ข้ามไปเนื้อหา

สนธยา คุณปลื้ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธยา คุณปลื้ม
สนธยา ในปี พ.ศ. 2564
นายกเมืองพัทยา
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน พ.ศ. 2561 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าพลตำรวจตรี อนันต์ เจริญชาศรี
ถัดไปปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุกุมล คุณปลื้ม
ถัดไปวีระ โรจน์พจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ถัดไปสมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอาทิตย์ อุไรรัตน์
ถัดไปพินิจ จารุสมบัติ
หัวหน้าพรรคพลังชล
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ก่อนหน้ารองศาสตราจารย์ เชาวน์ มณีวงษ์
ถัดไปรองศาสตราจารย์ เชาวน์ มณีวงษ์
เลขาธิการพรรคชาติไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2544 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547
ก่อนหน้าปองพล อดิเรกสาร
ถัดไปประภัตร โพธสุธน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (60 ปี)
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2527–2535 , 2535-2547)
สามัคคีธรรม (2535)
ไทยรักไทย (2547–2549)
พลังประชาชน (2549–2551)
เพื่อไทย (2551–2554, 2566–ปัจจุบัน)
พลังชล (2554–2562, 2565–2566)
พลังประชารัฐ (2561–2564)
คู่สมรสสุกุมล คุณปลื้ม
บุตร4
บุพการี

สนธยา คุณปลื้ม (เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2506) ชื่อเล่น แป๊ะ ประธานที่ปรึกษานายกเมืองพัทยา (ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์) อดีตนายกเมืองพัทยา อดีตหัวหน้าพรรคพลังชล อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนแรก อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ทักษิณ ชินวัตร)[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี หลายสมัย

ปัจจุบัน สนธยา ดำรงตำแหน่ง นายกราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สมาคมกีฬา) และนายกสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญศรีราชา

ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงการบริหารจัดการเมืองพัทยาในฐานะนายกเมืองพัทยา

ประวัติ

[แก้]

สนธยาเกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2506 มีชื่อเล่นว่า แป๊ะ เป็นบุตรของนายสมชาย และนางสติล คุณปลื้ม ที่ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม[2]

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสุกุมล คุณปลื้ม มีบุตรด้วยกัน 4 คน

งานการเมือง

[แก้]

สนธยาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคสามัคคีธรรม[3] (นำโดย นายณรงค์ วงศ์วรรณ) ในปี พ.ศ. 2535 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนา ได้รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายสนธยา ยังเป็นหนึ่งใน ส.ส.กลุ่ม 16[4]

ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2538 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคชาติไทย ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 จึงลงสมัครและเป็น ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทย[5] กระทั่งในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (คนแรก) ในปี พ.ศ. 2545 (ในโควตาของพรรคชาติไทย) ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[6]

สนธยา คุณปลื้ม ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[7] โดยสนธยา คุณปลื้ม ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย ตามลำดับ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 จึงได้ตัดสินใจยุติบทบาททางการเมืองร่วมกับพรรคภูมิใจไทย[8] และไปสนับสนุนการจัดตั้งพรรคพลังชลแทน[9] และเป็นแกนนำพรรคพลังชล

ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[10] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) สืบต่อจากนางสุกุมล ภรรยา ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 เขาได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคพลังชล ให้เป็นหัวหน้าพรรคพลังชล[11]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคพลังชล[12] แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ในปี พ.ศ. 2561 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามในคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 15/2561 แต่งตั้งให้สนธยา คุณปลื้ม ดำรงตำแหน่ง นายกเมืองพัทยา[13] โดยอยู่ในวาระจนกระทั่ง สนธยา ลาออกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565[14] หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศให้มีนายกเมืองพัทยา และสมาชิกเมืองพัทยาชุดใหม่[15]

ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 สนธยาพร้อมด้วยนางสุกุมล คุณปลื้ม ภรรยาได้เปิดตัวร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย พร้อมกับว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. จำนวน 10 คน[16]

งานด้านกีฬาและอื่น ๆ

[แก้]

สนธยา ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาจังหวัดชลบุรี เป็นประธานที่ปรึกษาสโมสรฟุตบอลชลบุรี[17] และเคยเป็นประธานสโมสรฟุตบอลศรีราชา[18]

สนธยา เคยเป็นอุปนายกราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[19][20] ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

รางวัลและเกียรติยศ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "มติครม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2018-05-21.
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535
  4. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  5. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  6. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  7. "บุญจง ยัน ภท.มีเอกภาพ ปัดสมคิด เป็นหัวหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16.
  8. ""คุณปลื้ม" ตั้งพรรคหนี "ยี้เนวิน" เป็นหัวหมาดีกว่าหางราชสีห์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-23. สืบค้นเมื่อ 2011-04-19.
  9. พลังชลเปิดตัวพรรคพร้อมผู้สมัคร8เขต
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  11. “สนธยา” นั่งหัวหน้าพรรคพลังชลตามคาด[ลิงก์เสีย]
  12. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคพลังชล)
  13. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๑ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารราชการเมืองพัทยา
  14. Bhattarada (2022-03-24). "สนธยา คุณปลื้ม ลาออกนายกพัทยา ย้ำยังเล่นการเมือง". ประชาชาติธุรกิจ.
  15. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา และนายกเมืองพัทยา
  16. "สนธยา" นำทัพ บ้านใหญ่ชลบุรี เข้าเพื่อไทย ไม่ห่วงถูกมองเป็นหนอนใน ครม.
  17. "อิเดมิตสึโดดหนุนฉลามชล3ปี100ล้าน-สนธยาลั่นต้องมีแชมป์ติดมือ". ข่าวสด. 22 Jan 2018. สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2018.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ศรีราชาประกาศฉีด 6 แสนหากชนะกิเลน รับต่อเนื่อง 2 ล้านถ้ารอดตาย". SMM Sport. 24 Jan 2012. สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2018.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  19. รายนามคณะกรรมการบริหารประจำปี 2553-2555 เก็บถาวร 2011-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สืบค้นเมื่อ 19 Sep 2011
  20. "บันทึกเทปถวายพระพรชัย". ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. 21 Aug 2018. สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  21. พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
ก่อนหน้า สนธยา คุณปลื้ม ถัดไป
อาทิตย์ อุไรรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
พินิจ จารุสมบัติ
(กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
สุกุมล คุณปลื้ม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
วีระ โรจน์พจนรัตน์