ชวลิต ธนะชานันท์
ชวลิต ธนะชานันท์ ป.ช., ป.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2533 – 30 กันยายน พ.ศ. 2533 | |
ก่อนหน้า | กำจร สถิรกุล |
ถัดไป | วิจิตร สุพินิจ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 |
เสียชีวิต | 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 (78 ปี) |
คู่สมรส | ปรานี ธนะชานันท์ |
นายชวลิต ธนะชานันท์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[1] อดีตประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[2] อดีตประธานกรรมการบริษัท โพสต์ พับลิชชิงจำกัด (มหาชน)
ประวัติ[แก้]
ชวลิต ธนะชานันท์ เกิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 เป็นบุตรคนที่4 ของ นายเทียม กับนางเริ่มจิต ธนะชานันท์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากคณะพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีน้องชาย2คน ชื่อ พลโท นายแพทย์ ดำรงค์ ธนะชานันท์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมอาวุโส โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และนายเสรี ธนะชานันท์ เป็น สถาปนิก
สมรสกับ ปรานี ธนะชานันท์ มี บุตรีชื่อ ต้องใจ ธนะชานันท์[3] ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด
ชวลิต ธนะชานันท์ เริ่มเข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ในปี พ.ศ. 2497 เป็นเศรษฐกรประจำ USOM ในปี พ.ศ. 2500 เข้าทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ในตำแหน่งเศรษฐกร ฝ่ายวิชาการ เมื่อปี พ.ศ. 2506 ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ รองผู้อำนวยการฝ่าวิชาการ และเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ในปี พ.ศ. 2518 เป็นผู้ช่วยผู้ว่าการฯ รองผู้ว่าการฯ ในระหว่างปี พ.ศ. 2519-2533 จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2533 จนถึงวันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน จากนั้นในเดือนธันวาคม เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[4]
ในปี พ.ศ. 2544 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชวลิต ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2528 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ชวลิต ธนะชานนท์ เก็บถาวร 2014-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ↑ "ชวลิต ธนะชานันท์ ประธานตลาดหุ้นคนใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
- ↑ เปิดอีกชื่อ “ต้องใจ” ลูกสาวอดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ โดดชิงเก้าอี้ผู้นำวังบางขุนพรหม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ POST แจ้ง"ชวลิต ธนะชานันท์"ประธานกรรมการถึงแก่อนิจกรรมแล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๒๘ มกราคม ๒๕๒๙
ก่อนหน้า | ชวลิต ธนะชานันท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
กำจร สถิรกุล | ![]() |
![]() ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (6 มีนาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2533) |
![]() |
วิจิตร สุพินิจ |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2473
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552
- นักการเมืองไทย
- นักการธนาคารชาวไทย
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- บุคคลจากสำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์