรงค์ วงศ์วรรณ (หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม)
ถัดไปถูกยุบพรรค
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 มกราคม พ.ศ. 2473 (94 ปี)
พรรคการเมืองชาติไทย (2518-2535) เทิดไท (2535)
คู่สมรสประถมาภรณ์ วัฒนพงศ์ศิริ

อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ และอดีตหัวหน้าพรรคเทิดไท

ประวัติ

[แก้]

อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ หรือ ดร.อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์หลายสมัย ซึ่งเคยร่วมทีมกับนายเนวิน ชิดชอบ[1] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรก ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[2] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[3] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.42)[4]

จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[5] และได้ย้ายไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในช่วงเวลาต่อมา[6] จากนั้นในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 46 ซึ่งนำโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จึงได้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ[7]

ดร.อนุวรรตน์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร[8] ซึ่งต้องพ้นจากตำแหน่งในเวลาต่อมา อันเนื่องมาจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเทิดไท พรรคการเมืองที่เปลี่ยนชื่อมาจากพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่นำโดยนายณรงค์ วงศ์วรรณ

ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ดร.แมลง" อันเนื่องจากจบการศึกษาด้านกีฏวิทยา และเป็นสมาชิกสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย[9]

อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี 2533-2534

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เส้นทาง2ขุนพลคู่ใจทักษิณ"เนวิน-ยงยุทธ"จากวันคืนสดใสสู่วันที่ร่วงโรย[ลิงก์เสีย]
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-05-14.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  9. รายชื่อสมาชิกสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  12. รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไชต์ thaiscouts
ก่อนหน้า อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ ถัดไป
อมเรศ ศิลาอ่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(7 เมษายน 2535 – 10 มิถุนายน 2535)
อมเรศ ศิลาอ่อน