ชิต เวชประสิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิต เวชประสิทธิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 มีนาคม พ.ศ. 2457
อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
เสียชีวิต25 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 (79 ปี)
คู่สมรสสมจิต เวชประสิทธิ์

นายชิต เวชประสิทธิ์ (8 มีนาคม พ.ศ. 2457 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2536) อดีตรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง 2 สมัย และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต 3 สมัย

ประวัติ[แก้]

ชิต เวชประสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2457 ที่บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต[1] เป็นบุตรของนายยาน และ นางสิ้ว เวชประสิทธิ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพาณิชยการวัดสามพระยา ก่อนที่จะเข้าศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่สำเร็จการศึกษา จนกระทั่งมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ในที่สุด สมรสกับ นางสมจิต เวชประสิทธิ์ (สกุลเดิม : ประธานธุรารักษ์) มีบุตร-ธิดา 6 คน[2]โดยมีบุตรคนหนึ่งคือ นายวราภรณ์ เวชประสิทธิ์ หรือ สีเผือก สีสี่ ซึ่งเป็นศิลปินตลกชื่อดัง

ชิต เวชประสิทธิ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 สิริอายุรวม 79 ปี

งานการเมือง[แก้]

ชิต เข้าสู่วงการการเมือง เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพฯ เขตสัมพันธวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2481[3] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในปีเดียวกัน และได้รับเลือกตั้งรวม 3 สมัย

ชิต ได้รับตำแหน่งทางการเมืองสำคัญ คือ รัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 13 ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อปี พ.ศ. 2488 และ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 18 ในรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2490

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ชิต เวชประสิทธิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 จังหวัดภูเก็ต
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดภูเก็ต ไม่สังกัดพรรคการเมือง (ต่อมาเข้าร่วมกับพรรคสหชีพ)[4]
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดภูเก็ต ไม่สังกัดพรรคการเมือง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต. วิทยา อาภรณ์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2560
  2. หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายชิต เวชประสิทธิ์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายชิต เวชประสิทธิ์ ณ เมรุวัดท่าเรือ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต วันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2536
  3. คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศรษฐบุตร จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๕, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔