สมบัติ รอดโพธิ์ทอง
สมบัติ รอดโพธิ์ทอง | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 |
เสียชีวิต | 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (80 ปี) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | พาชื่น รอดโพธิ์ทอง |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | ![]() |
พลตรี สมบัติ รอดโพธิ์ทอง เป็นอดีตแกนนำกบฏยังเติร์ก[1] เมื่อปี พ.ศ. 2524 และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 1 สมัย สังกัดพรรคพลังธรรม ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จากนั้นเมื่อพรรคพลังธรรม ได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ชวน 1)[2] ซึ่งมีพลเอกวิจิตร สุขมาก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 โดยมีพลเรือโทโรช วิภัติภูมิประเทศ มาดำรงตำแหน่งแทน
สมบัติ รอดโพธิ์ทอง เคยมีนายทหารติดตามคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล[3]
พลตรี สมบัติ รอดโพธิ์ทอง ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสราชวรวิหาร แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2536 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2516 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2513 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2534 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2517 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “สาวใช้พม่า” ทำแสบ ฉกทรัพย์หลายล้าน บ้านอดีตเมีย “พล.ต.สมบัติ”
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ประวัติส่วนตัว พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๓๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒ เมษายน ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๖๔ ง หน้า ๒๑๕๗, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๕ มกราคม ๒๕๑๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2560
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- พรรคพลังธรรม
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์