สุภา คชเสนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุภา คชเสนี
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2529 – 30 กันยายน พ.ศ. 2530
ก่อนหน้าพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก
ถัดไปพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
สมาชิกวุฒิสภาไทยชุดที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
22 เมษายน พ.ศ. 2528 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 ตุลาคม พ.ศ. 2469
อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
เสียชีวิต30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (95 ปี)
โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงทรงสมร คชเสนี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก

พลเรือเอก สุภา คชเสนี (12 ตุลาคม พ.ศ. 2469 — 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564) เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนที่ 12 และสมาชิกวุฒิสภาไทยชุดที่ 5

ประวัติ[แก้]

พลเรือเอก สุภา คชเสนี เป็นบุตรของหลวงบริณัยจรรยาราษฎร์ (มณฑล คชเสนี) กับนางกระถิน (จารุสังข์) คชเสนี มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 4 คน ได้แก่

  1. นางสุทิพย์ พึ่งประดิษฐ์ อดีตครูอาวุโส โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (ถึงแก่อนิจกรรม)
  2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี (ถึงแก่อนิจกรรม)
  3. พลเรือเอก สุภา คชเสนี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ถึงแก่อนิจกรรม)
  4. ดร.สุกรี คชเสนี อดีตเอกอัครราชทูตไทยหลายประเทศ (ถึงแก่อนิจกรรม)

พลเรือเอก สุภา คชเสนี สมรสกับคุณหญิงทรงสมร (กิตติขจร) คชเสนี ธิดาของจอมพล ถนอม กิตติขจร กับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร[1] กรรมการจัดการมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในพระราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยได้รับพระราชทานน้ำสังข์จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และมีงานเลี้ยงฉลองสมรสบริเวณทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 มีบุตร-ธิดารวม 5 คน ได้แก่

  1. นายสุปกิจ คชเสนี
  2. นางรุจิเรศ วิชิตะกุล
  3. นางเพ็ญสุภา คชเสนี
  4. นางอาภาสมร มหธร
  5. นางสุภาพิมพ์ คชเสนี

การทำงาน[แก้]

พลเรือเอก สุภา คชเสนี ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ดังนี้

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2526 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พล.ร.ท. สุภา คชเสนี เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ[4]

เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2527 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.ร.อ. สุภา คชเสนี เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกองบังคับการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน[5]

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.ร.อ. สุภา คชเสนี เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ และประจำกองพันทหารอากาศโยธินที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบ กรมอากาศโยธิน[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พลเรือเอก สุภา คชเสนี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2513 – เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นที่ 4
    • พ.ศ. 2513 – เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารอากาศ)
    • พ.ศ. 2513 – เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารเรือ)
    • พ.ศ. 2513 – แกลแลนทรี่ครอส ประดับใบปาร์ม
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญปฏิบัติการกิจการพลเรือน ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญรณรงค์เวียดนาม
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญปฏิบัติการจิตวิทยา ไม่ปรากฏลำดับชั้น
    • พ.ศ. 2513 – เหรียญเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก ชั้นที่ 1
  •  สหรัฐ :
  •  เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. 2530 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 1[18]
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร ชั้นที่ 3
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญราชการสงครามเกาหลี
  •  อินโดนีเซีย :
    • พ.ศ. 2530 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดารายุทธธรรม ชั้นอุตมา[18]
  •  ฟิลิปปินส์ :
  •  ไต้หวัน :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆและธวัช ชั้นที่ 4

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร]". naewna.com. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2022.
  2. "ประวัติวิทยาลัยการทัพเรือ". navy.mi.th. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2022.
  3. "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๕" (PDF). senate.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-09-10. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2022.
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/096/1.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/D/011/193.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/215/5890.PDF
  7. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พล.ร.อ. สุภา คชเสนี
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๙๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔๔, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๖๔ ง หน้า ๓๗๕๙, ๒๑ ตุลาคม ๒๔๙๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๑๔ ง หน้า ๗๓๑๒, ๒๗ ตุลาคม ๒๕๓๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๘ ง หน้า ๓๕๖, ๒๗ มกราคม ๒๔๙๖
  17. AGO 1970-50 — AWARDS
  18. 18.0 18.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๐