เกรียงไกร อัตตะนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพล
เกรียงไกร อัตตะนันทน์
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.
แม่ทัพภาคที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2512 – 28 สิงหาคม 2515
ก่อนหน้า พลตรี อ่อง โพธิกนิษฐ์
ถัดไป พลตรี ประเสริฐ ธรรมศิริ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456
จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต 28 สิงหาคม พ.ศ. 2515 (59 ปี)
จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
คู่สมรส คุณหญิงกานดา อัตตะนันทน์
บุตร 4 คน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้  ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการ พ.ศ. 2477 - 2515
ยศ RTA OF-10 (Field Marshal).svg จอมพล[1]
บังคับบัญชา กองทัพภาคที่ 1
การยุทธ์ สงครามเกาหลี

จอมพล เกรียงไกร อัตตะนันทน์ อดีตผู้บังคับกองพันทหารอาสาสมัครของไทยชุดแรกในสงครามเกาหลี เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ท่านเป็นนายทหารที่ได้รับพระราชทานยศจอมพลเป็นคนรองสุดท้ายของกองทัพไทย เป็นบิดาของพลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบก

ประวัติ[แก้]

จอมพล เกรียงไกร อัตตะนันทน์ เดิมชื่อ บุญสม อัตตะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของเรือเอก ขุนรุตรณไกร (แฮนน์ อัตตะนันทน์) และนางเหม อัตตะนันทน์ จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเมื่อ พ.ศ. 2474 จนจบการศึกษาใน พ.ศ. 2477 และเริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งประจำกรมทหารราบที่ 7 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

ราชการครั้งสำคัญของจอมพล เกรียงไกร คือ ได้เข้าร่วมสงครามเกาหลี ในฐานะผู้บังคับกองพันทหารอาสาสมัครชุดแรกแห่งกรมผสมที่ 21 (ขณะนั้นมียศเป็น"พันโท") ซึ่งกองทัพไทยจัดส่งไปร่วมรบกับสหประชาชาติในสงครามครั้งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2493 นับว่าเป็นผู้บังคับกองพันคนแรกของกองกำลังทหารไทย ที่ไปปฏิบัติราชการสงครามนอกประเทศ กองพันนี้ได้รับการยกย่องจากนานาชาติว่า เป็นกองกำลังที่มีความสามารถสูง และทำการรบด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว จนได้รับสมญานามว่า "กองพันพยัคฆ์น้อย"

จากการร่วมรบครั้งนี้ จอมพลเกรียงไกรจึงได้รับเหรียญBronze Star Medal จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เป็นเครื่องหมายยืนยันความสามารถและความกล้าหาญของท่าน ภายหลังเมื่อท่านกลับมาที่ประเทศไทยแล้ว ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 (กองพันพยัคฆ์น้อย) และได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บังคับการกรมผสมที่ 21 เมื่อ พ.ศ. 2496 (ปัจจุบันหน่วยนี้คือ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)

ตำแหน่งราชการของท่านที่สำคัญอีกตำแหน่งคือ เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยกำลังรบที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ในช่วง พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2503

ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้ายของจอมพล เกรียงไกร คือ แม่ทัพภาคที่ 1 ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 (ขณะนั้นมียศเป็นพลโท) และได้รับหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการป้องการการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เขต 1 อีกตำแหน่งหนึ่ง เนื่องจากสถานการณ์การต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในขณะนั้นเป็นไปอย่างรุนแรง

จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่จังหวัดราชบุรี ระหว่างการเดินทางไปปฏิบัติราชการ เพื่อวางแผนปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2515 พร้อมกันกับคณะนายทหารที่ร่วมเดินทางด้วยกันอีก 12 คน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลเป็นกรณีพิเศษ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2515 และยังได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการพระราชทานเพลิงศพ ที่เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2516 อีกด้วย

ครอบครัว[แก้]

จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ สมรสกับ คุณหญิงกานดา อัตตะนันทน์ มีบุตรธิดารวม 4 คน คือ

เกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

จอมพล เกรียงไกร อัตตะนันทน์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

รางวัล[แก้]

  • พ.ศ. 2559 – รางวัลโล่ห์เกียรติยศวีรบุรุษสงครามคาบสมุทรเกาหลีประจำปี ค.ศ. 2016 (2016 The Korean War Heroes Commemoration Ceremony)[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/D/150/36.PDF
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๖ ตุลาคม ๒๕๑๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๙๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๘๙๑, ๑ กรกฎาคม ๒๔๙๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๙, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๕๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๐๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๙๒๘, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๕๖ ง หน้า ๕๒๔๐, ๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๒ ง หน้า ๓๗, ๓ มกราคม ๒๔๙๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๒๕๗๕, ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๖๓, ๘ ตุลาคม ๒๕๐๐
  15. กระทรวงการต่างประเทศ (21 เมษายน 2559). "ข่าวสารนิเทศ : รัฐบาลเกาหลีใต้มอบรางวัลโล่ห์เกียรติยศแก่ผู้แทนทหารไทยในฐานะวีรบุรุษสงครามคาบสมุทรเกาหลี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-29. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2019. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]