ข้ามไปเนื้อหา

พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล
(ชิต สุนทรวร)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
ก่อนหน้าตนเอง
(ในฐานะเสนาบดี)
ถัดไปพระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
29 มิถุนายน – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ถัดไปตนเอง
(ในฐานะรัฐมนตรี)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มกราคม พ.ศ. 2428
เสียชีวิต2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476[1]
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงเลื่อน จ่าแสนยบดี
บุตรพิพิธ เศรษฐบุตร

มหาอำมาตย์ตรี พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย

ครอบครัว

[แก้]

พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) สมรสกับคุณหญิงเลื่อน จ่าแสนยบดี มีธิดาคือพิพิธ เศรษฐบุตร สมรสกับจิ๊ด เศรษฐบุตร[2] — 19 มกราคม 2538[2]

การทำงาน

[แก้]

พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) ได้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

  • 13 กรกฎาคม 2446 – ปลัดอำเภอรอบกรุง[3]
  • 31 ธันวาคม 2446 – รักษาราชการแทนปลัดเมืองนครนายก[4]
  • 18 มิถุนายน 2449 – ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลปราจิณบุรี[5]
  • 2 กรกฎาคม 2450 – ยกระบัตรมณฑลปราจิณบุรี[6]
  • 15 พฤษภาคม 2455 – ปลัดมณฑลปราจิณบุรี[7]
  • 2457 – ยกระบัตรมณฑลปราจิณบุรี (ไม่ปรากฏหลักฐาน)
  • 8 มิถุนายน 2458 – ผู้ว่าราชการเมืองฉะเชิงเทรา[8]
  • 2459 – ที่ปรึกษากฎหมายกรมตำรวจพระนครบาล (ไม่ปรากฏหลักฐาน)
  • 2462 – ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงนครบาล
  • 17 พฤศจิกายน 2465 – ผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[9]
  • 27 กุมภาพันธ์ 2468 – อธิบดีกรมพลำภังค์[10]
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมัยที่ 1 (10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 1 เมษายน พ.ศ. 2476)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมัยที่ 2 (1 เมษายน พ.ศ. 2476 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476)

ยศและบรรดาศักดิ์

[แก้]

ยศพลเรือน

[แก้]
  • 20 สิงหาคม 2454 – อำมาตย์เอก[11]
  • 19 ธันวาคม 2460 – มหาอำมาตย์ตรี[12]

ยศเสือป่า

[แก้]
  • 28 กันยายน 2454 – นายหมู่ตรี[13]
  • – นายหมู่โท
  • 6 ธันวาคม 2455 – นายหมู่เอก[14]
  • 29 กันยายน 2458 – นายหมู่ใหญ่[15]
  • 9 กันยายน 2459 – นายหมวดโท[16]

บรรดาศักดิ์

[แก้]
  • 13 กรกฎาคม 2446 – รับประทวนบรรดาศักดิ์เป็น ขุนประสาทนรกิจ ถือศักดินา 600[3]
  • 11 ตุลาคม 2447 – หลวงอร่ามรณชิต ปลัดเมืองนครนายก ถือศักดินา 1000[17]
  • 10 ตุลาคม 2448 – หลวงบุพราษฎร์อำรุง ปลัดเมืองปราจิณบุรี คงถือศักดินา 1000[18]
  • 17 พฤษภาคม 2454 – พระสุนทรพิพิธ ถือศักดินา 1600[19]
  • 9 กันยายน 2458 – พระยาสุนทรพิพิธ ถือศักดินา 3000[20]
  • 9 ตุลาคม 2459 – เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย[21]
  • 20 ธันวาคม 2462 – พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง คงถือศักดินา 3000[22]
  • 2465 – พระยาศรีสหเทพ
  • 1 มกราคม 2465 – เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[23]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพพระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรณธนากร, พิมพ์ครั้งที่ 1;พ.ศ. 2476, 285 หน้า
  2. 2.0 2.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร (กรกฎาคม 2554). ดาราพร ถิระวัฒน์ (บ.ก.). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 6. ISBN 9789744665577.
  3. 3.0 3.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทำประทวนตั้งข้าราชการมณฑลราชบุรี มณฑลกรุง รวม 5 นาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 กรกฎาคม 1903.
  4. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ขุนประสาทนรกิจเป็นผู้รั้งตำแหน่งปลัดเมืองนครนายก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 มกราคม 1903.
  5. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 มิถุนายน 1906.
  6. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 7 กรกฎาคม 1907.
  7. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนและย้ายตำแหน่งหน้าที่ราชการหัวเมืองมณฑลต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 พฤษภาคม 1912.
  8. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เลื่อนและย้ายตำแหน่งหน้าที่ราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 มิถุนายน 1915.
  9. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและย้ายตำแหน่งหน้าที่ราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 พฤศจิกายน 1923.
  10. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งอธิบดีกรมพลำภังค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 7 มีนาคม 1925.
  11. "ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 976. 20 สิงหาคม 1911.
  12. "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 2755. 30 ธันวาคม 1917.
  13. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  14. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  15. พระราชทานยศเสือป่า
  16. พระราชทานยศเสือป่า
  17. "พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 ตุลาคม 1904.
  18. "พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 ตุลาคม 1905.
  19. "ตั้งตำแหน่งยศขุนนาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 294. 21 พฤษภาคม 1911.
  20. "พระราชทานตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 กันยายน 1915.
  21. "รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 ตุลาคม 1916.
  22. "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 มกราคม 1919.
  23. "รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3428. 25 กุมภาพันธ์ 1922.
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๓๐, ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๖, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๕, ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐
  28. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖๕, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๒, ๑๖ มิถุนายน ๒๔๗๒