ข้ามไปเนื้อหา

ควง อภัยวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หลวงโกวิทอภัยวงศ์)
ควง อภัยวงศ์
ควงใน พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ก่อนหน้าจอมพลป. พิบูลสงคราม
ถัดไปทวี บุณยเกตุ
ดำรงตำแหน่ง
31 มกราคม พ.ศ. 2489 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2489
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์)
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าผิน ชุณหะวัณ
(หัวหน้าคณะทหารแห่งชาติ)
ถัดไปจอมพลป. พิบูลสงคราม
ตำแหน่งรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2484 – 8 กันยายน พ.ศ. 2485
นายกรัฐมนตรีจอมพลป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม​ พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม​ พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
ถัดไปสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ดำรงตำแหน่ง
31 มกราคม พ.ศ. 2489 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ถัดไปสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
8 กันยายน พ.ศ. 2485 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าหลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล)
ถัดไปหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
10 มกราคม พ.ศ. 2488 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
ถัดไปหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 10 มกราคม พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
ถัดไปเล้ง ศรีสมวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าช่วง เชวงศักดิ์สงคราม
ถัดไปหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าหลวงสินาดโยธารักษ์ (ชิต มั่นศิลป์)
ถัดไปแปลก พิบูลสงคราม
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
6 เมษายน พ.ศ. 2489 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2511
ก่อนหน้าก่อตั้งพรรค
ถัดไปหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ควง

17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445
เมืองพระตะบอง ประเทศสยาม (ปัจจุบัน จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา)
เสียชีวิต15 มีนาคม พ.ศ. 2511 (65 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2489–2511)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คณะราษฎร
คู่สมรสเจน เล็ก คุณะดิลก
บุตร
  • ดิลก
  • คทา
  • คลอ
บุพการี
ญาติ
อาชีพ
  • ทหารบก
  • ข้าราชการ
  • นักการเมือง
บรรดาศักดิ์รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์
ยศเดิมรองอำมาตย์เอก
พระราชทานเพลิง13 มิถุนายน พ.ศ. 2511
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[1]
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ไทย สยาม
สังกัด กรมราชองครักษ์
ประจำการพ.ศ. 2483 - 2484
ยศ พันตรี

พันตรี ควง อภัยวงศ์ ป.จ. ม.ป.ช. ป.ม. อ.ป.ร. ๑ ภ.ป.ร. ๑ หรือ รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2511) เป็นข้าราชการและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 4 และรัฐมนตรีหลายกระทรวง ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก

ควง อภัยวงศ์เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือนซึ่งร่วมการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เคยมีบรรดาศักดิ์เป็น รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์

พันตรี ควง อภัยวงศ์ เคยมีบรรดาศักดิ์เป็น รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์ เคยรับราชการเป็นนายช่างผู้ช่วยโท แผนกกองช่างโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข[2] นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการคลัง, กระทรวงเกษตราธิการ และกระทรวงมหาดไทย

ประวัติ

[แก้]

ควง อภัยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 ณ จังหวัดพระตะบอง ซึ่งขณะนั้นอยู่ในมณฑลบูรพา ราชอาณาจักรสยาม (ปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา) เป็นบุตรของ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการจังหวัดพระตะบอง กับนางรอด เขาสมรสกับคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ และเป็นพระปิตุลา (อา) ในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และพระประยูรญาติของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

เริ่มศึกษาหนังสือกับขุนพันธรักษ์ราชเดช ผู้เป็นลุงข้างมารดา จากนั้นเข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธา ที่ École Centrale de Lyon ประเทศฝรั่งเศส

เคยรับราชการเป็นนายช่างผู้ช่วยโท แผนกกองช่างโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข

ได้รับพระราชทานยศพันตรีปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์พิเศษ เมื่อคราวร่วมสงครามอินโดจีนในปี 2484 และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงโกวิทอภัยวงศ์ ต่อมา พ.ศ. 2484 ได้ลาออกจาก บรรดาศักดิ์

ซึ่งในสงครามครั้งนี้ ได้ทำหน้าที่เป็นนายทหารช่างผู้คุมงานก่อสร้างถนนไปกัมพูชา และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานการรับมอบดินแดนมณฑลบูรพาจากอินโดจีนฝรั่งเศสด้วย[2]

งานการเมือง

[แก้]

บทบาททางการเมืองในช่วงแรก

[แก้]
ควง อภัยวงศ์ (ยืนซ้าย) กับเพื่อนนักเรียนไทยในฝรั่งเศส (นายปรีดี พนมยงค์ นั่ง และนายชม จารุรัตน์ ยืนขวา) ซึ่งต่อมา ปรีดีได้กลายเป็นแกนนำคณะราษฎร

ในระหว่างศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส พันตรีควงได้เป็นกรรมการและปฏิคมของสมาคมนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศส และได้พบกับนายปรีดี พนมยงค์ ร้อยโทแปลก ขีตตะสังคะ ที่มาศึกษาในประเทศฝรั่งเศส และอยู่ในเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร อัครราชทูตสยาม ณ กรุงปารีสกับนักเรียนทุนรัฐบาลในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอันเนื่องมาจากเงินแฟรงก์ฝรั่งเศสตกต่ำ และอัครราชทูตมีโทรเลขด่วนกราบบังคมทูลให้เรียกตัวนักเรียนทุนรัฐบาลที่มีปัญหาความขัดแย้งกลับทันที แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัยให้อยู่ต่อจนสำเร็จการศึกษา แม้พันตรีควงจะเป็นนักเรียนทุนส่วนตัวแต่ก็แสดงความเห็นอกเห็นใจนักเรียนทุนรัฐบาลที่มีปัญหา โดยพันตรีควงเขียนบันทึกไว้ว่า “แต่ผมนั้นไม่เกี่ยวด้วยเพราะผมป็นนักเรียนทุนส่วนตัว แต่เรามันมีนิสัยเป็นคนอดอยู่ไม่ได้ เห็นว่าอะไรไม่ยุติธรรมเราก็ไปช่วยเขา” หลังจากนายปรีดี พนมยงค์สำเร็จการศึกษาพันตรีควงยังมีบทบาทในการเรี่ยรายเงินในการซื้อตั๋วโดยสารเรือชั้น 1 ให้กับนายปรีดีเมื่อจะเดินทางกลับกรุงเทพฯแทนตั๋วเรือชั้น 3 ที่ทางสถานอัครราชทูตจัดให้

         เมื่อสำเร็จการศึกษาพันตรีควงตั้งใจจะรับราชการในกรมรถไฟหลวงแต่ไม่มีตำแหน่งว่าง จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายช่างผู้ช่วย กองช่างโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลขในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2471 เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยนายช่างในพ.ศ. 2472

         พันตรีควงมีแนวความคิดว่าคนไทยควรมีสิทธิเสียงในการปกครองตัวเอง จึงได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร โดยในวันเปลี่ยนแปลงการปกครองได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตัดสายโทรศัพท์และสายโทรเลขในเช้าตรู่ของวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง

         หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพันตรีควงได้รั้งตำแหน่งนายช่างอำนวยการโทรเลขและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 แม้พลตรีควงจะบอกว่า “ความจริงผมไม่ได้คิดจะเป็นนักการเมืองผมชอบงานอินยิเนียร์มากกว่า” แต่ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

[แก้]
พ.ต.ควง อภัยวงศ์ (แถวที่ 2 คนแรกจากซ้าย) ขณะร่วมรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในนับเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 9 ของไทย

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 พร้อมกับการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 11 ของไทย ภายหลัง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่ง การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นไปโดยสถานการณ์บังคับ จากการได้รับเลือกโดยสภาฯ ในขณะที่ไม่มีผู้อื่นยินดีรับตำแหน่ง เนื่องจากเกรงจะถูกรัฐประหารโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในครั้งนั้นได้ปรึกษากับอธิบดีกรมตำรวจ และตัดสินใจเดินทางไปอธิบายกับ จอมพล ป. ถึงค่ายทหารที่จังหวัดลพบุรีจนเป็นที่เข้าใจและยอมรับของจอมพล ป. ที่จะสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ พร้อมกับการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ กระทรวงคมนาคม อีกด้วย

รัฐบาลของ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้ประกาศสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 หลังจาก ประเทศญี่ปุ่น ประกาศยอมแพ้สงครามแล้ว 2 วัน โดยมี นายปรีดี พนมยงค์ ลงนามในฐานะ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระบุให้ การประกาศสงครามต่อ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ของจอมพล ป. เป็นโมฆะ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในวันรุ่งขึ้น ด้วยเหตุผล เพื่อให้เป็นไปตามประเพณีนิยมแห่งวิถีการเมือง และเปิดโอกาสให้ผู้มีความเหมาะสม ในอันที่จะยังมิตรภาพ และดำเนินการเจรจา ทำความเข้าใจอันดีกับฝ่ายพันธมิตร ได้เข้าบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป

หลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งมี นายทวี บุณยเกตุ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประมาณ 17 วัน และผู้มารับช่วงต่อคือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน หัวหน้าเสรีไทย สายสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เดินทางกลับมารับช่วงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 และดำเนินการเจรจา กับประเทศอังกฤษ ในขณะที่ นายปรีดี พนมยงค์ ประสานขอความสนับสนุน จากประเทศจีน ให้ช่วยรับรอง จนประเทศไทย สามารถพ้นจากสถานะ ประเทศผู้แพ้สงครามในที่สุด

ในระหว่างที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้รับมอบหมายจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งข้าวให้อังกฤษ ซึ่งได้ทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ไม่มีการคอร์รัปชั่น จนทางอังกฤษเอ่ยชมเชย

หลังจากเจรจากับอังกฤษจนสำเร็จ และประเทศไทยพ้นสถานะประเทศผู้แพ้สงครามแล้ว ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ยุบสภาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพราะสมาชิกสภาชุดที่ถูกยุบนั้นได้รับเลือกตั้งมา ตั้งแต่ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 แต่เมื่อหมดวาระ 4 ปียังไม่ได้เลือกตั้งใหม่ เพราะติดช่วงสงครามโลก

วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยได้ประกาศยกเลิกคำว่า "ประเทศไทย" (ไทยแลนด์) ให้ใช้คำว่า "สยาม" เหมือนเดิม โดยใช้ "ไทย" เป็นชื่อเชื้อชาติ ส่วนคำว่า"สยาม" เป็นชื่อประเทศ[3] นายควง อภัยวงศ์ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ในปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 ได้ออกนโยบายฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในด้านๆต่างๆดังนี้

  • การฟื้นฟูวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ตามประเพณีไทย ควบคู่กับวันขึ้นปีใหม่แบบสากล
  • การยกเลิกการใช้ภาษาวิบัติที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุคจอมพล ป. โดยรณรงค์ส่งเสริมให้ใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
  • การนำบรรดาศักดิ์ไทยกลับมาใช้และได้มีการคืนบรรดาศักดิ์ให้แก่ผู้ที่ถูกยกเลิก โดยได้มีพระราชบัญญัติคืนยศ บรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิสสริยาภรณ็ และสิทธิในการรับเบี้ยหวัดบำเหน็จและบำนาญ พุทธศักราช 2489 เพื่อนิรโทษกรรมแก่ผู้ต้องโทษทางการเมือง[4]
  • ฟื้นฟูกีฬาพื้นบ้าน เช่น กีฬาไก่ชน[5]

การเลือกตั้งมีขึ้นวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 พ.ต.ควงได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 14 ของไทย มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่หลังจากตั้งรัฐบาลได้เพียง 2 เดือน สภาฯ ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติ คุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน (พ.ร.บ.ปักป้ายราคาสินค้าอุปโภคบริโภค หรือ "พ.ร.บ.ปักป้ายข้าวเหนียว") ที่เสนอโดย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.อุบลราชธานี (ผู้ใกล้ชิด นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย เขตอุบลราชธานี) ซึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐบาล พ.ต.ควง ไม่เห็นด้วยในหลักการ เนื่องจากไม่มีมาตรการ ในการควบคุมราคา คณะรัฐมนตรีได้แถลงให้สภาทราบแล้วว่า คณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติตาม ร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ และเกรงจะเป็นการเดือดร้อน แก่ประชาชนทั่วไป แต่สภาฯ ได้ลงมติรับหลักการ ด้วยคะแนน 65 ต่อ 63 เสียง รัฐมนตรีทั้งคณะจึงได้กราบถวายบังคม ลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 โดยมีนายปรีดี พนมยงค์ ได้รับการสนับสนุนจากสภา ให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และต่อมาได้ควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

การประกาศสันติภาพ เมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ก่อนหน้านั้นมีความจำเป็นต้องประกาศสงคราม กับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ครั้นเมื่อดำรงตำแหน่งก็ได้ประกาศให้การประกาศสงครามดังกล่าวเป็นโมฆะ ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย ทำให้สัมพันธภาพของประเทศไทย กับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรดีขึ้น และในที่สุดส่งผลให้ประเทศไทยพ้นจากสภาพประเทศผู้แพ้สงคราม

  • การก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ (6 เมษายน พ.ศ. 2489)

หลังจากพ้นวาระในสมัยนี้แล้ว พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้ร่วมกับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รวมทั้งนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง เช่น นายใหญ่ ศวิตชาต, นายเลียง ไชยกาล, ดร.โชติ คุ้มพันธ์, พระยาศราภัยพิพัฒ, นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ และ นายฟอง สิทธิธรรม ก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 โดย พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคคนแรก มี ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นรองหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรค และมี นายชวลิต อภัยวงศ์ ผู้มีศักดิ์เป็นน้องชาย เป็น รองเลขาธิการพรรค มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพรรคฝ่ายค้านคานอำนาจรัฐบาลของนายปรีดี ที่ขณะนั้นมีอำนาจอย่างสูง ที่เข้ามาแทนที่รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ รับดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 3 พร้อมทั้งรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หลังการรัฐประหาร เพื่อจัดการเลือกตั้ง วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2491 นับเป็น คณะรัฐมนตรีคณะที่ 19 มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น รัฐมนตรี หลังจัดการเลือกตั้งแล้วจึงพ้นวาระไป

ควง อภัยวงศ์ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2491

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ กลับเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อเป็นสมัยที่ 4 เนื่องจากผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสียงข้างมาก พ.ต.ควง ในฐานะหัวหน้าพรรค จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่องอีกสมัย พร้อมทั้งดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นับเป็น คณะรัฐมนตรีคณะที่ 20 มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ นายชวลิต อภัยวงศ์ เป็น รัฐมนตรี แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 กลุ่มนายทหารชุดเดียวกับคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ก็บีบบังคับให้ลาออก และ สภาฯ มีมติให้ท่าน พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 เรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า "ปฏิวัติเงียบ" หลังการรัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กลับเข้า ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง

  • ชีวิตหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (8 เมษายน พ.ศ. 2491 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2511)

หลังจากนั้น พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ยังคงอยู่ในแวดวงการเมือง ด้วยการนำพรรคประชาธิปัตย์ ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาฯ อย่างแข็งขัน ในรัฐบาลหลายชุด ทั้ง รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยสุดท้าย, รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร

จนกระทั่งเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ขณะนั้น และใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 แทน ซึ่งมีบทบัญญัติให้ยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง เป็นต้น ทำให้บทบาททางการเมืองของ พ.ต.ควงต้องยุติไปโดยปริยาย ซึ่งเขาได้รอคอยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จสิ้น และตั้งความหวังไว้ว่าจะลงเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง แต่ได้อสัญกรรมลงเสียก่อน

อสัญกรรม

[แก้]

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคระบบทางเดินหายใจขัดข้อง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2511 ขณะอายุได้ 65 ปี โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

หลังการถึงแก่อสัญกรรม พรรคประชาธิปัตย์ได้ก่อตั้ง มูลนิธิควง อภัยวงศ์ ขึ้น ตามเจตนารมณ์ และให้ชื่ออาคารที่ทำการของพรรคหลังแรกว่า "อาคารควง อภัยวงศ์" เพื่อรำลึกถึงด้วย

ภาพลักษณ์

[แก้]
พ.ต. ควง อภัยวงศ์ ปราศรัยเมื่อปี พ.ศ. 2490

พ.ต. ควง อภัยวงศ์ ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีไหวพริบปฏิภาณในการพูด การปราศรัยดีเยี่ยม อีกทั้งยังมีมุกตลกสนุกสนานเป็นที่รู้จักกันอย่างดี จนได้ฉายามากมาย เช่น "นายกฯ ผู้ร่ำรวยอารมณ์ขัน" หรือ "จอมตลก" หรือ "ตลกหลวง"[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ข่าวในพระราชสำนัก [วันอังคาร ที่ 11 มิถุนายน , วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน และ วันพฤหัสบดี ที่ 13 มิถุนายน 2511]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (56ง ฉบับพิเศษ): 8. 20 มิถุนายน 2511. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2565. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 จรี เปรมศรีรัตน์. กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 : 61 ปีประชาธิปัตย์ยังอยู่ยั้งยืนยง. นนทบุรี : ใจกาย, 2552. 323 หน้า. ISBN 9789747046724
  3. เมืองไทยในอดีต รัชกาลที่ 8 ตอนที่ 3[ลิงก์เสีย]
  4. "โดยได้มีพระราชบัญญัติคืนยศ บรรดาศักดิ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
  5. ฟื้นฟูกีฬาพื้นบ้าน[ลิงก์เสีย]
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายควง อภัยวงศ์ สมัยที่ ๓)
  7. "คารมเชือดคอของนายควง อภัยวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2006-08-05.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๑๒๕๖, ๒๑ สิงหาคม ๒๔๘๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๖, ๑๙ มิถุนายน ๒๔๘๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๐๖, ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๘๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๐๒, ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๗๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๘, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๖, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๗๖๕, ๕ มีนาคม ๒๕๑๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอนที่ 33 เล่ม 66 หน้า 2715, 21 มิถุนายน 2492

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ควง อภัยวงศ์ ถัดไป
แปลก พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 4 สมัยแรก
(1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488)
ทวี บุณยเกตุ
หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 4 สมัยที่ 2
(31 มกราคม – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489)
ปรีดี พนมยงค์
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 4 สมัยที่ 3-4
(10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 8 เมษายน 2491)
แปลก พิบูลสงคราม
หลวงสินาดโยธารักษ์
(ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(21 กุมภาพันธ์ – 8 เมษายน พ.ศ. 2491)
แปลก พิบูลสงคราม
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
(10 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)
หม่อมเจ้า สิทธิพร กฤดากร
เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(2 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 10 มกราคม พ.ศ. 2488)
เล้ง ศรีสมวงศ์
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(8 กันยายน พ.ศ. 2485 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486)
หม่อมหลวง เดช สนิทวงศ์
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(19 สิงหาคม – 8 กันยายน พ.ศ. 2485)
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
สถาปนาตำแหน่ง
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(พ.ศ. 2489 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2511)
หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช