ชาติชาย พุคยาภรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาติชาย พุคยาภรณ์
ป.ม., ท.ช.
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้า ธีระชัย แสนแก้ว
สมพัฒน์ แก้วพิจิตร
ถัดไป ศุภชัย โพธิ์สุ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2507 (58 ปี)
พรรค ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (2554-ปัจจุบัน)
ภูมิใจไทย (? - 2554)
ไทยรักไทย (? - ?)
ประชาธิปัตย์ (? - ?)
คู่สมรส นางอลิสา พุคยาภรณ์
ศาสนา พุทธ

นายชาติชาย พุคยาภรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ อดีตรองเลขาธิการ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นทายาทผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม

ประวัติ[แก้]

นายชาติชาย เกิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรของ ดร.สุข พุคยาภรณ์ อดีตนักการเมืองสังกัดพรรคชาติไทย และนางมาลินี พุคยาภรณ์ และเป็นน้องชายของ ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม

งานการเมือง[แก้]

ชาติชาย พุคยาภรณ์ เป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย เมื่อปี พ.ศ. 2548 เคยเป็นผู้ช่วยนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และเคยเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยต่อจากนางนฤมล ศิริวัฒน์

ชาติชาย พุคยาภรณ์ เป็นนักการเมืองระดับนายทุนของกลุ่มเพื่อนเนวิน โดยประสานกับกลุ่มสรอรรถ กลิ่นประทุม และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการสนับสนุนจากนายสรอรรถ กลิ่นประทุม รวมทั้งนายชาติชายพบว่ายังมีความมักคุ้นกับนายเนวิน ชิดชอบ จนก่อนหน้านี้นายเนวินเคยผลักดันผ่านนายสุพล ฟองงาม อดีต รมช.มหาดไทย สังกัดกลุ่มเพื่อนเนวิน ตั้งนายชาติชายให้เข้าไปเป็นบอร์ดการประปาส่วนภูมิภาค ชุดเดียวกับ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ อดีต รมว.มหาดไทย

นายชาติชาย พุคยาภรณ์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [1] ในการร่วมรัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ พ.ศ. 2551 และลาออกเพื่อหลีกทางให้นายศุภชัย โพธิ์สุ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552[2][3] ต่อมาจึงย้ายมาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน[4][5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
  2. “ชาติชาย” ยอมทิ้งเก้าอี้ รมช.เกษตรฯ-“มาร์ค” ได้ชื่อคนแทน อุบเป็นใคร
  3. "ภูมิใจไทย"อัดรัฐบาลแก้ปัญหาสีไม่สนใจศก.
  4. "รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ชพน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-05. สืบค้นเมื่อ 2021-11-05.
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2551