วิจิตร ลุลิตานนท์
วิจิตร ลุลิตานนท์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม 2489 – 11 พฤศจิกายน 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | ปรีดี พนมยงค์ |
ถัดไป | หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2449 บ้านลุลิตานนท์ ถนนสีลม |
เสียชีวิต | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (81 ปี) บ้านขวัญจิตร ย่านบางเขน |
ศาสนา | คริสต์ |
คู่สมรส | ทิพยวดี ลุลิตานนท์ |
ลายมือชื่อ | |
ศาสตราจารย์วิจิตร ลุลิตานนท์ (30 มิถุนายน พ.ศ. 2449 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2530) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ และอดีตรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง
ประวัติ
[แก้]ชีวิตครอบครัวและการศึกษา
[แก้]ศาสตราจารย์วิจิตร ลุลิตานนท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2449 ณ บ้านลุลิตานนท์ ถนนสีลม เป็นบุตรของหลวงวิจารณ์ศุขเกษม (ติ๊ด ลุลิตานนท์)[1] เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับมารดาชื่อทรัพย์
ในด้านการศึกษา วิจิตร ลุลิตานนท์ ได้เข้าศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนประถมศึกษาเล็ก ๆ ในตรอกโรงภาษีชื่อว่า โรงเรียนครูสี ก่อนจะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนผดุงดรุณี แล้วจึงย้ายมาเรียนชั้นประถมและมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาในระดับมัธยมในปี พ.ศ. 2467[1]
ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา วิจิตรได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม จนสำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทยในปี พ.ศ. 2470[1]
การเข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรม
[แก้]ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย ในปี พ.ศ. 2470 วิจิตร ได้เข้าทำงานในกรมร่างกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันโอนภารกิจมาเป็นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) ในตำแหน่งเสมียนฝึกหัด[1]
ภายหลังจากทำงานเป็นเสมียฝึกหัดได้ 2 ปี (พ.ศ. 2472) โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ได้ขาดแคลนล่ามภาษาฝรั่งเศสที่ทำงานร่วมกับที่ปรึกษากฎหมายชาวต่างชาติ (นายหลุยส์ ดูปลาตร์ นายอังรี เอกูต์ และนายเอมิล ริโวด์) วิจิตรจึงได้เข้าทำงานที่โรงเรียนกฎหมายอีกตำแหน่งหนึ่ง ในฐานะล่ามช่วยแปลภาษาฝรั่งเศส[1]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 วิจิตรได้สอบเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาฝึกหัด กระทรวงยุติธรรม และได้รับราชการเรื่อยมาจนเป็นผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรมในปี พ.ศ. 2475 และผู้ช่วยเลขานุการ กรมร่างกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งในเวลาต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาขึ้นมาโดยมีรูปแบบคล้ายกับสภาแห่งรัฐ (Conseil d'État) ของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยขึ้นกับคณะรัฐมตรี จึงได้มีการโอนภารกิจของกรมร่างกฎหมายไปอยู่กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎี[2] ส่งผลให้วิจิตรต้องโอนย้ายตามไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกในกองกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในปี พ.ศ. 2477[1]
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
[แก้]นอกจากการทำงานในกระทรวงยุติธรรมแล้ว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วิจิตรยังได้เข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในตำแหน่งผู้ช่วยจัดทำตำราของมหาวิทยาลัย มีหน้าที่จดบันทึกคำบรรยายเพื่อเอามาเรียบเรียงเป็นตำราและคำสอนสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยวิจิตรเริ่มต้นทำหน้าที่ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2477
ผลงานการจัดทำตำราและคำสอนของวิจิตร เช่น ตำรากฎหมายลักษณะพยานและจิตตวิทยา ชั้นปริญญาตรี เป็นต้น ซึ่งเป็นการสรุปคำบรรยายของหลุยส์ ดูปลาตร์ (L. DUPLATRE)[3] ผู้บรรยายชาวฝรั่งเศส ซึ่งเคยบรรยายกฎหมายที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม โดยตำราของวิจิตร และดูปลาตร์นี้เป็นตำรากฎหมายพยานหลักฐานที่มีความทันสมัยและสอดคล้องกับหลักการกฎหมายพยานในเวลานั้นมากที่สุด[1]
วิจิตรได้ทำงานในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นระยะเวลานานหลายปี จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย ผู้ช่วยเลขาธิการมหาวิทยาลัย (เทียบเท่าผู้ช่วยอธิการบดี) และเลขาธิการมหาวิทยาลัย (เทียบเท่ารองอธิการบดี) ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย[1]
ณ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองนี้ วิจิตรได้มีบทบาทสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มต้นขึ้น มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้กลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญของขบวนการเสรีไทย[4] วิจิตรได้ร่วมกับสมาชิกเสรีไทย ภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำขบวนการเสรีไทย ภายใต้รหัสลับว่า รู๊ท ร่วมกันกับคณะทำงานชุดแรก คือ นายเดือน บุนนาค นายเสริม วินิจฉัยกุล และนายทวี ตะเวทิกุล[1] โดยวิจิตรมีฐานะสำคัญในฐานะเลขาธิการเสรีไทย คอยประสานงานระหว่างเสรีไทยในประเทศ[5]
บทบาททางการเมือง
[แก้]วิจิตร ลุลิตานนท์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2488 ในรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ[6][7] และได้ดำรงตำแหน่งต่อมาในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[8][9] ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2489 ในรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[10][11][12][13] ในรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[14] และพ้นจากตำแหน่งไปเพราะมีการรัฐประหารขึ้นโดยคณะทหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[15][16] นอกจากนี้ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 1[17]
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผลงานสำคัญของวิจิตรในขณะนั้นคือ การเสนอจัดตั้งบริษัทเทวเวศประกันภัย จำกัดขึ้นมาในปี พ.ศ. 2489 โดยการจัดตั้งบริษัทนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทประกันของรัฐบาล[18]
ภายหลังจากพ้นจากตำแหน่งการเมือง วิจิตรได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสอนหนังสือให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนเกษียณอายุราชการ และเป็นศาสตราจารย์พิเศษต่อมา[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[19]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 ทฤษฎิคุณ, เขมภัทร. "วิจิตร ลุลิตานนท์: ผู้บุกเบิกวิทยาการคลัง และเลขาธิการเสรีไทย". สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE : Pridi.or.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช 2476
- ↑ ดูปลาตร์, แอล และวิจิตร ลุลิตานนท์. (2477). กฎหมายลักษณะพะยานและจิตตวิทยา. มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:48038
- ↑ "ขบวนการเสรีไทย ภายใต้โดม (เตรียมธรรมศาสตร์-จุฬาอาสาศึก ปี ๒๔๘๘)". สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE : Pridi.or.th.
- ↑ นรนิติ เศรษฐบุตร. (มปป.). วิจิตร ลุลิตานนท์ : เลขาธิการเสรีไทย. http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=วิจิตร_ลุลิตานนท์.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 12 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 13 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายงานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครั้งที่ 9/2489 ลงวันที่ 16 กันยายน 2489
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗