พงศกร อรรณนพพร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พงศกร อรรณนพพร
ม.ป.ช., ม.ว.ม.
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้า วรากรณ์ สามโกเศศ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (สมัยที่ 3)
เลขาธิการพรรคเพื่อธรรม
ดำรงตำแหน่ง
30 กันยายน พ.ศ. 2561 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (61 ปี)
อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น
พรรค ชาติพัฒนา (?–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561, 2562–2563,ก.ค.2565-ปัจจุบัน)
เพื่อธรรม (2561)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
ไทยสร้างไทย (2564-มิ.ย.2565)
คู่สมรส ดวงแข อรรณนพพร
ศาสนา พุทธ

นายพงศกร อรรณนพพร สมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ อดีตเลขาธิการ พรรคเพื่อธรรม อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น 4 สมัย

ประวัติ[แก้]

นายพงศกร อรรณนพพร เกิดเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนชุมชนหนองสองห้อง ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ระดับปริญญาตรีด้านบริหารการจัดการ จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

นายพงศกร อรรณนพพร สมรสกับ ดวงแข อรรณนพพร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ

  1. ปคินันท์ อรรณนพพร
  2. สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต 8 สังกัดพรรคเพื่อไทย และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย
  3. วสุนันท์ อรรณนพพร
  4. พชรกร อรรณนพพร
  5. พชรพงศ์ อรรณนพพร

การทำงาน[แก้]

เขาเคยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมาการการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น ในส่วนงานการเมืองเริ่มจากตำแหน่งรองประธานกรรมการสุขาภิบาลอำเภอหนองสองห้อง จนมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[1]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 46[2]

ใน พ.ศ. 2561 นายพงศกรได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย และได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อธรรม พร้อมกับรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 15 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[3]

ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[4] ต่อมาในปี 2565 เขาได้ย้ายกลับเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย

ตำแหน่งทางการเมือง[แก้]

  • 2539 - 2540 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • 2540 - 2541 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • 2542 - 2543 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • 2542 - 2544 ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • 2544 - 2544 ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • 2547 - 2547 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • 2548 - 2548 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • 2548 - 2548 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  3. เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
  4. ส่อง 4 ภาค ขุนพล 'ไทยสร้างไทย'
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖