พิชัย ชุณหวชิร
พิชัย ชุณหวชิร | |
---|---|
พิชัย ปี พ.ศ. 2559 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 189 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ภูมิธรรม เวชยชัย (2567–ปัจจุบัน) สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (2567–ปัจจุบัน) อนุทิน ชาญวีรกูล (2567–ปัจจุบัน) พัชรวาท วงษ์สุวรรณ (2567) พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (2567–ปัจจุบัน) ประเสริฐ จันทรรวงทอง (2567–ปัจจุบัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ภูมิธรรม เวชยชัย สมศักดิ์ เทพสุทิน ปานปรีย์ พหิทธานุกร อนุทิน ชาญวีรกูล พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 189 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วย | กฤษฎา จีนะวิจารณะ (จนถึงปี 2567) จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เผ่าภูมิ โรจนสกุล |
ก่อนหน้า | เศรษฐา ทวีสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2567 – ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียน่าแห่งเพนซิลเวเนีย |
อาชีพ | นักธุรกิจ นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
พิชัย ชุณหวชิร ป.ม. จ.ช. (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) ชื่อเล่น แบงค์ เป็นนักธุรกิจเเละนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลแพทองธารชินวัตร
ประวัติ
[แก้]พิชัย ชุณหวชิร มีชื่อเล่นว่า "แบงค์" จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบปริญญาโท บริหารธุรกิจจาก Indiana University of Pennsylvania สหรัฐ
การทำงาน
[แก้]- 5 กุมภาพันธ์ – 25 เมษายน พ.ศ. 2567 ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2557 – 2560 กรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2555 – 25 เมษายน พ.ศ. 2567 ประธานกรรมการ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2544 – 2556 กรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)[1]
งานการเมือง
[แก้]ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
[แก้]วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ พิชัย ชุณหวชิร ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี[2]
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
[แก้]ต่อมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พิชัยเป็นรองนายกรัฐมนตรี แทนปานปรีย์ พหิทธานุกร ที่ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพียงตำแหน่งเดียว และพิชัยยังควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แทนเศรษฐา ทวีสิน ที่ไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียว[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ T, GIFT (2024-04-28). "ประวัติ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรมว.คลัง คนใหม่". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ เปิดตัว 9 ที่ปรึกษา “นายกฯ เศรษฐา” เน้นผู้เชี่ยวชาญ-ชำนาญเฉพาะทาง
- ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ครม. "เศรษฐา 1/1"". บีบีซีไทย. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๙๙, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
ก่อนหน้า | พิชัย ชุณหวชิร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ปานปรีย์ พหิทธานุกร | รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 63) (27 เมษายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ | ||
เศรษฐา ทวีสิน | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 63) (27 เมษายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ |