พ.ศ. 2450
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
พุทธศักราช 2450 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1907 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน
(ตามการนับศักราชแบบเดิม พ.ศ. 2450 เริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายน)
ผู้นำ[แก้]
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
เหตุการณ์[แก้]
- 29 กรกฎาคม – คณะลูกเสือ จัดค่ายขึ้นครั้งแรกบนเกาะบราวน์ซี เทศมณฑลดอร์ซิต, อังกฤษ
- 29 สิงหาคม – สะพานควิเบกในประเทศแคนาดาถล่มระหว่างการก่อสร้าง ทำให้คนงาน 75 คน เสียชีวิต
- 26 กันยายน – นิวฟันด์แลนด์และนิวซีแลนด์ กลายเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ
- 13 พฤศจิกายน - รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสจังหวัดตราด ในโอกาสที่ได้กลับคืนสู่พระราชอาณาเขตอีกครั้ง
- 8 ธันวาคม - สยามส่งพล ต. หม่อมชาติเดชอุดมเป็นตัวแทนไปประชุมลงนามในสนธิสัญญากรุงเฮกเรื่องสงคราม
- 4 กุมภาพันธ์ - ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์
- 6 กุมภาพันธ์ – วันสถาปนากรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
ไม่ทราบวัน[แก้]
- ค้นพบ ธาตุลูทีเชียม
วันเกิด[แก้]
- 12 พฤษภาคม – แคทารีน เฮพเบิร์น นักแสดงชาวอเมริกัน (เสียชีวิต พ.ศ. 2546)
- 15 พฤษภาคม – โชติ แพร่พันธุ์ (นามปากกา ยาขอบ) นักประพันธ์ (เสียชีวิต 5 เมษายน พ.ศ. 2499)
- 10 มิถุนายน – มนัส จรรยงค์ นักประพันธ์ (ถึงแก่กรรม 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508)
- 13 พฤศจิกายน - โจวันนาแห่งอิตาลี สมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรีย (สวรรคต 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543)
วันถึงแก่กรรม[แก้]
- 23 กันยายน - พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ พ.ศ. 2399)
- 1 ธันวาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2371)
- 17 ธันวาคม – ลอร์ด เคลวิน นักฟิสิกส์ (เกิด พ.ศ. 2367)
- 8 ธันวาคม - สมเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน (ราชสมภพ 21 มกราคม พ.ศ. 2372)
รางวัล[แก้]
รางวัลโนเบล[แก้]
- สาขาเคมี – Eduard Buchner
- สาขาวรรณกรรม – รัดยาร์ด คิปลิง
- สาขาสันติภาพ – เออร์เนสโต เตโอโดโร โมเนตา, หลุยส์ เรอโนล์
- สาขาฟิสิกส์ – อัลเบิร์ต อับราฮาม ไมเคิลสัน
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ชาร์ลส์ หลุยส์ อัลฟงซ์ ลาฟรอง
![]() |
บทความนี้เกี่ยวกับ ปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ ที่กำลังรอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ |