เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าพลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี
ถัดไปพลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มกราคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
ศิษย์เก่า
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
กองบัญชาการกองทัพไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
ผ่านศึกกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา

พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2506) เป็นนายทหารชาวไทยและนักการเมือง เคยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการทหารบก, รองผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตสมาชิกวุฒิสภา

การศึกษา[แก้]

การศึกษาก่อนเข้ารับราชการทหาร[แก้]

การศึกษาเมื่อเข้ารับราชการแล้ว[แก้]

หลักสูตรทางทหาร[แก้]

  • หลักสูตรส่งทางอากาศ รุ่นที่ 128
  • หลักสูตรจู่โจม รุ่นที่ 73
  • หลักสูตรปฐมนิเทศนายทหารใหม่ (จปร.) รุ่นที่ 7
  • หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารม้า รุ่นที่ 2
  • หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารม้า รุ่นที่ 33
  • หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 72
  • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 59

การรับราชการทหาร[แก้]

เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการทหารบก ท่านมีส่วนในการเขียนแผน “จักรพงษ์ภูวนาถ” ในการศึกเขาพระวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2554 เคยเข้ารับการฝึกหลักสูตรนายทหารสัญญาบัตรหน่วยทหารรักษาพระองค์เป็นระยะเวลา 3 เดือน และได้เข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904 ในตำแหน่ง รองผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904

พล.อ. เฉลิมพล รับราชการช่วงแรก ๆ พล.อ. เฉลิมพล ได้ยศ "ร้อยตรี"ในปี พ.ศ. 2528 และได้รับตำแหน่ง ผู้บังคับหมวด กองร้อยลาดตระเวน กองพันทหารม้าที่ 22 และพล.อ. เฉลิมพล เคยได้รับตำแหน่ง

  1. ผู้บังคับการทหารม้า
  2. ผู้บังคับการกองร้อยลาดตระเวน
  3. นายทหารยุทธการและการฝึก

ในขณะที่ได้ยศร้อยโท และร้อยเอก ตอนที่ พล.อ. เฉลิมพลได้ยศ"พันตรี"ในปี พ.ศ. 2541 พล.อ. เฉลิมพล ได้รับตำแหน่ง

  1. ฝ่ายอำนวยการที่ 3 กองพันทหารม้าที่ 27
  2. อาจารย์ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  3. ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายข่าวกรอง ฝ่ายอากาศ ฝ่ายยุทธการ กองพลทหารม้าที่ 2
  4. รองผู้บังคับการ กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์

ตอนที่ พล.อ. เฉลิมพล ได้ยศ"พันโท"ในปี พ.ศ. 2547 พล.อ. เฉลิมพล ได้รับตำแหน่ง

  1. หัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารม้าที่ 2
  2. ผู้บังคับการกองพันทหารม้าที่ 25 รักษาพระองค์
  3. หัวหน้ากองกรมยุทธการทหารบก (พล.อ. เฉลิมพล เริ่มดำรงตำแหน่งในกรมยุทธการทหารบกในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งตำแหน่งนั้นก็คือหัวหน้ากอง)

และในปีพ.ศ. 2547 พล.อ. เฉลิมพล ได้ยศ"พันเอก"และได้รับตำแหน่ง

  1. ฝ่ายเสนาธิการ ประจำกรมยุทธการทหารบก
  2. นายทหารปฏิบัติการ ประจำกรมยุทธการทหารบก
  3. ผู้อำนวยการกอง กรมยุทธการทหารบก
  4. เสนาธิการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์
  5. รองผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์

และในปี พ.ศ. 2558 พล.อ. เฉลิมพล ได้รับแต่งตั้งเป็นนายพลและได้ยศ"พลตรี"ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ และในปี พ.ศ. 2560 พล.อ. เฉลิมพล ได้ยศ"พลโท"และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบกและในปี 2561 ก็ได้ย้ายไปเป็นรองเสนาธิการทหารบกและตอนกลางปี 2562 พล.อ. เฉลิมพล ได้จากรองเสนาธิการทหารบกไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบกและได้รับยศเป็นพลเอก ที่ย้ายจากรองเสนาธิการทหารบกไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒินั้นเพื่อที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหารใน ตุลาคม 2562 จนกระทั่งในปี 2563 มีพระบรมราชโอการโปรดเกล้า ฯ ให้ พล.อ. เฉลิมพล ได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนที่ 35 ของไทย อีกทั้งพลเอกเฉลิมพลยังได้รับราชการพิเศษด้วยเช่นราชองครักษ์เวร, ตุลาการศาลทหารกรุงเทพ, นายทหารพิเศษประจำหน่วย กองพันทหารม้าที่ 27 รักษาพระองค์

ในปี พ.ศ. 2563 พล.อ. เฉลิมพล ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ ในวันที่ 5 พฤษภาคม​ พ.ศ. 2564​ ดำรงตำแหน่งกรรมการ ศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด–19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ยศทางทหาร[แก้]

  • พ.ศ. 2528 : ร้อยตรี | คำสั่ง กห ที่ 109/28 ลง 15 ก.พ. 28
  • พ.ศ. 2528 : ร้อยโท[1]
  • พ.ศ. 2531 : ร้อยเอก[2]
  • พ.ศ. 2534 : พันตรี[3]
  • พ.ศ. 2541 : พันโท[4]
  • พ.ศ. 2547 : พันเอก[5]
  • พ.ศ. 2550 : พันเอก (พิเศษ) | คำสั่ง ทบ. (ฉ) ที่ 349/50 ลง 30 มี.ค. 50
  • พ.ศ. 2558 : พลตรี[6]
  • พ.ศ. 2560 : พลโท[7]
  • พ.ศ. 2562 : พลเอก[8]
  • พ.ศ. 2564 : พลเรือเอก, พลอากาศเอก[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1[14]
  •  สิงคโปร์ :
    • พ.ศ. 2566 – เครื่องอิสริยาภรณ์อุตมะ บักติ เจเมอร์ลัง (เท็นเทรา)[15]
  •  บรูไน :
    • พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เคอเบอเรเนียน ไลลา เทอร์บิลัง ชั้นที่ 1[16]
  •  สหรัฐ :
พล.ร.อ. จอห์น ซี. อาควิลิโน ผู้บัญชาการทหารสหรัฐภาคอินโดแปซิฟิก ประดับลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา แก่พล.อ. เฉลิมพล ในปีพ.ศ. 2567

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร หน้า ๑๙๙ เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๖๕, ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
  2. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2018-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑๘๗ เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๙๓, ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร หน้า ๑๕๐ เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑, ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นต่ำกว่านายพล เก็บถาวร 2018-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๘๔ เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๔ข, ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นต่ำกว่านายพล หน้า ๖๑ เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๗ข, ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ลำดับที่ ๓๓๕ หน้า ๑๑ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๒๒ข, ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ลำดับที่ ๑๕๖ หน้า ๖ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๒ข, ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ลำดับที่ ๒๒ หน้า ๑ เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖ข, ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารเป็นกรณีพิเศษ หน้า ๓ เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๖ ข, ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ หน้า ๒๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
  14. "'บิ๊กแก้ว' รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย". THESTATESTIMES (ภาษาอังกฤษ).
  15. MINDEF Singapore. Top Military Award Conferred on Thai Chief of Defence Forces. เมื่อ 5 กรกฏาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฏาคม 2566
  16. วาสนา นาน่วม ผบ.ทหารสูงสุด ร่วมพิธีสวนสนามรักษาพระองค์ ของกองทัพบรูไนเฉลิมพระเกียรติ 77 พรรษา สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน. เมื่อ 17 กรกฎาคม 2566. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2566
  17. กองบัญชาการกองทัพไทย, พล.อ. เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ รับมอบเครื่องอิสริยาภรณ์ Legion of Merit (Degree of Commander) จาก พล.ร.อ. จอห์น ซี อากีลีโน ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด – แปซิฟิก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ถัดไป
พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566)
พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี