ณัฐพล นาคพาณิชย์
บทความนี้ อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร) |
ณัฐพล นาคพาณิชย์ | |
---|---|
![]() | |
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564 | |
ก่อนหน้า | พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา |
ถัดไป | พลเอก สุพจน์ มาลานิยม |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยเสนาธิการทหาร |
ลายมือชื่อ | ![]() |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | ![]() |
พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ (เกิด 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504) นักการเมือง ข้าราชการพลเรือน และอดีตนายทหารบกชาวไทย อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์[1] ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
ประวัติ[แก้]
ณัฐพล นาคพาณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
การทำงาน[แก้]
พล.อ.ณัฐพล เคยรับราชการทหารเป็นผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ต่อมาเป็นอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก อาจารย์วิทยาลัยการทัพบก เป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบก ในปี พ.ศ. 2558 เป็นรองเสนาธิการทหารบก พ.ศ. 2559 และหัวหน้าส่วนอำนวยการ สำนักงานเลขาธิการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ.ศ. 2559
ในปีต่อมาเป็นเสนาธิการทหารบก และเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2561 - 2563 จากนั้นจึงโอนย้ายมาเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2563 ในระหว่างนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) รองหัวหน้าสำนักงานประสานงานกลาง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) [2] กรรมการในคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ[3] กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
ภายหลังเกษียณอายุราชการ ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)[4]
ในภาคธุรกิจ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ บริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563 และกรรมการอิสระและกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2557 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2529 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2531 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2539 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/062/15.PDF
- ↑ 'บิ๊กตู่' ตั้งคกก.เฉพาะกิจผ่อนคลายบังคับใช้มาตรการป้องกันโควิด -เลขาฯ สมช.เป็นประธาน
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/271/1.PDF
- ↑ รู้จัก “บิ๊กเล็ก” ณัฐพล นาคพาณิชย์ รุ่นน้อง “ประยุทธ์” สู่เก้าอี้ที่ปรึกษานายก
- ↑ รายนามกรรมการบริษัท ไออาร์พีซี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๙ มีนาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๖, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
- บทความที่ใช้แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิเป็นหลัก
- บทความทั้งหมดที่ใช้แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิเป็นหลัก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ