เจี่ย ก๊กผล
เจี่ย ก๊กผล ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 |
เสียชีวิต | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (73 ปี) จังหวัดเชียงใหม่ |
พรรคการเมือง | กิจสังคม มวลชน ความหวังใหม่ ไทยรักไทย |
นายเจี่ย ก๊กผล (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2479-24 ธันวาคม พ.ศ. 2551) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร หลายสมัย
ประวัติ[แก้]
เจี่ย ก๊กผล เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เป็นบุตรของนายรั้ว และนางอู๋ ก๊กผล มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดสมุทรสาคร และระดับปริญญาตรีจากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา[1] สมรสกับนางอรวรรณ มีบุตรคือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักไทย
นายเจี่ย ก๊กผล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวัย 73 ปี[2]
งานการเมือง[แก้]
ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาครเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมารวม 4 สมัย ในระหว่างนี้ได้เข้าดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เลขานุการ รมว.กระทรวงพาณิชย์ และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีตามลำดับ[3] รวมทั้งยังได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคกิจสังคมด้วย
พ.ศ. 2533 นายเจี่ยได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[4] แต่ในการเลือกตั้งสองครั้งถัดมา นายเจี่ยกลับต้องเสียที่นั่งให้แก่นายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ จากพรรคความหวังใหม่[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก สุจินดา คราประยูร)[6]
ในปี พ.ศ. 2538 นายเจี่ย ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคมวลชน ต่อมา พ.ศ. 2539 ย้ายไปสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนาวาตรีสุธรรม ระหงษ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากนั้นจึงวางมือทางการเมือง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
เจี่ย ก๊กผล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคมวลชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคความหวังใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2538 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2533 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 นายเจี่ย ก๊กผล จังหวัดสมุทรสาคร-บุคคลสำคัญ, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ เจี่ย ก๊กผล อดีตส.ส.สมุทรสาคร หัวใจวายเสียชีวิต
- ↑ ประวัติย่อ นายเจี่ย ก๊กผล
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ ย้อนรอยศึกสองตระกูลการเมืองมหาชัย ‘ไกรวัตนุสสรณ์-ทับสุวรรณ’
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 88/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ข้าราชการการเมืองในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายเจี่ย ก๊กผล), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551
- บุคคลจากจังหวัดสมุทรสาคร
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร
- พรรคกิจสังคม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคมวลชน
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคไทยรักไทย
- บุคคลจาก กศน.
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.