สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุดาวรรณ​ หวัง​ศุภกิจ​โกศล​
สุดาวรรณ ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 239 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าพิพัฒน์ รัชกิจประการ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2525 (41 ปี)[1]
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2566–ปัจจุบัน)
บุพการี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ลายมือชื่อ

สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2525) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

สุดาวรรณ หรือปุ๋ง เป็นบุตรสาวของ วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กับ นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เธอเป็นพี่สาวของ อาทิตย์ หวังศุภกิจโกศล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 จังหวัดนครราชสีมา เขต 11

สุดาวรรณ สำเร็จการศึกษาด้านเทคโนโลยีธรณี จากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

การทำงาน[แก้]

สุดาวรรณ เคยเป็น กรรมการผู้จัดการ บริษัท แป้งมันเอี่ยมเฮงอุตสาหกรรม จำกัด ก่อนที่จะเข้าสู่การเมือง จากนั้น เธอลงรับสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้ง ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 เธอได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยเป็นรัฐมนตรีอายุน้อยที่สุดในคณะรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน[2]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สุดาวรรณ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. "เปิดประวัติ 5 ว่าที่รัฐมนตรีหญิงสุดแกร่ง คุมกระทรวงสำคัญ ใน ครม.เศรษฐา 1". The Thaiger. 1 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2023.
  2. "เปิดประวัติ 10 รัฐมนตรีว่าการ 'กระทรวงเศรษฐกิจ' ใน 'ครม.เศรษฐา1'". bangkokbiznews. 2023-09-02.
ก่อนหน้า สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล ถัดไป
พิพัฒน์ รัชกิจประการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ