แนบ พหลโยธิน
แนบ พหลโยธิน ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 ธันวาคม 2475 – 1 เมษายน 2476 | |
นายกรัฐมนตรี | พระยามโนปกรณนิติธาดา |
กรรมการราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน – 10 ธันวาคม 2475 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | แนบ พหลโยธิน 26 สิงหาคม พ.ศ. 2443 เมืองพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (71 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เชื้อชาติ | ไทย |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น |
คณะราษฎร |
คู่สมรส | สไบ พหลโยธิน |
บุตร | 1 คน |
ศิษย์เก่า | สำนัก เกรย์อิน ประเทศอังกฤษ |
อาชีพ | นักกฎหมาย |
ศาสนา | พุทธ |
แนบ พหลโยธิน (26 สิงหาคม พ.ศ. 2443 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) เป็นนักการเมืองชาวไทย หนึ่งในเจ็ดสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎร ปฏิวัติสยามเปลี่ยนระบอบการปกครอง พ.ศ. 2475 สำเร็จขณะอายุ 32 ปี
ประวัติ[แก้]
แนบ พหลโยธิน เป็นบุตรของ พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) บิดาเป็นพี่ชายของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)[1] จบการศึกษาจากโรงเรียนราชวิทยาลัย (โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบัน) จบการศึกษาเนติบัณฑิต สำนัก เกรย์อิน ประเทศอังกฤษ
ระหว่างการศึกษาอยู่ยังประเทศอังกฤษนั้น ได้ร่วมกับนักเรียนไทยที่ประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศสส่วนหนึ่ง ก่อตั้งคณะราษฎรขึ้นมา โดยที่แนบ ถือเป็นสมาชิกรุ่นแรก ที่มีด้วยกันทั้งหมด 7 คน ซึ่งนอกจากนายแนบแล้ว ยังประกอบด้วย ปรีดี พนมยงค์, ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ, จรูญ สิงหเสนี, ประยูร ภมรมนตรี, ร้อยโท ทัศนัย มิตรภักดี และตั้ว ลพานุกรม
งานการเมือง[แก้]
ในการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ที่นานถึง 4 คืน 5 วันติดต่อกัน ที่ประชุมมีมติให้ปรีดี เป็นหัวหน้า และได้มอบหมายให้แนบ เป็นผู้ดูแลครอบครัวของเหล่าสมาชิกที่เหลือ หากการปฏิวัติไม่สำเร็จ เนื่องจากแนบนั้นมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าคนอื่น เพราะได้รับมรดกจากบิดา [2] โดยจะไม่ให้แนบออกหน้ามากนักในการปฏิวัติ นอกจากนี้แล้ว แนบยังเป็นผู้แนะนำและรับรอง ทวี บุณยเกตุ นักเรียนการเกษตร ให้เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรด้วย
เมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย แนบเป็นผู้ที่ทาบทาม พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา จเรทหารปืนใหญ่ผู้เป็นอา ให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกดวย และรับสถานะเป็นหัวหน้าคณะราษฎร เนื่องด้วย แนบนั้นมีศักดิ์เป็นหลานชายของ พันเอก พระยาพหลฯ โดยเป็นบุตรชายของพระยาพหลโยธินรามินทรภักดี พี่ชายของ พันเอก พระยาพหลฯ[3]
ก่อนการเปลี่ยนแปลงปกครองไม่นาน ทวีได้ถูกย้ายไปรับราชการที่จังหวัดขอนแก่น จึงไม่มีโอกาสได้ติดต่อกับสมาชิกคนอื่น ๆ แนบจึงเป็นผู้ส่งโทรเลขไปหา เพื่อแจ้งวัน-เวลาในการปฏิบัติการ[4]
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว แนบได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อันถือเป็นชุดแรก และยังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี (ลอย) อีกด้วย แต่ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 ด้วยการประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภา ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นความขัดแย้งกันระหว่างนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกคณะราษฎร ซึ่งแนบได้พ้นออกจากตำแหน่งพร้อมกับพระยาประมวญวิชาพูล, หลวงเดชสหกรณ์, ตั้ว ลพานุกรม และปรีดี พนมยงค์ ก่อนที่จะกลับมารับตำแหน่งอีกครั้งหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 โดยการนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา[5]
แนบ สมรสกับคุณหญิงสไบ พหลโยธิน มีธิดาหนึ่งคนชื่อ ธนี พหลโยธิน[1]
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
แนบ พหลโยธิน ถึงแก่กรรมในปลายปี พ.ศ. 2514 พระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ มีขึ้น ณ เมรุวัดธาตุทอง ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2515 สิริอายุ 71 ปี[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2498 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2493 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2501 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2500 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2496 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "ย่านถนนห้วยแก้ว (๒๐)". ๔๕ ไทยนิวส์. 18 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 175.
- ↑ 2475 ตอน สองฝั่งประชาธิปไตย, สารคดี ทางทีพีบีเอส: 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
- ↑ หน้า 100-102, ตรัง โดย ยืนหยัด ใจสมุทร. (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์มติชน) ISBN 974-7115-60-3
- ↑ 12 เมษายน, คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศรษฐบุตร รศ. หน้า 8 บทความ-การ์ตูน. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,192: ศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง
- ↑ อนุสรณ์พระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ นายแนบ พหลโยธิน ม.ว.ม., ป.จ., ท.จ., โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2515)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๓, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๖๓๔๗, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๕๕๒, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๘ ง หน้า ๒๖๐๘, ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2443
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2514
- สมาชิกคณะราษฎร
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- บุคคลจากโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- อธิบดีกรมธนารักษ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์