ประเทือง กีรติบุตร
ศาสตราจารย์พิเศษ ประเทือง กีรติบุตร ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | พลเอก เล็ก แนวมาลี |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 23 มิถุนายน พ.ศ. 2524 | |
นายกรัฐมนตรี | พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ |
ถัดไป | พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ |
ศาสตราจารย์พิเศษ นายกองใหญ่ ประเทือง กีรติบุตร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.42) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (ครม.41) อดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตประธานกรรมการอัยการ
ประวัติ[แก้]
ประเทือง กีรติบุตร เคยรับราชการเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ. 2520 เป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 2[1] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2522[2] ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[3] แทนพลเอก เล็ก แนวมาลี ซึ่งได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี แต่ยังมิทันได้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่งในวันที่รัฐบาลจะแถลงนโยบายต่อสภา เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โดยเหตุผลในการลาออกว่า "ได้เกิดการขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภาในปัญหาที่สำคัญหลายเรื่องและหลายครั้งจนยากที่จะบริหารงานของชาติ ให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้" ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงในทันที
ต่อมาในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 42 นำโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[4] และได้ลาออกในเวลาต่อมา[5]
ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ จากผู้แทนซึ่งคัดเลือกโดยวุฒิสภา[6] และได้เป็นประธานกรรมการอัยการ ในปี พ.ศ. 2540[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2522 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2521 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2524 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (นายประเทือง กีรติบุตร พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งพลเอก สิทธิ จิรโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแทน)
- ↑ ประกาศรัฐสภา เรื่อง การแต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิ (ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร, ศาสตราจารย์ประเทือง กีรติบุตร, พลโท โกวิท มัธยมจันทร์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการอัยการ (นายประเทือง กีรติบุตร)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๙๑, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2464
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2541
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการฝ่ายอัยการชาวไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- ศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน