เพิ่มพูน ชิดชอบ
เพิ่มพูน ชิดชอบ | |
---|---|
เพิ่มพูน ในปี พ.ศ. 2567 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 34 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วย | สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล |
ก่อนหน้า | ตรีนุช เทียนทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2503 อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2564–ปัจจุบัน) |
บุพการี |
|
ญาติ | เนวิน ชิดชอบ (พี่ชาย) ศักดิ์สยาม ชิดชอบ (น้องชาย) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
อาชีพ | ตำรวจ |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | อุ้ม |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กรมตำรวจ- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ประจำการ | พ.ศ. 2527–2564 |
ยศ | พลตำรวจเอก |
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 5 ตุลาคม พ.ศ. 2503) ชื่อเล่น อุ้ม[1] เป็นตำรวจและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร และอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ประวัติ
[แก้]พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2503[2] ที่ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของ ชัย ชิดชอบ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา กับ นางละออง ชิดชอบ เป็นพี่ชายของศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเป็นน้องชายของ เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ นางอุษณีย์ ชิดชอบ อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 8
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ จบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบเนติบัณฑิตจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์ และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)
การทำงาน
[แก้]ราชการตำรวจ
[แก้]พล.ต.อ.เพิ่มพูน เริ่มทำงานในอาชีพตำรวจที่สำนักงานเลขานุการ กรมตำรวจ และได้เลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาจนกระทั่งเป็นผู้บังคับการกองตรวจราชการ 2 จเรตำรวจ ในช่วงรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ต่อมาได้เลื่อนเป็นผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง กทม. ก่อนขยับตำแหน่งเรื่อนมาจนได้มารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2562 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2564 พล.ต.อ.เพิ่มพูน เกษียณอายุราชการตำแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ทั้งนี้ พล.ต.อ.เพิ่มพูน เป็นที่รู้จักของสังคมจากกรณีที่อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา ในข้อหาเมาแล้วขับ ซึ่งส่งผลให้เขาขับรถชนดาบตำรวจวิเชียร กลั่นประเสริฐ จนเสียชีวิต โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ลงนามแทน ผบ.ตร. ในการไม่เห็นแย้ง ทำให้คดียุติลงทันที[3]
การเมือง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2566 พล.ต.อ.เพิ่มพูน ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน โดยเป็น 1 ใน 3 อดีตข้าราชการตำรวจที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าว (อีก 2 คน คือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง)[4]
ในวันที่ 19 ม.ค. พ.ศ. 2567 พล.ต.อ.เพิ่มพูน ได้ให้การต้อนรับนายคิม เช พง เอกอัครทูตประเทศเกาหลีเหนือ และแลกเปลี่ยนประเด็นทางการศึกษา ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์ในหมู่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ [5]
ผมเองเชื่อว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีนอกจากจะมีผู้คนที่มีวินัยแล้ว ยังสามารถรักษาวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมไว้ หากมีโอกาส หวังว่าจะได้ไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เพื่อศึกษาและเรียนรู้วัฒนธรรมรวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา
— พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "บิ๊กอุ้ม ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.ลำลาอายุราชการ". สยามรัฐ. 1 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ลำดับอาวุโสข้าราชการตำรวจระดับ ผบช" (PDF). โรงพยาบาลตำรวจ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2023.
- ↑ ประวัติ “พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ” จากเส้นทางสีกากี สู่ “รมว.ศึกษาธิการ”
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ เพจกระทรวงลบโพสต์หลังทัวร์ลง ข่าว รมว.ศึกษาฯไทยพบทูตเกาหลีเหนือ หยอดหวังไปเยือนศึกษาเรียนรู้บ้านเขา ประชาไท Prachatai.com
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๒๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๗๗, ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๘๒, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า | เพิ่มพูน ชิดชอบ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ตรีนุช เทียนทอง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองสุรินทร์
- ชาวไทยเชื้อสายเขมร
- สกุลชิดชอบ
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.