เศรษฐา ทวีสิน
เศรษฐา ทวีสิน | |
---|---|
เศรษฐา ใน พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 30 | |
ดำรงตำแหน่ง 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[1] – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 358 วัน)[2] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รอง | |
ก่อนหน้า | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ถัดไป | ภูมิธรรม เวชยชัย (รักษาการ) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 239 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
รัฐมนตรีช่วย | กฤษฎา จีนะวิจารณะ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ |
ก่อนหน้า | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ |
ถัดไป | พิชัย ชุณหวชิร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2565–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พักตร์พิไล ปลัดรักษา (สมรส 2532) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ที่อยู่อาศัย | ทำเนียบรัฐบาล บ้านพิษณุโลก |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาแคลร์มอนต์ |
อาชีพ |
|
ทรัพย์สินสุทธิ | 659.39 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[3] |
ลายมือชื่อ | |
เศรษฐา ทวีสิน ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น นิด เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 30 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ภายหลังได้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เศรษฐาในฐานะบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถัดจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เขาได้รับการศึกษาในสหรัฐ ต่อมาเขาร่วมก่อตั้ง บมจ.แสนสิริ ใน พ.ศ. 2531 ซึ่งต่อมากลายเป็นธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย และทำให้เขาเป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ทรงอิทธิพล ในฐานะประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทดังกล่าว ก่อนลาออกเพื่อเข้าสู่เส้นทางการเมือง[4] เขาเป็นคนสนิทของทั้งทักษิณ ชินวัตร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้รับการแต่งตั้งจากพรรคเพื่อไทยให้ทำหน้าที่เป็นประธานที่ปรึกษาของแพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวคนเล็กของทักษิณ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อีกทั้งเป็นหนึ่งในสามแคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 ร่วมกับแพทองธาร และชัยเกษม นิติสิริ อดีตอัยการสูงสุด[5]
หลังพรรคก้าวไกลไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ และมอบสิทธิ์ดังกล่าวให้พรรคเพื่อไทย ทางพรรคได้รวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล และเสนอชื่อเขาให้รัฐสภาพิจารณา เขาได้รับการลงมติเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาตามเกณฑ์ที่กำหนด และต่อมาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นเขาพบหารือกับทั้งนักธุรกิจจากบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่ และว่าที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งเขาควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย เพื่อดำเนินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทตามที่ได้หาเสียงไว้ โดยเขาเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายของโครงการนี้
ปฐมวัยและการศึกษา
เศรษฐา ทวีสิน เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ที่จังหวัดพระนคร โดยเติบโตในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย[6] เขาเป็นบุตรเพียงคนเดียวของร้อยเอก อำนวย ทวีสิน[7] และชดช้อย ทวีสิน (สกุลเดิม จูตระกูล)[7][8][9][10] โดยบิดาเสียชีวิตตั้งแต่เขาอายุสามขวบ[11] ครอบครัวฝั่งบิดามีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนและเวียดนามจากต้นตระกูลคือ เซ็ก แซ่กอ กับนางหว่าง[12] ส่วนครอบครัวฝั่งยายสืบมาจากเลนำคิน ชาวจีนแคะจากประเทศอินโดนีเซีย ที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย[11]
เขามีศักดิ์เป็นหลานอาของคุณหญิงพิมพา สุนทรางกูร ภริยาของพลเอก ประจวบ สุนทรางกูร อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[11] ส่วนสายสกุลทางมารดาเกี่ยวข้องกับตระกูลนักธุรกิจไทยเชื้อสายจีน 5 ตระกูล ได้แก่ ยิบอินซอย, จักกะพาก, จูตระกูล, ล่ำซำ และบุรณศิริ[7][10][13]
เขาสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร[14] ปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์[15] และปริญญาโท สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาแคลร์มอนต์ (Claremont Graduate University) ในสหรัฐ[16]
การทำงาน
หลังจากสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2529 เขาเดินทางกลับมาทำงานที่ประเทศไทยในฐานะผู้ช่วยผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (Procter & Gamble) เป็นระยะเวลา 4 ปี[5][17] ต่อมาเขาร่วมกับอภิชาติ จูตระกูล และวันจักร์ บุรณศิริ ซึ่งทั้งสามเป็นลูกพี่ลูกน้องกันผ่านสายสกุลฝั่งมารดา[7][18] ก่อตั้งแสนสิริใน พ.ศ. 2531 ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[19] โดยภาระหน้าที่ส่วนใหญ่ของเขาประกอบด้วยการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์, การบริหาร และการขับเคลื่อนธุรกิจที่กำลังเติบโตตามแผนของคณะกรรมการบริหารบริษัท
ใน พ.ศ. 2563 เขาซื้อที่ดินที่แพงที่สุด ราคา 3.9 ล้านบาทต่อตารางวา บนถนนสารสินติดกับสวนลุมพินี ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งอาคารสำนักงานของ บมจ. ที ไลฟ์ ประกันชีวิต[20][21] ด้วยการบริหารจัดการของเขา แสนสิริยังคงสามารถเติบโตได้แม้จะอยู่ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19[22] และก่อนได้รับการเสนอในบัญชีรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้โอนหุ้นทั้งหมดในแสนสิริ คิดเป็นสัดส่วน 4.4% ของทุนจดทะเบียนบริษัทในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566 ให้กับชนัญดา ทวีสิน ผู้เป็นบุตรสาวของเขา[23]
งานการเมือง
ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขาได้ต่อต้านการเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส. จนกระทั่งภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งนำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียกให้เข้ารายงานตัวที่หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์[24] หลังจากนั้น เมื่อเกิดการระบาดทั่วของโควิด-19 และการประท้วงซึ่งนำโดยกลุ่มเยาวชน เศรษฐาได้วิจารณ์การบริหารสถานการณ์ดังกล่าวของรัฐบาลซึ่งมีประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น[25]
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยได้แต่งตั้งให้เขาเป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย โดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือดำเนินการตามที่แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยมอบหมาย[26]
การเลือกตั้ง สส. เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสามบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (แคนดิเดต) ของพรรคเพื่อไทยในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2566[27][28] เขามักได้รับความนิยมตามหลังแพทองธารในผลสำรวจบุคคลที่สนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาเริ่มหาเสียงจากเขตคลองเตยในกรุงเทพมหานคร และกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกที่จังหวัดพิจิตร ต้นเดือนเมษายน เขาประกาศว่าหากตนเป็นนายกรัฐมนตรี จะดำเนินโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้กับประชาชนสัญชาติไทยอายุ 16 ปีขึ้นไปทุกคน[29] กลางเดือนเดียวกัน เขากล่าวที่จังหวัดเลยว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติ เพราะเป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่มีส่วนร่วมในการรัฐประหาร พ.ศ. 2557[24]
หลังการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม พรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนเสียงเป็นลำดับที่สองตามหลังพรรคก้าวไกล และเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกลร่วมกับอีก 6 พรรค โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน[30] ในช่วงเวลาดังกล่าวเศรษฐาสนับสนุนพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลมาโดยตลอด[31][32] อย่างไรก็ดี ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีครั้งแรกของที่ประชุมร่วมรัฐสภา (ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พิธาได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กำหนด[33] ต่อมาในวันที่ 19 กรกฎาคม รัฐสภามีมติห้ามเสนอชื่อพิธาซ้ำในสมัยประชุมเดียวกัน ส่งผลให้พรรคก้าวไกลมอบสิทธิ์การเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลให้พรรคเพื่อไทย โดยพรรคเพื่อไทยได้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าว ต่อมาพรรคภูมิใจไทยเข้าร่วมรัฐบาลในวันที่ 7 สิงหาคม
ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตีตกคำร้องจากผู้ตรวจการแผ่นดินให้สืบสวนการขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญของมติรัฐสภาที่ห้ามไม่ให้เสนอชื่อพิธาอีกครั้ง ทำให้พรรคเพื่อไทยมีมติเสนอชื่อเศรษฐาให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[34][35] หลังจากนั้นพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติก็เข้าร่วมรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยเช่นกัน แม้จะขัดกับสัญญาที่ให้ไว้ก่อนการเลือกตั้ง แต่เศรษฐากล่าวว่ามีความจำเป็น[36][37][38]
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีรอบที่ 3 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อ เศรษฐา ทวีสิน ให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเขาได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบ 482 เสียง จากจำนวนสมาชิกที่ลงคะแนนทั้งหมด 728 คน ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ[39] ส่งผลให้เศรษฐาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 30[40] และคะแนนเห็นชอบส่วนหนึ่งในครั้งนี้มาจากอดีตสมาชิกของคณะรัฐประหารที่เคยมีส่วนร่วมในการรัฐประหารรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยทั้ง 2 ครั้ง คือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ อาทิ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อาทิ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา, พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว, พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร, พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง เป็นต้น[41] เศรษฐาจึงเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกคณะรัฐประหารทั้ง 2 คณะข้างต้น
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย แทนที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[42][43] โดยมีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการในช่วงเย็นของวันถัดมา ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย[44] ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม เศรษฐาได้เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ทำเนียบรัฐบาล[45] นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ที่นายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ เข้าพบนายกรัฐมนตรีผู้ปฏิบัติหน้าที่ในรัฐบาลรักษาการ[46] วันต่อมาเขาลงพื้นที่ครั้งแรกหลังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่จังหวัดภูเก็ตและต่อไปยังจังหวัดพังงาในวันรุ่งขึ้น[47] ทั้งนี้ การเดินทางดังกล่าวเป็นไปในนามพรรคเพื่อไทย[48]
ต่อมาเขาได้พบกับนักธุรกิจชั้นนำ ได้แก่ วิชิต สุรพงษ์ชัย กับ อาทิตย์ นันทวิทยา จากธนาคารไทยพาณิชย์, ฐาปน สิริวัฒนภักดี จากไทยเบฟเวอเรจ, ศุภชัย เจียรวนนท์ จากเครือเจริญโภคภัณฑ์, ปลิว ตรีวิศวเวทย์ จาก ช.การช่าง, อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา จากคิง เพาเวอร์, จรีพร จารุกรสกุล จากดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น รวมถึงสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย[49] ถัดมาเขาได้พบกับสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ และหม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร บุคลากรในทีมเศรษฐกิจของพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งมีกระแสข่าวว่าจะได้โควต้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หลังการหารือดังกล่าว เศรษฐาประกาศว่าจะลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมันดีเซลทันทีหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก[50]
ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยเศรษฐาควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[51] สองวันต่อมาเขาพร้อมด้วย ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ว่าที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ว่าที่ผู้บัญชาการทหารบก และพลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ว่าที่ผู้บัญชาการทหารเรือ ณ โรงแรมโรสวู้ด กรุงเทพ ถนนเพลินจิต[52] วันถัดจากนั้นเขากล่าวว่าตนกับพลเอกทรงวิทย์จะเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในช่วงกลางเดือนกันยายน เนื่องจากมีประเด็นการเจรจาด้านความมั่นคงกับสหรัฐ[53]
เศรษฐาได้นำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมจำนวน 33 คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ในช่วงบ่ายของวันที่ 5 กันยายน[54] หลังจากนั้นเขากล่าวว่ารัฐบาลจะฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และจะสร้างความเท่าเทียมเพื่อเปลี่ยนไทยสู่ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในอนาคต[55] ในวันรุ่งขึ้นเขาได้นัดประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ[56] อีกทั้งมีการเผยแพร่คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแก่สื่อมวลชน[57]
เขาลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2566[58] ก่อนแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในอีก 4 วันถัดจากนั้น[55] ภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายซึ่งใช้เวลา 2 วัน (11 และ 12 กันยายน) คณะรัฐมนตรีจึงประชุมอย่างเป็นทางการนัดแรกในวันรุ่งขึ้น (13 กันยายน) โดยเขาได้แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โดยมีตนเองเป็นประธานกรรมการ, แพทองธาร ชินวัตร เป็นรองประธานกรรมการ และมีกรรมการอื่น เช่น ชฎาทิพ จูตระกูล, พิมล ศรีวิกรม์, หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล, ดวงฤทธิ์ บุนนาค ,เสริมคุณ คุณาวงศ์,วิเชียร ฤกษ์ไพศาล เป็นต้น โดยมีนายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นกรรมการและเลขานุการ[59] เขายังแต่งตั้งนลินี ทวีสิน เป็นผู้แทนการค้าไทยอีกด้วย[60] 2 วันถัดมา (15 กันยายน) เขาได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โดยมีกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานที่ปรึกษา[61]
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการอีก 2 ชุด คือ คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท[62] และคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยตนเองเป็นประธานกรรมการทั้ง 2 ชุด[63] ในวันเดียวกันเกิดเหตุกราดยิงที่สยามพารากอน เขาสั่งการให้พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะทำงาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ และรายงานความคืบหน้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ทราบเป็นระยะ[64] ภายหลังเหตุการณ์สงบลง เขาได้กล่าวแสดงความเสียใจและให้กำลังใจแก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ[65] อีกทั้งได้เข้าตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ[66] และเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บ[67] ในช่วงค่ำวันเดียวกัน วันต่อมาในพิธีเปิดโซนเอสซีบี เอกซ์ เน็กซ์ เทค ในอาคารดังกล่าว เขากล่าวว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์กราดยิงเช่นนี้อีก และว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการป้องกันและความปลอดภัยของประชาชน[68] อีกทั้งกล่าวว่ามีกำหนดเดินทางไปพบเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อรายงานเหตุการณ์และขอโทษด้วยตนเอง[69]
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐเพื่อดำเนินงานต่อเนื่องจากสมัยรัฐบาลประยุทธ์ โดยเศรษฐาเป็นรองประธานกรรมการในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[70]
ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ซึ่งเศรษฐาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในฐานะนายกรัฐมนตรี ให้เขาพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยพิชัย ชุณหวชิร มารับตำแหน่งแทน[71]อนึ่งลายมือชื่อในธนบัตรไทยของนายเศรษฐาแตกต่างจากลายมือชื่อในหนังสือราชการอย่างสิ้นเชิง
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยถอดถอนเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีทูลเกล้าฯ แต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง ๆ ที่พิชิตเป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี [72]
ข้อวิจารณ์
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ยื่นกล่าวโทษเศรษฐาต่อพลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้สืบสวนการซื้อที่ดินของเศรษฐาเมื่อปี พ.ศ. 2563 ซึ่งชูวิทย์อ้างว่าเศรษฐาและแสนสิริมีพฤติการณ์หลบเลี่ยงภาษี[73] ต่อมาอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ออกแถลงการณ์ชี้แจง โดยระบุว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงดังกล่าวระหว่างแสนสิริกับผู้ขาย กำหนดให้ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด ประกอบกับเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของผู้ขายในการเสียภาษีอากรข้างต้นด้วย หลังจากนั้นเศรษฐาได้ยื่นฟ้องร้องชูวิทย์ในข้อหาหมิ่นประมาทและเรียกร้องค่าเสียหายจำนวน 500 ล้านบาท[74]
หลังการลงมติรัฐสภาเสียงข้างมากรับรองการเป็นนายกรัฐมนตรีของเศรษฐา เขาถูกวิจารณ์โดยสมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้สนับสนุนและลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย รวมถึงคาดหวังให้เศรษฐาดำรงตำแหน่งในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ว่าเศรษฐาได้มาซึ่งตำแหน่งจากการ "ถอนตัวจากพรรคฝ่ายประชาธิปไตยแล้วไปจับมือกับพรรคสืบทอดอำนาจ"[75]
ในห้วงการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566 ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกลและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค วิจารณ์คำแถลงนโยบายของรัฐบาลเศรษฐาว่าคลุมเครือและไม่มีเป้าหมายหรือกรอบเวลา ศิริกัญญากล่าวว่า "คำแถลงนโยบายนี้ก็ไม่แตกต่างไปจากเอกสารที่ออกมาก่อนหน้า ไม่ได้บอกอะไร มีแค่คำพูดกว้าง ๆ ไม่มีตัวชี้วัดและมีแต่คำขยายเต็มไปหมด ถ้าบอกว่านี่คือจีพีเอส ประเทศก็คงหลงทาง ว่างเปล่า"[76][77][78]
ชีวิตส่วนตัว
ชีวิตของเศรษฐาในช่วงวัยเด็กมักป่วยบ่อย และตรวจพบว่าไตข้างหนึ่งไม่แข็งแรง จึงต้องผ่าตัดเอาไตข้างดังกล่าวออก ด้วยเหตุนี้จึงเน้นรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เขามักรับประทานผักก่อนอาหารจานหลักเสมอ[79] เขาเคยให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าตนมีบุคลิกขึงขัง จริงจัง แต่มีความประนีประนอม[80]
ในวันที่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขามีส่วนสูง 192 เซนติเมตร เป็นผู้นำรัฐบาลในกลุ่มอาเซียนที่มีความสูงมากที่สุดในประเทศไทย และสูงเป็นอันดับสามของโลก รองจากเอดี รามา นายกรัฐมนตรีแอลเบเนีย และอาเล็กซานดาร์ วูชิช ประธานาธิบดีเซอร์เบีย[81]
เขาสมรสกับแพทย์หญิงพักตร์พิไล (สกุลเดิม: ปลัดรักษา) มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นชาย 2 คน และหญิง 1 คน เขายังเป็นหนึ่งในกลุ่มแฟนคลับของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล[82] โดยในนัดชิงชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเมื่อปี พ.ศ. 2561 เศรษฐาได้จองแพกเกจวีไอพีและร่วมฉลองแชมป์กับลิเวอร์พูลที่โรงแรมในกรุงเคียฟด้วย[83] นอกจากนี้เขายังชอบสะสมกระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่ และเคยมีการจัดแสดงคอลเลกชันดังกล่าวต่อสาธารณะในปี พ.ศ. 2565[84]
เขาใช้เอกซ์เป็นช่องทางสื่อสารออนไลน์ตั้งแต่ พ.ศ. 2552[85]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เศรษฐา ทวีสิน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศ ดังนี้[86]
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[87]
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[87]
ดูเพิ่ม
ลำดับสาแหรก
ลำดับสาแหรกของเศรษฐา ทวีสิน[11][12] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- ↑ ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๒๐๑ ง หน้า ๑ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
- ↑ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
- ↑ "เปิดขุมทรัพย์ "เศรษฐา" อู้ฟู่พัน ล. ที่ดิน-ห้องชุด 100 ล.ขึ้น ครอบครองรถหรูแรร์ไอเทม ลูกให้ปีละ 20 ล." mgronline.com. 2023-12-28.
- ↑ 'เศรษฐา ทวีสิน' ลาออกทุกตำแหน่งในแสนสิริ มีผล 3 เม.ย. ตั้ง 'อภิชาติ' รักษาการแทน, 4 เมษายน 2566, สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2566
- ↑ 5.0 5.1 "Thai property tycoon Srettha eyes promotion to prime minister". NIKKEI Asia (ภาษาอังกฤษ). 2023-04-19. สืบค้นเมื่อ 2023-05-07.
- ↑ "New Thai leader Srettha Thavisin is a wealthy property developer who didn't hide his political views". www.msn.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 คือ... แพทย์ผู้ให้ด้วยหัวใจ ธาดา ยิบอินซอย
- ↑ "ว่าที่นายกฯ คนที่ 30 "เศรษฐา ทวีสิน" ใต้เงาเพื่อไทย". Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.
- ↑ "รู้จัก 'เศรษฐา ทวีสิน' แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ผ่าน 4 มุมชีวิต". AmarinTV.
- ↑ 10.0 10.1 "N-Parkตำนานที่ยังไม่มีบทสรุป". mgronline.com. 2013-12-14.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 "เปิดสาแหรก "เศรษฐา ทวีสิน" สายเลือดมหาเศรษฐี 10 ตระกูลดัง". ประชาชาติธุรกิจ. 2 กันยายน 2566. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2023.
- ↑ 12.0 12.1 "ตำนาน'คนแซ่เกา'ผู้สร้างบ้านให้มนุษย์ บรรพบุรุษของเศรษฐา ทวีสิน". The Better. 22 สิงหาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2024.
- ↑ "เปิดตัว "เศรษฐา ทวีสิน" เครือญาติ 5 ตระกูลธุรกิจยักษ์ใหญ่". Thansettakij. 20 July 2023.
- ↑ เปิดประวัติ เศรษฐา ทวีสิน ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่30
- ↑ "Srettha an unlikely PM". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). 22 August 2023. สืบค้นเมื่อ 22 August 2023.
- ↑ "ประวัติ "เศรษฐา ทวีสิน" เจ้าพ่ออสังหาฯ ว่าที่แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย กับไลฟ์สไตล์สุดชิก". Thairath. 2022-10-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.
- ↑ "รู้จัก 'เศรษฐา ทวีสิน' แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ผ่าน 4 มุมชีวิต". AmarinTV.
- ↑ "ขับเคลื่อนวงการอสังหาฯไทยก้าวสู่ระดับโลก ฝันยิ่งใหญ่จอมทัพแสนสิริ "อภิชาติ จูตระกูล"". www.thairath.co.th. 2016-01-17.
- ↑ "Profile: Srettha Thavisin, Thailand's next prime minister?". Thai Enquirer. 2023-05-04. สืบค้นเมื่อ 2023-05-07.
- ↑ "SIRI ปิดดีลที่ดินแพงสุด ผุดคอนโดฯ ซูเปอร์ลักชัวรี่ย่านสารสิน". Prop2Morrow. 2020-07-02.
- ↑ "TCAP ถือหุ้น "เอ็มบีเค ไลฟ์ฯ" เพิ่ม-เคาะชื่อใหม่ "ที ไลฟ์ ประกันชีวิต"". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. 2022-07-06.
- ↑ "ย้อนรอย "เศรษฐา ทวีสิน" กับเส้นทางอาณาจักรหมื่นล้าน "แสนสิริ"". Thansettakij. 20 July 2023. สืบค้นเมื่อ 21 July 2023.
- ↑ "เศรษฐา ทวีสิน โอนหุ้นแสนสิริทั้งหมด 4.44% ให้ลูกสาว ลุยการเมืองเต็มที่". Thansettakij. 10 March 2023. สืบค้นเมื่อ 21 July 2023.
- ↑ 24.0 24.1 "ว่าที่นายกฯ คนที่ 30 "เศรษฐา ทวีสิน" ใต้เงาเพื่อไทย". Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.
- ↑ "Exclusive: ความหวัง เศรษฐา ทวีสิน ในวิกฤตโควิด และ "ปีแห่งการประท้วง"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
- ↑ "เพื่อไทย ตั้ง "เศรษฐา ทวีสิน" เป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย". ไทยรัฐ. 2023-03-01. สืบค้นเมื่อ 2023-08-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ matichon (2023-03-27). "เพื่อไทย เคาะแล้ว 'ชัยเกษม นิติสิริ' แคนดิเดตนายกฯ ชื่อที่3". มติชนออนไลน์.
- ↑ ตามคาด! เพื่อไทย ยื่น 3 ชื่อแคนดิเดตนายกฯ ‘อุ๊งอิ๊ง-เศรษฐา-ชัยเกษม’
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เศรษฐา แคนดิเดตนายกฯ เพื่อไทย ประกาศตัวเลข นโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท กระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่". เดอะสแตนดาร์ด. 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ประวัติ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ว่าที่นายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทย". Amarin TV. 2023-05-15. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.
- ↑ เศรษฐา ให้กำลังใจ พิธา ตั้งรัฐบาลให้สำเร็จ ส่วนพรรคเพื่อไทย ถกรีแบรนด์พรรค เตรียมเลือกตั้งครั้งหน้าแล้ว, สืบค้นเมื่อ 2023-08-25
- ↑ ""เศรษฐา" เป็นกำลังใจให้ "พิธา" ผ่านด่านสว". INN News. 2023-07-06.
- ↑ "Thai Parliament Blocks Pita in First Round of Prime Minister Selection". Time (ภาษาอังกฤษ). 2023-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "New PM vote set for Tuesday". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-08-17.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Charter court rejects pro-Pita petitions". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-08-17.
- ↑ "Thai PM hopeful Srettha says alliance with military parties a necessary path". Malay Mail (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-21.
- ↑ Mail, Pattaya (2023-08-12). "PPRP to vote for Pheu Thai PM candidate unconditionally". Pattaya Mail (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-08-12.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Pheu Thai coalition 'done'". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2023-08-12.
- ↑ JINTAMAS SAKSORNCHAI, Associated Press (2023-08-22). "Former Thai leader Thaksin goes to jail as political party linked to him wins vote to take power". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
- ↑ "Srettha Thavisin set to become Thailand's new prime minister after three months of political deadlock". www.msn.com. สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
- ↑ มติรัฐสภา 482:165 โหวต เศรษฐา ทวีสิน นั่งนายกฯ 100 วันหลังเลือกตั้ง
- ↑ "1st LD: Srettha Thavisin elected as Thailand's new prime minister - China.org.cn". www.china.org.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ เศรษฐา เป็นนายกฯคนที่ 30 เตรียมอันเชิญพระบรมราชโองการ". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-08-23.
- ↑ "นายกฯ คนที่ 30: เศรษฐา ทวีสิน รับพระราชโองการ ประกาศ "4 ปีแห่งความเปลี่ยนแปลง"". บีบีซีไทย. 2023-08-23. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "นายกฯ คนที่ 30 "เศรษฐา ทวีสิน" ถึงทำเนียบรัฐบาล เข้าพบ "พล.อ.ประยุทธ์" แล้ว". www.thairath.co.th. 2023-08-24.
- ↑ "บันทึกประวัติศาสตร์ ครั้งแรกในรอบ 91 ปี 2 นายกฯ ส่งไม้ต่อบริหารประเทศ". thansettakij. 2023-08-24.
- ↑ ""เศรษฐา" ลงพื้นที่ ภูเก็ต-พังงา ฟังปัญหาเอกชนพร้อมหนุนท่องเที่ยว". tnnthailand. 2023-08-25.
- ↑ ""เศรษฐา" ประเดิมงานแรก นำทีมบุกภูเก็ต-พังงา ในนามพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่ภารกิจนายกฯ". www.sanook.com/news. 2023-08-25.
- ↑ "เศรษฐา ทวีสิน โพสต์ภาพ พบปะฟังความเห็นนักธุรกิจใหญ่". pptvhd36.com. 2023-08-29.
- ↑ ""เศรษฐา" ยัน ถกครม.นัดแรก ประกาศลดราคาค่าไฟ-ค่าน้ำมันดีเซล ทันที". www.thairath.co.th. 2023-08-30.
- ↑ "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
- ↑ "ชื่นมื่น "เศรษฐา" ควง "ปานปรีย์-สุทิน" พบบิ๊กเหล่าทัพ คุยนโยบายทำงานร่วมกัน". bangkokbiznews. 2023-09-03.
- ↑ "'เศรษฐา'บอกคุยผบ.เหล่าทัพเก็บข้อมูล-เกณฑ์ทหารรอแถลงร่วมกับกองทัพ". bangkokbiznews. 2023-09-04.
- ↑ "นายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่". ทำเนียบรัฐบาลไทย. 2023-05-09. สืบค้นเมื่อ 2023-05-09.
- ↑ 55.0 55.1 ""ผมและ ครม. จะน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางปฏิบัติ" เศรษฐา ทวีสิน แถลงหลังถวายสัตย์". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-09-05.
- ↑ "นายกฯเตรียมนำ ครม.เข้าถวายสัตย์ฯ 5 ก.ย.นี้". Thai PBS.
- ↑ "เปิดคำแถลงนโยบายรัฐบาล 'เศรษฐา' ต่อรัฐสภา วางกรอบ 3 ระยะ ฟื้นเศรษฐกิจ". bangkokbiznews. 2023-09-05.
- ↑ ""เศรษฐา" บินด่วนถึงขอนแก่น ติดตามน้ำท่วม ล่าสุดสถานการณ์คลี่คลายในทางที่ดี". www.thairath.co.th. 2023-09-07.
- ↑ "เชฟชุมพล – นิค จีนี่ – ดวงฤทธิ์ นั่งกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ ดึง 'หมอเลี้ยบ' เป็นกรรมการและเลขานุการ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-09-13.
- ↑ "เศรษฐา ตั้ง นลินี ทวีสิน นั่งที่ปรึกษานายกฯ-ผู้แทนการค้าไทย". ประชาชาติธุรกิจ. 13 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.
- ↑ ""เศรษฐา" เซ็นตั้ง 9 ที่ปรึกษานายกฯ "กิตติรัตน์" นั่ง ประธาน พ่วงชื่อ "เทวัญ-พิมล-พิชิต"". ไทยรัฐ. 15 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิดหน้า บอร์ดคุมแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท 28 คน มีบิ๊กต่อ ผบ.ตร.ด้วย". ประชาชาติธุรกิจ. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รัฐบาล ตั้ง 2 คณะกรรมการชุดใหญ่ จัดงานเฉลิมพระเกียรติครบ 6 รอบ ร.10". ไทยรัฐ. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "นายกฯ เผย ผบ.ตร. รุดไปพารากอน "ชฎาทิพ" ผู้บริหารรีบออกจากห้องประชุมติดตามสถานการณ์". ไทยรัฐ. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง" นายกฯ เศรษฐา กล่าวถึงเหตุยิงที่พารากอน". เดอะ แมทเทอร์. 3 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "นายกฯ รุดตรวจเหตุยิงกันที่พารากอน จ่อเข้มมาตรการรักษาความปลอดภัย". www.thairath.co.th. 2023-10-03.
- ↑ "ผบ.ตร.เผยเด็ก 14 ปีมีประวัติรักษาจิตเวช ตร.ตรวจบ้านหาหลักฐานเพิ่ม". Thai PBS.
- ↑ นายกรัฐมนตรีเปิดงาน “SCBX NEXT TECH” เทคคอมมูนิตี้แห่งโลกอนาคตในยุคดิจิทัล สร้างกลุ่มคนดิจิทัล ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้มีความเจริญก้าวหน้า
- ↑ "นายกฯ โพสต์ "ผมกลับมาพารากอน" หวังสร้างความเชื่อมั่น ลั่นเตรียมเข้าขอโทษทูตจีน". www.sanook.com/news. 2023-10-04.
- ↑ "สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3 มีนาคม 2567". รัฐบาลไทย. 3 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ครม. "เศรษฐา 1/1"". บีบีซีไทย. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'เศรษฐา' ไม่รอด! ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ชี้ชะตาเศรษฐาพ้นเก้าอี้นายกฯ ทันที". เดอะ แมทเทอร์. 14 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Whistleblower asks police to probe PM candidate's ex-company". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-08-17.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "PM candidate Srettha suing Chuvit". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-08-17.
- ↑ "บก.ลายจุด เล่าเหตุผล 'ไม่สามารถใช้คำว่ายินดี' แม้กาปาร์ตี้ลิสต์พท. เคยหวังเศรษฐานั่งนายกฯ". มติชน. 2023-08-22.
- ↑ "High hopes for policy statement". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-11.
- ↑ "New Thai PM delivers his policy statement in parliament". www.thaipbsworld.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-09-11.
- ↑ "Move Forward Party slams 'vague' Srettha policy statement". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-11.
- ↑ ส่องชีวิตและร่างกายที่คนไม่เคยรู้ นายกฯใหม่ “เศรษฐา ทวีสิน”
- ↑ "เศรษฐา ทวีสิน "ผมไม่เคยก๊อบปี้ชีวิตใคร เป็นแบบนี้ตั้งแต่เกิด"". www.sanook.com/money. 2013-03-12.
- ↑ "Srettha is the world's second tallest leader". www.thaipbsworld.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ คุยกับ “เศรษฐา ทวีสิน” แฟนหงส์ที่ไม่ตื่นเต้นกับการที่ลิเวอร์พูลจะคว้าแชมป์ลีกในรอบ 30 ปี
- ↑ "'เศรษฐา'ปิดเลานจ์กลางกรุงเคียฟ ฉลอง'หงส์แดง'แชมป์ยุโรป". dailynews. 2018-05-14.
- ↑ "เปิดหีบของสะสม"เศรษฐา ทวีสิน"ครั้งแรก!!". bangkokbiznews. 2022-06-17.
- ↑ ชวน “เศรษฐา ทวีสิน” คุยนอกทวิตเตอร์ ปังทุกประเด็น เศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง
- ↑ "โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ แก่ นายเศรษฐา ทวีสิน". ข่าวสด. 20 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2024.
- ↑ 87.0 87.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗
แหล่งข้อมูลอื่น
ก่อนหน้า | เศรษฐา ทวีสิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประยุทธ์ จันทร์โอชา | นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 30 (ครม. 63) (22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567) |
ภูมิธรรม เวชยชัย (รักษาการนายกรัฐมนตรี) แพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) | ||
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ. 2567) |
พิชัย ชุณหวชิร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- เศรษฐา ทวีสิน
- ชาวไทยเชื้อสายแคะ
- ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม
- ชาวไทยเชื้อสายอินโดนีเซีย
- ชาวไทยเชื้อสายฮกเกี้ยน
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- นายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาแคลร์มอนต์
- บุคคลในยุครัชกาลที่ 9