อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าจำลอง ครุฑขุนทด
ถัดไปพล.ต.ต.วุฒิ สุโกศล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 (73 ปี)
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองพรรคประชาชาติ
คู่สมรสฮาลีเมาะ อุตรสินธุ์

นายกองตรี[1] อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน กลุ่ม 8 สังกัดพรรคมาตุภูมิ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และอดีตรองหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ

ประวัติ[แก้]

อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 ที่ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และปริญญาโทสาขาบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] และสำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า

อารีเพ็ญ สมรสกับนางฮาลีเมาะ อุตรสินธุ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนราธิวาส

งานการเมือง[แก้]

อารีเพ็ญ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกที่จังหวัดนราธิวาส ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดนราธิวาสเรื่อยมา จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 จึงย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ

เขาเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาชน[3] ในปี พ.ศ. 2531 ในปี พ.ศ. 2533 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[4] อารีเพ็ญ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง[5] อาทิรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[6] (15 สิงหาคม 2540 - 8 พฤศจิกายน 2540) เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2537[7] และ พ.ศ. 2547 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2538 และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2547

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ[8] และในการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 3 พรรคมาตุภูมิ[9] แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคมาตุภูมิ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[10] ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2556 ภายหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎร เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[11]

ในปี พ.ศ. 2561 เขาและกลุ่มวาดะห์ นำโดยนาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีต ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาชาติ[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/091/4215.PDF
  5. พรรคมาตุภูมิ[ลิงก์เสีย]
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
  7. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๖/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์)
  8. คณะกรรมการบริหารพรรคมาตุภูมิ[ลิงก์เสีย]
  9. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[ลิงก์เสีย]
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคมาตุภูมิ
  11. "วันนอร์"ดึงมาตุภูมิเสริมทัพเพื่อไทย จ่อสมัครสมาชิก 20 ธ.ค.นี้ หลอมกลุ่มวาดะห์ตั้งเป้าเจาะเสียง 3 จังหวัดชายแดนใต้[ลิงก์เสีย]
  12. น้องชาย'วันนอร์'คอนเฟิร์ม!'วาดะห์'รีเทิร์นย้ายสังกัดพรรคประชาชาติ
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]