บุญลือ ประเสริฐโสภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญลือ ประเสริฐโสภา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าวรากรณ์ สามโกเศศ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มีนาคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)
อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองภูมิใจไทย

บุญลือ ประเสริฐโสภา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[1] และเป็นประธานคณะกรรมาธิการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร[2] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช

ประวัติ[แก้]

บุญลือ ประเสริฐโสภา เกิดเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2511 บุตรชายนายบุญชู และนางสนิท ประเสริฐโสภา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม และปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทรัพยากร) จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบัน กำลังศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๖๔ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย

ประวัติการทำงาน[แก้]

บุญลือ เคยทำงานเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวสด[3] และหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ก่อนจะเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี และเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี (2 วาระ)

บุญลือ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรีครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย และต่อมาเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบ จึงย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 เขาถูกจำกัดสิทธิห้ามมิให้ลงสมัครรับเลือกตั้งจากศาลรัฐธรรมนูญเนื่องจากเกิดคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 ซึ่งนายบุญลือมีตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบ จึงถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[4]

ในปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคภูมิใจไทย

บุญลือเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 'ภูมิใจไทย' เคาะแล้ว 'กรรมการบริหารพรรค' ชุดใหม่
  2. เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
  3. “เราก็เป็นนักการเมืองอาชีพ เราก็อดทน ทนดูว่า บ้านเมืองจะเดินไปยังไง”
  4. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑