พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี
(บุญช่วย วณิกกุล)
อธิบดีศาลฎีกา
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม พ.ศ. 2471 – พ.ศ. 2476
ก่อนหน้า เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ถัดไป พระยาศรีสังกร (ตาด จารุรัตน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
นายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
ก่อนหน้า ตนเอง
(ในฐานะเสนาบดี)
ถัดไป พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
29 มิถุนายน – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้า เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา)
ถัดไป ตนเอง
(ในฐานะรัฐมนตรี)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2432
เสียชีวิต 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 (60 ปี)
บิดา แสง วณิกกุล
มารดา ชื่น วณิกกุล
ศาสนา พุทธ

มหาอำมาตย์โท พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี มีนามเดิมว่า บุญช่วย วณิกกุล (15 มิถุนายน พ.ศ. 2432 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 7 อดีตเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตอธิบดีศาลฎีกา

ประวัติ[แก้]

บุญช่วย วณิกกุล เป็นบุตรคนสุดท้องของนายแสงและนางชื่น วณิกกุล เริ่มต้นการศึกษาที่พระตำหนักสวนกุหลาบ ศึกษาต่อที่โรงเรียนราชวิทยาลัย สอบทุนเล่าเรียนหลวงได้เป็นที่ 1 เมื่อมีอายุเพียง 13 ปี 10 เดือน แต่ได้สละสิทธินั้นและสมัครเข้าเป็นนักเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม เพื่อศึกษากฎหมายไทยเสียก่อน และได้ไปศึกษาวิชากฎหมายที่สำนักเกรย์สอินน์ (Gray’s Inn) ที่กรุงลอนดอน เมื่ออายุ 16 ปี พร้อมกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ

บุญช่วย วณิกกุล จบการศึกษาสำนักเกรย์สอินน์ เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2452 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมชั้น 1 และเข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรม ตำแหน่งผู้พิพากษาในกองข้าหลวงพิเศษ และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ข้าหลวงพิเศษยุติธรรมและกรรมการศาลฎีกาตามลำดับ

ในปี พ.ศ. 2466 ท่านได้โอนไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2471

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในคณะรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ท่านได้กราบถวายบังคมทูลขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่า พร้อมกับรัฐมนตรีในคณะคนอื่นๆ ซึ่งได้กราบถวายบังคมทูลขอลาออกพร้อมกันทั้งคณะ

พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างประมวลกฎหมาย เมื่อ พ.ศ. 2455 ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการชำระประมวลกฎหมาย และในปี พ.ศ. 2466

ในบั้นปลายชีวิต ท่านได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการถาวร ณ กรุงเฮก และได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาให้เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 สิริรวมอายุได้ 60 ปี 5 เดือน 3 วัน

ยศ[แก้]

  • มหาอำมาตย์ตรี
  • 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 มหาอำมาตย์โท[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชทานยศ
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๘๕, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๒๐, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๖, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๔๖, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2022-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๙๙, ๖ มีนาคม ๒๔๖๙