บรรจบ บุนนาค
พลเอก บรรจบ บุนนาค ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | นายอานันท์ ปันยารชุน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2468 (95 ปี) ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงอรนุช บุนนาค |
ศาสนา | พุทธ |
พลเอก บรรจบ บุนนาค (เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - ปัจจุบัน) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (14 มิถุนายน 2535 - 30 กันยายน 2535) ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[1] และ อดีตเสนาธิการทหารบก [2]
ประวัติ[แก้]
พลเอก บรรจบ บุนนาค เป็นบุตรมหาเสวกโท พระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว บุนนาค) และ คุณหญิง เจียน (สกุลเดิม อัตจุตพันธ์)[3] เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2468 พลเอกบรรจบ บุนนาค สมรสกับคุณหญิงอรนุช[4] ธิดาพระยามานิตย์กุลพัทธ์ (มานิตย์ มานิตยกูล) มีบุตรชาย 2 คน ได้แก่ พันตรีเอก และ บรรสาน บุนนาค ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
การศึกษา[แก้]
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย,โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ทบ.) โรงเรียนทหารช่างกรมการทหารช่าง โรงเรียนทหารช่างสหรัฐอเมริกา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 37 โรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 11 และ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 22
พลเอก บรรจบ เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นเดียวกับพลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ พลเอก หาญ ลีนานนท์ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก[5]
ตำแหน่งราชการทหาร[แก้]
พลเอก บรรจบ บุนนาค เข้ารับราชการเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรเหล่าทหารช่าง เมื่อ พ.ศ. 2492, ตำแหน่งผู้บังคับหมวดกองพันทหารช่างที่ 2, อาจารย์โรงเรียนทหารช่าง, รองผู้บังคับกองพันทหารช่างที่ 6, ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์,นายทหารคนสนิทรองผู้บัญชาการทหารบก, ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์, เสนาธิการกองพลทหารราบที่ 9, ปลัดบัญชีทหารบก, รองเสนาธิการทหารบก, เสนาธิการทหารบก และเสนาธิการทหาร ต่อมา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (14 มิถุนายน - 30 กันยายน 2535)
ตำแหน่งราชการพิเศษ[แก้]
พลเอก บรรจบ บุนนาค ได้ตำแหน่งราชการทหารพิเศษ ได้แก่ ราชองครักษ์เวร ,ราชองครักษ์พิเศษ ,เสนาธิการกองกำลังทหารไทยใน สาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 4,เสนาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ,ประธานคณะเสนาธิการ กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ,กรรมการสภาทหารผ่านศึก และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
นอกจากนี้ พลเอก บรรจบ บุนนาค ยังได้ดำรงตำแหน่งพิเศษ อาทิ สมาชิกวุฒิสภา,สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
นายทหารพิเศษ[แก้]
พลเอก บรรจบ บุนนาค ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษ ดังนี้
- กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
- กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
- กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
- กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กองพลนาวิกโยธิน
- กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ
- กองพันอากาศโยธินที่ 1 รักษาพระองค์
ยศทหาร[แก้]
พลเอก บรรจบ บุนนาค ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลเอก เมื่อ พ.ศ. 2526,ได้รับอัตราจอมพล เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 และ ได้รับพระราชทานยศพลเรือเอก และ พลอากาศเอก เมื่อ 20 สิงหาคม 2535
สถานที่[แก้]
- อาคารพลเอกบรรจบ บุนนาค ค่ายบุรฉัตร[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
พลเอก บรรจบ บุนนาค ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในไทย[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2536 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น 1 (ส.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
- Philippine Legion of Honour, Degree of Officer
- National Order of Vietnam, 5th Class.
- Legion of Merit, Degree of Officer (สหรัฐอเมริกา)
- The Order of National Security Merit - Gugseon Medal (สาธารณรัฐเกาหลี)
- Panglima Gagah Angkatan Tentera (มาเลเซีย)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ ชมรมสายสกุลบุนนาค
- ↑ "สกุลบุนนาค" โดยชมรมสายสกุลบุนนาค โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช พฤศจิกายน 2542 ISBN 974-08-5189-4
- ↑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพคุณหญิง อรนุช บุนนาค
- ↑ พล.อ.เทียนชัย วิถีพรรคป่าหวาย สายป๋าเปรม
- ↑ ภาพข่าวจาก ฝ่ายกรรมวิธีข้อมูล กองพลทหารช่าง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 110 ตอนที่ 57 วันที่ 3 พฤษภาคม 2536
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- สมาชิกเหรียญชัยสมรภูมิ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2468
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- สกุลบุนนาค
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ราชองครักษ์พิเศษ
- บุคคลจากวิทยาลัยการทัพบก
- ราชองครักษ์เวร