ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | บัญญัติ บรรทัดฐาน |
ถัดไป | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | จาตุรนต์ ฉายแสง |
ถัดไป | พงศ์เทพ เทพกาญจนา |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2493 อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2541–2549) ประชาราช (2549–2554) รักษ์สันติ (2554–2562) |
คู่สมรส | ผศ.สมศรี เปี่ยมสมบูรณ์ |
ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก นายกองใหญ่ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2493) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครักษ์สันติ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยา และเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยชินวัตร
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก นายกองใหญ่ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เกิดที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศรี เปี่ยมสมบูรณ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ
- ร้อยตำรวจตรี ธรรมาธิปต์ เปี่ยมสมบูรณ์ (แท่น)
- ทศธรรม เปี่ยมสมบูรณ์ (ทศ)
- ธรรมวิสาข์ เปี่ยมสมบูรณ์ (ทิพย์)
การศึกษา
[แก้]ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2515 ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต สหรัฐ และจบการศึกษาระดับปริญญาเอก เมื่อปี พ.ศ. 2522 จากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต สหรัฐ
การเมือง
[แก้]ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นหนึ่งใน 23 ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และเป็นเลขาธิการพรรคคนแรก (ชุดจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง)[1] เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในช่วงสองปีแรกของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่สร้างผลงานการจัดระเบียบสังคมเข้มงวดกับสถานบริการตามพระราชบัญญัติจนได้ฉายาว่า "มือปราบสายเดี่ยว" ซึ่งบทบาทการทำงานของ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งส่งผลให้ผู้เสียประโยชน์เกิดความเห็นขัดแย้ง[2]และเป็นสาเหตุของการปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีของ ร.ต.อ.ปุระชัย ถูกย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งก็มีความขัดแย้งกันอีกกับ น.พ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเรียกกันว่า "สงครามคนดี"[3] จนเมื่อการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ร.ต.อ.ปุระชัย จึงได้ยุติบทบาททางการเมืองไป แต่ก็ยังมีข่าวคราวออกมาเป็นระยะ ๆ เช่น การเปิดตัวหนังสือซึ่งเจ้าตัวเป็นผู้เขียนเอง เช่น "คนดีไม่มีเสื่อม" เป็นต้น และหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ร.ต.อ.ปุระชัย ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นบุคคลที่เมื่อมีการสำรวจความคิดเห็นประชาชนครั้งใดมักจะได้รับความนิยมลำดับต้น ๆ เสมอ ๆ และเมื่อมีการสำรวจความเห็นประชาชนในกลางปี พ.ศ. 2550 ปรากฏว่า เป็นบุคคลอันดับหนึ่งที่คนไทยอยากให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ในต้นปี พ.ศ. 2554 ร.ต.อ.ปุระชัยได้หวนกลับคืนมาสู่วงการการเมืองอีกครั้ง โดยมีข่าวว่าจะไปร่วมงานกับพรรคการเมือง คือ พรรคประชาสันติ ซึ่งจะลงเลือกตั้งในปีเดียวกันนั้น หลังจากที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีมีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะมีการยุบสภาในต้นเดือนพฤษภาคม[4] แต่หลังจากนั้นไม่นาน ร.ต.อ.ปุระชัยก็ไม่ได้ตอบคำถามชัดเจนว่าจะไปร่วมงานกับพรรคประชาสันติจริงหรือไม่ ต่อมาในวันที่ 2 เมษายน ร.ต.อ.ปุระชัยก็ได้เปิดตัวเองกับ พรรครักษ์สันติ โดยไม่มีรายชื่ออยู่ในคณะกรรมการบริหารพรรค และจะลงเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1[5] และได้รับการเลือกตั้งในเวลาต่อมา ร.ต.อ.ปุระชัย คัดค้านที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ…." ที่พยายามช่วยเหลือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นความผิด โดยยืนยันว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร ควรที่ต้องรับโทษตามกฎหมายคดีทุจริตคอรัปชันก่อน ถึงจะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับการอภัยโทษความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อรัฐ[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ปุระชัยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรครักษ์สันติ
ยศ
[แก้]- 15 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองใหญ่[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย
- ↑ หนังสือ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (คนดีไม่มีเสื่อม): ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดย ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ISBN 9749170245
- ↑ "'คนดี'ฟ้องที่ปรึกษาสสส. 'หน่อย'ดิ้นแจงคอมพ์ฉาว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25.
- ↑ [1]เก็บถาวร 2021-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 'ปุระชัย'ตั้งพรรคประชาสันติ เปิดตัวสู้ศึกเลือกตั้งหลังซักฟอก จากกรุงเทพธุรกิจ [ลิงก์เสีย]
- ↑ "ปุระชัย"ตั้งเอง"พรรครักษ์สันติ" จากข่าวสด
- ↑ [ลิงก์เสีย] คำยืนยันจากอดีตเพื่อน “ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์” ก่อน “อภัยโทษ” (ทักษิณ) ต้อง “สำนึกผิด”! จาก[ลิงก์เสีย]ไทยพับลิก้า
- ↑ "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นนายกองใหญ่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๕, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕๙๖, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติจากรัฐบาลไทย เก็บถาวร 2007-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฟังเพลงปุระชัยเคอร์ฟิว โดย คาราบาว
- ปุระชัย คนดีของสังคม เก็บถาวร 2008-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คนเกลียดทั้งพรรค คนรักทั้งเมือง
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอศรีมโหสถ
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรครักษ์สันติ
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน