พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)
พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[a] | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 | |
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) |
ก่อนหน้า | พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล) |
ถัดไป | เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[b] แบบประเภทที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2479 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กันยายน พ.ศ. 2431 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 11 มีนาคม พ.ศ. 2510 (78 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
ศาสตราจารย์ พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) เป็นอดีตอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นอดีตอธิบดีกรมอาลักษณ์ ผู้เคยทำงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในกรมราชเลขาธิการ
ประวัติ
[แก้]พระยานิติศาสตร์ไพศาล เป็นคนกรุงเทพฯ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2431[1] ที่บ้านเชิงสะพานยศเส อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร โดยมีชื่อเดิมว่า "วัน จามรมาน" เป็นบุตรของจมื่นเสนาสงคราม (ช้าง จามรมาน) กับนางพลอย เสนาสงคราม เขาได้เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดเทพธิดาราม แล้วไปต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดราชบุรณะ และไปจบชั้นมัธยมศึกษาพิเศษจากโรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษ (ที่ย้ายมาจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ในช่วงเวลานั้น)[2] ต่อมาได้เข้าไปเป็นนักเรียนล่ามของกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2451 จึงมีโอกาสเข้าเรียนโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2453 สอบได้เป็นเนติบัณฑิตชั้น 2 เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2454 ได้รับการคัดเลือกไปเรียนวิชากฎหมายต่อที่ประเทศอังกฤษ ที่สำนักกฎหมายเกรย์อินน์ จนเรียบจบกฎหมายจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2459 แล้วจึงกลับไทยมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2460[3] แล้วรับราชการเป็นผู้พิพากษาต่อมา
พระยานิติศาสตร์ไพศาล ขณะมีตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา ในปี พ.ศ. 2460 ก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอรรถกัลยาณวาทย์ ได้ปีเดียวก็ได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น “พระนิติศาสตร์ไพศาล” ได้เป็นกรรมการในศาลฎีกา ครั้นถึงปี พ.ศ. 2463 จึงย้ายงานจากทางด้านตุลาการมาอยู่ที่กรมราชเลขาธิการ มาเป็นเจ้ากรมกองการต่างประเทศ
ในเวลาอีก 3 ปีต่อมาได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาในราชทินนามเดิม ทำงานในกรมราชเลขาธิการ ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2470 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอาลักษณ์ จากนั้นอีก 3 ปี จึงย้ายกลับไปยังหน่วยงานเดิมที่กระทรวงยุติธรรม โดยในปี พ.ศ. 2474 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองท่านได้ขึ้นเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา และเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศในปีถัดมา
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ได้มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวชุดแรกขึ้นมาจำนวน 70 คน พระยานิติศาสตร์ฯ เป็นหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2[4]
พระยานิติศาสตร์ฯ เคยเป็นคณบดีคนแรก ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยเป็นประธานกรรมการธนาคารออมสิน (พ.ศ. 2490-2492)[5]
พระยานิติศาสตร์ฯ ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2510
ยศ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่ง
[แก้]- – อำมาตย์โท
- 29 พฤศจิกายน 2463 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ พระนิติศาสตร์ไพศาลย์[6]
- 18 ธันวาคม 2463 – เปลี่ยนเป็นเสวกโท[7]
- 2 มีนาคม 2467 – เรือตรีเสือป่า[8]
- – เสวกเอก
- – 7 พฤศจิกายน 2470 – มหาเสวกตรี[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2494 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[11]
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[12]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[13]
- พ.ศ. 2461 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[14]
- พ.ศ. 2476 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[15]
- พ.ศ. 2467 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[16]
- พ.ศ. 2470 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[17]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-05-04.
- ↑ นักเรียนหลวงเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
- ↑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
- ↑ ธนาคารออมสิน[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๔, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๕๖๕๔, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๘, ๒๑ เมษายน ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๑๓, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๒๑, ๒ ธันวาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๘๘, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๙๖, ๔ กันยายน ๒๔๗๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2431
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2510
- ศาสตราจารย์
- นักกฎหมายชาวไทย
- ผู้พิพากษาไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์