บุญชู จันทรุเบกษา
พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 2503–2517 | |
ก่อนหน้า | จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร |
ถัดไป | พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 |
เสียชีวิต | 28 มกราคม พ.ศ. 2519 (62 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงอนงค์ จันทรุเบกษา |
บุตร | พลอากาศเอก ชนินทร์ จันทรุเบกษา
นางชนิดา จันทรุเบกษา นางอัชนี วิเศษกุล นางชื่นจิต ทัพพะรังสี นางพิศมัย จันทรุเบกษา นางอุไรรัช เชี่ยวสกุล |
ศาสนา | พุทธ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพอากาศไทย |
พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - 28 มกราคม พ.ศ. 2519) เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ 6 และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพจน์ สารสิน และรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร
ประวัติ[แก้]
พล.อ.อ. บุญชู เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 สมรสกับ คุณหญิงอนงค์ จันทรุเบกษา มีบุตรชาย 1 คนคือ พล.อ.อ. ชนินทร์ จันทรุเบกษา มีบุตรสาว 5 คน คือ นางชนิดา จันทรุเบกษา นางอัชนี วิเศษกุล นางชื่นจิต ทัพพะรังสี นางพิศมัย จันทรุเบกษา และ นางอุไรรัช เชี่ยวสกุล
การศึกษา[แก้]
พล.อ.อ. บุญชู จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อปีพ.ศ. 2476
การทำงาน[แก้]
พล.อ.อ. บุญชู รับพระราชทานยศ ร้อยตรี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477[1] ก่อนจะโอนย้ายมาเป็นทหารอากาศและรับพระราชทานยศ เรืออากาศตรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2479 [2] และได้รับพระราชทานยศ พลอากาศเอก เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 [3]
พล.อ.อ. บุญชู ได้ดำรงตำแหน่ง รองเสนาธิการทหารอากาศ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2499 และได้ขึ้นเป็น เสนาธิการทหารอากาศ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2500[4] ก่อนจะก้าวขึ้นเป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2503 [5] แทนที่ พล.อ.ท. เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร (ยศในขนาดนั้น) ที่ถึงแก่อสัญกรรมจากเหตุการณ์เครื่องบินตก
งานการเมือง[แก้]
พล.อ.อ. บุญชู ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลพจน์ สารสิน เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2500[6][7] ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งนี้อีกครั้งหนึ่งในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 [8] และ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515[9]
การก่อตั้งโรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์[แก้]
พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา ได้มอบเงินทุนสมทบในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกให้กับโรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ในปี พ.ศ. 2508 เพื่อทำการเรียนการสอน ต่อมาได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ พล.อ.อ. บุญชู จันทรุเบกษา สืบมา[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2503 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2500 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2504 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2484 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[14]
- พ.ศ. 2505 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[15]
- พ.ศ. 2514 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[16]
- พ.ศ. 2477 –
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[17]
- พ.ศ. 2511 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[18]
- พ.ศ. 2489 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[19]
- พ.ศ. 2505 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[20]
- พ.ศ. 2494 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 –
เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
พ.ศ. 2505 - เครื่องอิสริยาภรณ์เตกุ๊ค ประดับ"ดาวทอง"[21]
พ.ศ. 2505 - เครื่องอิสริยาภรณ์หม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ชั้น 1[21]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศพระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศพระราชทานยศทหารอากาศ
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
- ↑ ประวัติโรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๘๐, ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๗, ๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๕๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๕, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๙๓๖, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๔๗๓, ๒๖ มิถุนายน ๒๕๐๕
- ↑ 21.0 21.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 75 ตอนที่ 109 หน้า 2637, 11 ธันวาคม 2505