สุธี สิงห์เสน่ห์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สุธี สิงห์เสน่ห์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (0 ปี 56 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ถัดไป | พนัส สิมะเสถียร |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 (1 ปี 16 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | บรรหาร ศิลปอาชา |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 (1 ปี 363 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | อำนวย วีรวรรณ |
ถัดไป | ประมวล สภาวสุ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 |
เสียชีวิต | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (85 ปี) |
ศาสนา | คริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก |
คู่สมรส | คุณหญิงพยอม สิงห์เสน่ห์ |
ลายมือชื่อ | |
ศาตราจารย์ ดร.สุธี สิงห์เสน่ห์ (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อดีตคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และอดีตกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ประวัติ
[แก้]สุธี สิงห์เสน่ห์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาบัญชี (มหาวิทยาลัยอิลินอยส์ สหรัฐอเมริกา) และประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการบัญชี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) อีกทั้งผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.รุ่นที่ 11)
ดร.สุธี ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556 สิริอายุ 85 ปี โดยจัดพิธีมิสซาศพ ณ วัดพระมหาไถ่ ซอยร่วมฤดี และทำพิธีฝังที่สุสานศานติคาม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม[1]
การทำงาน
[แก้]สุธี สิงห์เสน่ห์ เคยรับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2509 - 2519 และหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มีคำสั่งแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ในระหว่างปี พ.ศ. 2519[2] - 2526
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2522[3] และในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2525 แทนนายไพจิตร เอื้อทวีกุล (ครม.42)[4] และได้รับแต่งตั้งอีกในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 43[5] กระทั่งในปี พ.ศ. 2529 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
สุธี สิงห์เสน่ห์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกครั้ง ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[6] ในปี พ.ศ. 2534 และอีกสมัยในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[7] จนถึงช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
หลังจากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[13]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ปิดฉากชีวิตขุนคลัง 3 สมัย"สุธี สิงห์เสน่ห์"". โพสต์ทูเดย์. 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๔๗/๒๕๑๙ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (นายไพจิตร เอื้อทวีกุล ลาออก และตั้ง นายสุธี สิงห์เสน่ห์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๒๙ กันยายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙๗, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑
ก่อนหน้า | สุธี สิงห์เสน่ห์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมหมาย ฮุนตระกูล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.44) (11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531) |
ประมวล สภาวสุ | ||
บรรหาร ศิลปอาชา | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.47 - 48) (6 มีนาคม พ.ศ. 2534 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535) |
พนัส สิมะเสถียร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2471
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2556
- คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา