ข้ามไปเนื้อหา

ความถี่สูงมาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วีเอชเอฟ)
ความถี่สูงมาก
ช่วงความถี่
30 MHz ถึง 300 MHz
ช่วงความยาวคลื่น
10 ถึง 1 ม.
สายอากาศโทรทัศน์ความถี่สูงมาก (VHF) ใช้สำหรับรับสัญญาณโทรทัศน์ที่ออกอากาศ เสาอากาศทั้งหกนี้เป็นประเภทที่เรียกว่าเสาอากาศยากิ ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในย่าน VHF

ความถี่สูงมาก (อังกฤษ: Very high frequency: VHF) นิยมเรียกย่อว่า วีเอชเอฟ เป็นการกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)[1] สำหรับช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่วิทยุ (คลื่นวิทยุ) ตั้งแต่ 30 ถึง 300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) โดยมีความยาวคลื่นที่สอดคล้องกันตั้งแต่ 10 เมตรถึง 1 เมตร ความถี่ที่อยู่ต่ำกว่าความถี่สูงมาก จะเรียกว่าความถี่สูง (HF) และความถี่ที่สูงกว่าถัดไปเรียกว่าความถี่สูงยิ่ง (UHF) มักใช้ในการสื่อสารของวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์

วิทยุกระจายเสียง

[แก้]

การกระจายเสียงวิทยุในระบบวีเอชเอฟ ใช้ความถี่ส่งเดียวกับช่องความถี่ซึ่งใช้ส่งกระจายเสียงสำหรับวิทยุโทรทัศน์ โดยเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า FM ซึ่งย่อมาจาก Frequency Modulation แปลว่า การผสมคลื่นทางความถี่ สามารถใช้คู่ขนานกับเครื่องรับวิทยุในระบบเอเอ็ม และส่งกระจายเสียงได้ในช่วงความถี่ระหว่าง 87.5-108.0 เมกะเฮิรตซ์ และช่วงกำลังส่งระหว่าง 1-3 กิโลวัตต์

วิทยุโทรทัศน์

[แก้]

การแพร่สัญญาณออกอากาศภาพทางวิทยุโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟสามารถกำหนดช่องส่งสัญญาณแบบตายตัวได้ในช่วงระหว่างช่อง 1 - 12 (บางประเทศสามารถส่งได้ถึงช่อง 13 หรืออาจถึงช่อง 20) โดยมีความถี่ส่งอยู่ระหว่าง 30 - 300 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนกำลังส่งภาพและกำลังส่งเสียงอยู่ระว่าง 1-5 หรือ 6 กิโลวัตต์ สามารถกระจายคลื่นในทางตรงได้ในช่วงระหว่าง 10-100 เมตร

โดยในบางครั้งจะสามารถกระจายสัญญาณไปถึงอาคารสูง ภูเขา ชุมชน และพื้นดินภาคปกติได้ และยังใช้คู่ขนานไปกับคลื่นวิทยุความถี่สูงยิ่ง หรือ ยูเอชเอฟ ได้ แต่สามารถส่งสัญญาณได้เฉพาะโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกเท่านั้น แต่ไม่รองรับระบบดิจิทัล ซึ่งในการส่งสัญญาณนั้นอาจถูกหักเหหรือบดบังก่อนจะไปถึงที่หมายปลายทาง และกำลังส่งไม่กว้างเท่ากับระบบยูเอชเอฟ

การสื่อสารอื่น ๆ

[แก้]

คลื่นความถี่ระบบวีเอชเอฟสามารถใช้ส่งสัญญาณในระบบวิทยุการบิน วิทยุสมัครเล่น การส่งเครื่องเรดาร์ภาคพื้นดิน การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก และส่งแบบแนวตรง โดยไม่บดบังจากพื้นดินสู่อากาศและจากอากาศสู่อากาศ (Line-of-Sight) ได้

ลักษณะการขยายพันธุ์

[แก้]

คลื่นวิทยุ VHF เคลื่อนที่ไปตามเส้นสายตาและเส้นทางสะท้อนพื้นเป็นหลัก[2][3] ต่างจากย่านความถี่ HF ที่ความถี่ต่ำกว่าจะมีการสะท้อนจากบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์เพียงบางส่วนเท่านั้น (การแพร่กระจายของคลื่นท้องฟ้า)[4] พวกมันไม่เคลื่อนตามรูปร่างของโลกเหมือนคลื่นพื้นดิน และด้วยเหตุนี้จึงถูกเนินเขาและทิวเขากั้นไว้ แม้ว่าบรรยากาศจะหักเห (โค้งงอ) เล็กน้อย พวกมันจึงสามารถขยายออกไปบ้างเกินขอบฟ้าที่มองเห็นได้ประมาณ 160 กม (100 ไมล์) พวกเขาสามารถเจาะผนังอาคารและรับในอาคารได้ แม้ว่าในเขตเมืองแสงสะท้อนจากอาคารจะทำให้เกิดการแพร่กระจายหลายทาง ซึ่งอาจรบกวนการรับสัญญาณโทรทัศน์ได้ สัญญาณรบกวนและการรบกวนวิทยุในบรรยากาศ (RFI) จากอุปกรณ์ไฟฟ้าจะมีปัญหาน้อยกว่าในช่วงความถี่นี้และสูงกว่าความถี่ต่ำกว่า ย่านความถี่ VHF เป็นย่านความถี่แรกที่มีเสาอากาศส่งสัญญาณที่มีประสิทธิภาพมีขนาดเล็กพอที่จะติดตั้งบนยานพาหนะและอุปกรณ์พกพา ดังนั้นย่านความถี่นี้จึงใช้สำหรับระบบวิทยุเคลื่อนที่ภาคพื้นดินแบบสองทาง เช่น เครื่องส่งรับวิทยุ และสำหรับการสื่อสารทางวิทยุแบบสองทาง ด้วยเครื่องบิน (วงดนตรีทางอากาศ) และเรือ (วิทยุทางทะเล)[5][6][7] บางครั้ง ภายใต้สภาวะที่เอื้ออำนวย คลื่น VHF สามารถเดินทางในระยะทางไกลไปตามช่องโทรโพสเฟียร์ได้เนื่องจากการหักเหของแสงเนื่องจากการไล่ระดับของอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ ช่วง VHF มีตั้งแต่ช่วงความถี่ต่ำ (49-108 MHz) ไปจนถึงช่วงความถี่สูง (169-216 MHz)[8]

การคำนวณแนวสายตา

[แก้]

ระยะการส่งสัญญาณ VHF ขึ้นอยู่กับกำลังของเครื่องส่งสัญญาณ ความไวของตัวรับสัญญาณ และระยะห่างถึงขอบฟ้า เนื่องจากสัญญาณ VHF เดินทางเป็นปรากฏการณ์แนวเส้นสายตาภายใต้สภาวะปกติ ระยะห่างจากขอบฟ้าวิทยุจะมากกว่าเส้นเรขาคณิตของการมองเห็นถึงขอบฟ้าเล็กน้อย เนื่องจากบรรยากาศเบี่ยงเบนคลื่นวิทยุกลับมายังโลกได้เล็กน้อย[9]

การใช้ระบบในประเทศไทย

[แก้]

การใช้คลื่นความถี่ระบบวีเอชเอฟในประเทศไทย แบ่งเป็น การส่งวิทยุกระจายเสียง ด้วยระบบ FM Stereo Multiplex ในช่วงความถี่ระหว่าง 87.5-108.0 MHz และ การส่งวิทยุโทรทัศน์ ในช่วงความถี่ระหว่างช่องที่ 2-12 รวมทั้งสิ้น 11 ช่อง ออกอากาศโดยใช้กำลังส่งภาพระหว่าง 30-300 กิโลวัตต์, กำลังส่งเสียงระหว่าง 1-10 กิโลวัตต์, ความถี่ภาพระหว่าง 40-250 MHz และ ความถี่เสียงระหว่าง 40-260 MHz สำหรับในส่วนของการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์นั้น ได้ดำเนินการออกอากาศจนกระทั่งถึงกลางปี 2561 และปัจจุบันได้ยุติการออกอากาศโดยทั้งหมดแล้ว ซึ่งหลังจากนี้จะมีการปรับเปลี่ยนการใช้งานใหม่โดยให้ใช้กับการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงระบบดิจิทัล ซึ่งจะเริ่มใช้งานเฉพาะระหว่างช่องที่ 5-12 ความถี่ระหว่าง 175-212 MHz โดยจะเริ่มดำเนินการทดลองการออกอากาศในลักษณะใหม่หลังจากปี 2563 เป็นต้นไป

ประวัติ

[แก้]

การส่งกระจายเสียงวิทยุในระบบเอฟเอ็มครั้งแรก ดำเนินการโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์เมื่อปี พ.ศ. 2494[ต้องการอ้างอิง] ส่วนการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟครั้งแรก ดำเนินการโดยช่อง 4 บางขุนพรหม ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยออกอากาศทางช่อง 4 ระบบขาวดำ และการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์สีในระบบวีเอชเอฟครั้งแรก ดำเนินการโดยสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกรมการทหารสื่อสาร กองทัพบกเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยออกอากาศทางช่อง 7 ในย่านความถี่สูง ทั้งนี้การแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ในระบบดังกล่าวได้ดำเนินการออกอากาศมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสิ้นสุดการออกอากาศอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยมีสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ซึ่งมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นช่อง 4 บางขุนพรหม) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งสุดท้ายที่ยุติการออกอากาศในระบบวีเอชเอฟ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Rec. ITU-R V.431-7, Nomenclature of the frequency and wavelength bands used in telecommunications" (PDF). ITU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 October 2013. สืบค้นเมื่อ 20 February 2013.
  2. "Propagation of Radio Waves". vigyanprasar.gov.in. สืบค้นเมื่อ 2024-01-27.
  3. "WHAT IS VHF PROPAGATION?". www.trentonsocial.com. สืบค้นเมื่อ 2024-01-27.
  4. "Introduction to RF Propagation". books.google.com. สืบค้นเมื่อ 2024-01-27.
  5. "A new wideband modified biquad antenna at VHF for communication systems". ieeexplore.ieee.org. สืบค้นเมื่อ 2024-01-27.
  6. "What Is the Difference between a UHF and a VHF Antenna?". longrangesignal.com. สืบค้นเมื่อ 2024-01-27.
  7. "Very high frequency". www.chemeurope.com. สืบค้นเมื่อ 2024-01-27.
  8. "All You Need to Know About the Difference Between VHF vs UHF". firstsourcewireless.com. สืบค้นเมื่อ 2024-01-27.
  9. "Radio Wave Propagation Theory" (PDF). imdpune.gov.in. สืบค้นเมื่อ 2024-01-27.