ผิน ชุณหะวัณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผิน ชุณหะวัณ
ผิน ใน พ.ศ. 2496
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี
ในฐานะหัวหน้าคณะทหารแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
8 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(นายกรัฐมนตรี)
ถัดไปควง อภัยวงศ์
(นายกรัฐมนตรี)
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 19 เมษายน พ.ศ. 2499
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ
ถัดไปจอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
จอมพลเรือ ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพิศาล สุนาวิน
ถัดไปวิบูลย์ ธรรมบุตร
ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 15
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497
ก่อนหน้าพลเอก อดุล อดุลเดชจรัส
ถัดไปพลเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ผิน

14 ตุลาคม พ.ศ. 2434
อำเภอสี่หมื่น เมืองราชบุรี ประเทศสยาม (ปัจจุบัน อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย)
เสียชีวิต26 มกราคม พ.ศ. 2516 (81 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
คู่สมรส
  • วิบูล ชุ่มไพโรจน์ (เสียชีวิต)
  • สุภาพ
บุตร
  • อุดมลักษณ์
  • พร้อม
  • เจริญ
  • ชาติชาย
  • พูนสุข
  • ปรากรมศักดิ์
บุพการี
  • ไข่ ชุณหะวัณ (บิดา)
  • พลับ ชุณหะวัณ (มารดา)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการ2459 - 2497
ยศ จอมพล[1]
พลเรือเอก
พลอากาศเอก[2]
บังคับบัญชามณฑลทหารบกที่ 3 กองทัพพายัพ
กระทรวงกลาโหม
กองทัพไทย
ผ่านศึก

จอมพล ผิน ชุณหะวัณ หรือ หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2434 – 26 มกราคม พ.ศ. 2516) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ผู้นำรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร

ประวัติ[แก้]

ผินเกิดที่ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของนายไข่ และ นางพลับ ชุณหะวัณ ชาวสวนและแพทย์แผนโบราณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คนหนึ่งในนั้นคือ พล.ท.พจน์ ชุณหะวัณ หรือ ขุนพจน์ศรศักดิ์[3]

จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรมในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2516 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รวมอายุ 81 ปี 104 วัน

บุตรธิดา[แก้]

จอมพล ผิน ชุณหะวัณ สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงวิบุลลักสม์ ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2497) มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ

  1. คุณหญิง อุดมลักษณ์ ศรียานนท์ (พ.ศ. 2456 - 2524) สมรสกับพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์
  2. นางพร้อม ทัพพะรังสี (พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2542) สมรสกับ นายอรุณ ทัพพะรังสี เป็นมารดาของนาย กร ทัพพะรังสี
  3. ท่านผู้หญิง เจริญ อดิเรกสาร (22 มกราคม พ.ศ. 2460 - พ.ศ. 2555) สมรสกับพล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร
  4. พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2541) สมรสกับท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ
  5. นางพูนสุข (พรสม) ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2465 - ปัจจุบัน) สมรสกับนายเฉลิม เชี่ยวสกุล

หลังจากคุณหญิงวิบุลลักสม์ถึงแก่อนิจกรรม จึงสมรสครั้งที่สองกับ นางสุภาพ ชุณหะวัณ มีบุตร 1 คน คือ

  1. นายปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ สมรสกับณัฏฐินี ชุณหะวัณ (สกุลเดิม สาลีรัฐวิภาค)

ชีวิตการรับราชการ[แก้]

พลโท ผิน ชุณหะวัณ ผู้นำรัฐประหาร ขณะให้สัมภาษณ์สื่อหลังทำการรัฐประหารสำเร็จ

จอมพล ผิน ได้รับสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ ที่โรงเรียนนายสิบ กรมทหารที่ 4 ราชบุรี เมื่อมีอายุได้ 16 ปี เมื่อจบหลักสูตรสามารถสอบไล่ได้คะแนนดีเยี่ยม จึงได้เลื่อนขั้นไปศึกษาต่อใน โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนจบ (รุ่นเดียวกับจอมพล แปลก พิบูลสงคราม) และได้พระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459[4] ประจำกรมทหารราบที่ 4 ราชบุรี จากนั้นในปี 2462 จึงได้ย้ายมารับราชการที่ กรมยุทธศาสตร์ทหารบก[5] หลังจากนั้นได้เข้าเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2471 ขณะอายุได้ 37 ปีมียศและบรรดาศักดิ์เป็น ร้อยเอก ขุนชำนาญยุทธศาสตร์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงชำนาญยุทธศาสตร์"[6] และ พ.ศ. 2472 ได้เลื่อนยศเป็นพันตรีในเวลาถัดมา

  • พ.ศ. 2476 เสนาธิการกองผสมปราบปรามพวกกบฏ และเสนาธิการมณฑล ทหารบกที่ 3
  • พ.ศ. 2477 รองผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3 รับพระราชทานยศเป็น"นายพันโท"[7]
  • 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 - ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3 [8]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2480 - รับพระราชทานยศ"นายพันเอก" [9]
  • พ.ศ. 2483 รองแม่ทัพอีสาน
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 - รับพระราชทานยศ"นายพลตรี"[10]
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2485 - ประจำกรมเสนาธิการทหารบก[11]
  • พ.ศ. 2485 ข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยใหญ่ (สหรัฐไทยเดิม)
  • พ.ศ. 2486 ผู้ช่วยแม่ทัพกองทัพพายัพ รับพระราชทานยศ"พลโท" [12] และกลับไปเป็นข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยเดิม
  • พ.ศ. 2487 ประจำกรมเสนาธิการทหารบก
  • 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 - ออกจากประจำการ [13]
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รองผู้บัญชาการทหารบก[14]
  • 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 - ผู้บัญชาการทหารบก[15]
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2493 - รับพระราชทานยศ"พลเอก" [16]
  • พ.ศ. 2494 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[17] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[18]
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2495 - รับพระราชทานยศ"พลเรือเอก"และ"พลอากาศเอก"[19]
  • พ.ศ. 2495 รับพระราชทานยศ"จอมพล"[20] และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
  • พ.ศ. 2497 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[21] รองจเรทหารทั่วไป
  • พ.ศ. 2499 จเรทหารทั่วไป [22]
  • พ.ศ. 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และวุฒิสมาชิก
  • พ.ศ. 2500 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร[23][24]

ฉายา[แก้]

จอมพลผิน ชุณหะวัณ ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "บุรุษผู้รักชาติจนน้ำตาไหล" หรือ "วีรบุรุษเจ้าน้ำตา" เนื่องจากให้สัมภาษณ์ในเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อปี พ.ศ. 2490 ว่าทำไปเพราะ รักชาติ ขณะที่ให้สัมภาษณ์ทุกครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มักน้ำตาไหลด้วยความตื้นตัน

เกียรติยศ[แก้]

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2467: ขุนชำนาญยุทธศาสตร์[25]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471: หลวงชำนาญยุทธศาสตร์[26] (ยกเลิกใน พ.ศ. 2485)[27]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[28] ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ได้รับพระราชทานยศจอมพล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  2. "ได้รับพระราชทานยศพลอากาศเอก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  3. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๖๓๒)
  4. พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๔๙๘)
  5. ข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
  6. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๕๗๕)
  7. ประกาศ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๓๗๗)
  8. ประกาศ เรื่อง ตั้งผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ ๓
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  10. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๘๒๓)
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง นายทหารออกจากประจำการ
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓๐๗๒)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๕ ราย)
  18. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  19. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๐๒๔)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  20. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๕๒๕)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ว่าการกระทรวงกลาโหม
  22. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  23. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  24. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  25. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 41 หน้า 1261
  26. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานบรรดาศักดิ์ เล่ม 45 หน้า 575
  27. "พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง การยกเลิกบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (33ก): 1089. 15 พฤษภาคม 2485. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-13. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. "ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-10. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๐๕๒, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๑๙๖, ๑๕ มกราคม ๒๔๙๕
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๖๓๔๕, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๓
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๑๔, ๒๙ เมษายน ๒๔๘๔
  33. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๒๓๒๔, ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๘๖
  34. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๑๐, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๗
  35. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๔, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
  36. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๑, ๘ ธันวาคม ๒๔๗๒
  37. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๓๙, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
  38. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๕๓๐, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
  39. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม ณ วัดพระศรีมหาธาตุ วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พุทธศักราช 2516. [ม.ป.ท.]: ห.จ.ก. อรุณการพิมพ์; 2516.
  40. AGO 1957-39 — INDIVIDUAL AWARDS
  41. ประกาศรับ ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา
  42. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 64 หน้า 1776, 30 กรกฎาคม 2500

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ผิน ชุณหะวัณ ถัดไป
จอมพล หลวงพิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารบก
(28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497)
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์