หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล
หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 เมษายน พ.ศ. 2491 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | อรรถกิจ พนมยงค์ |
ถัดไป | พจน์ สารสิน |
ประสูติ | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 |
สิ้นชีพตักษัย | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 (76 ปี) |
ชายา | หม่อมเจ้าลีลาศหงษ์ กฤดากร |
หม่อม | หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช แตงไทย เดชผล |
บุตร | 6 คน |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | เทวกุล |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ |
พระมารดา | หม่อมพุก เทวกุล ณ อยุธยา |
ลายพระอภิไธย | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2456–2473 |
ชั้นยศ | พลตรี |
บังคับบัญชา | กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ |
พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล (3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 − 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513) มีพระนามลำลองว่า ท่านชายอั๋น เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการกับหม่อมพุก ประสูติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา และจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังจากนั้นเสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยโกรลิชเตเฟลเดอ ประเทศเยอรมนี ต่อจากนั้นเข้าศึกษาที่โรงเรียนรบ Kriegschule ที่เมืองเมทซ์ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2456
ทรงรับราชการที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2460 ทรงเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ทรงเป็นกรรมการร่างแบบฝึกหัดทหารปืนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2461 สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถโปรดให้ไปประทับด้วย ณ วังปารุสกวัน จนกระทั่งทิวงคตเมื่อ พ.ศ. 2463
หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตทหารบก ณ กรุงปารีสและกรุงลอนดอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 ทรงเป็นผู้บังคับการกองโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม พ.ศ. 2471 ทรงเป็นปลัดเสนาธิการทหารบก พ.ศ. 2473 ย้ายสังกัดจากกระทรวงกลาโหมไปประจำการในกระทรวงต่างประเทศ ทรงเป็นอัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มของประเทศไทยประจำประเทศเยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน และ นอร์เวย์
ปี 2491 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513
ครอบครัว
[แก้]พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีสมรสพระราชทานแก่ หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล กับ หม่อมเจ้าลีลาศหงษ์ กฤดากร ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ท้องพระโรงพระราชวังพญาไท และต่อมาทรงมีหม่อมอีก 2 ท่าน คือ หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช (อดีตหม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์) และหม่อมแตงไทย เทวกุล ณ อยุธยา มีพระโอรส-ธิดารวมทั้งหมด 6 คน
- หม่อมเจ้าลีลาศหงษ์ เทวกุล (ราชสกุลเดิม กฤดากร; 15 เมษายน พ.ศ. 2442 − 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ปรับศักราชตามแบบสากล)[1] พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมแช่ม กฤดากร ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์สอางค์ เทวกุล (ราชสกุลเดิม ปราโมช; 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2442 − 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518) พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมนุ่ม ปราโมช ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 4 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์สุปรีดีเสพ เทวกุล (ช.) สมรสกับสมศรี ลางคุลเสน มีบุตร 1 คน
- หม่อมราชวงศ์ทิพยางค์ กาญจนดุล (ญ.) สมรสกับประพาส กาญจนดุล มีบุตร 4 คน[2]
- หม่อมราชวงศ์สำอางวรรณ ล่ำซำ (ญ.) สมรสกับบัญชา ล่ำซำ มีบุตร 3 คน
- หม่อมราชวงศ์เทพยพงศ เทวกุล (ช.) สมรสกับประเทือง ศิลปรัศมี มีบุตร 4 คน
- หม่อมแตงไทย เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เดชผล) มีบุตรชาย 2 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์วงศ์ปิติ เทวกุล (ช.) สมรสกับหม่อมหลวงอรทัย ลดาวัลย์ มีบุตร 2 คน
- หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล (ช.) สมรสและหย่ากับปอลิน อินทสุกิจ และสมรสครั้งที่สองกับประภาพรรณ เทวกุล ณ อยุธยา มีบุตร 3 คน
สิ้นชีพตักษัย
[แก้]หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 สิริชันษา 76 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
พระเกียรติยศ
[แก้]พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2492 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2471 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[6]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[7]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[8]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2471 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 3[10]
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 2[11]
- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1[12]
พระยศและตำแหน่ง
[แก้]- ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
- 6 กันยายน พ.ศ. 2463: ประจำกรมเสนาธิการทหารบก[13]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2463: กราบถวายบังคมลาไปรับตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร[14]
- 10 มกราคม พ.ศ. 2463: ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารประจำประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส[15]
- 25 เมษายน พ.ศ. 2465: นายพันโท[16]
- 27 ตุลาคม พ.ศ. 2473: นายพลตรี[17]
พงศาวลี
[แก้]ลำดับสาแหรกของหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล[18] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข่าวสิ้นชีพิตักษัย
- ↑ "หม่อมราชวงศ์ทิพยางค์ กาญจนดุล". โรงเรียนราชินีบน. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๑๑๒, ๓ มกราคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๙, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๐, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๒๕, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๘๗, ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๕๐, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๓๒๒, ๓๐ เมษายน ๒๕๐๖
- ↑ แจ้งความของกระทรวงกลาโหม
- ↑ กราบถวายบังคมลา
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายนายทหารรับราชการ
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ หม่อมเจ้าวงศนิชร เทวกุล (2513). ลำดับราชสกุล เทวกุล รวมทั้งราชสกุลและสกุลอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง. พระนคร: ตีรณสาร. p. 94.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2436
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2513
- หม่อมเจ้า
- ราชสกุลเทวกุล
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ทหารบกชาวไทย
- นักการทูตชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์